เปิดเรียน 1 ก.พ. 64 กับ 15 มาตรการรับมือที่พ่อแม่ต้องรู้ - Amarin Baby & Kids
โรงเรียนเปิด 1 ก.พ.

เปิดเรียน 1 ก.พ. 64 กับ 15 มาตรการรับมือที่พ่อแม่ต้องรู้

Alternative Textaccount_circle
event
โรงเรียนเปิด 1 ก.พ.
โรงเรียนเปิด 1 ก.พ.

ช่วงนี้คุณแม่แต่ละบ้านต้องรับมือกับลูก ๆ ที่เรียนออนไลน์อยู่บ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด -19 จึงทำให้ต้องหลีกเลี่ยงการไปสถานที่แออัด หลีกเลี่ยงการสัมผัส และต้องเว้นระยะห่าง ส่งผลให้โรงเรียนบางที่ไม่สามารถเปิดการเรียนการสอนแบบปกติได้

…แต่ล่าสุดทาง สพฐ.ได้เสนอให้ เปิดเรียน 1 ก.พ. นี้ ยกเว้นโรงเรียนใน จ.สมุทรสาครทุกแห่ง โดยให้เรียนออนไลน์ พร้อมเน้นย้ำให้ทุกโรงเรียนต้องปฏิบัติมาตรการคุม ‘โควิด’ เคร่งครัด ทีมแม่ ABK จึงมีรายละเอียดพร้อมมาตรการรับมือที่พ่อแม่ควรรู้ มาฝากค่ะ

รมว.ศึกษาธิการ ลงนามประกาศ ให้ทุกสถานศึกษา ทุกจังหวัด เปิดการเรียนการสอน 1 ก.พ. นี้  ยกเว้น จ.สมุทรสาคร ทั้งนี้โซน กรุงเทพ นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี และนครปฐม ให้เปิดได้ตามปกติ แต่ห้องเรียนห้ามเกิน 25 คน หากห้องไม่พอให้จัดการเรียนการสอนแบบสลับวันเรียน โดยมีลายละเอียดดังนี้

  1. ให้สถานศึกษาทุกแห่งของรัฐและเอกชน ทั้งในระบบและนอกระบบซึ่งอยู่ในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการเปิดการเรียนการสอนตามปกติ โดย เปิดเรียน 1 ก.พ. 2564 เป็นต้นไป โดยต้องดำเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (CDVID-19) สำหรับสถานศึกษา ตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขและมาตรการของหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานผู้ดูแลอย่างเคร่งครัด
  2. ให้ปิดการเรียนการสอนในจังหวัดสมุทรสาครต่อไป เนื่องจากเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด -19 (ศบค.) กำหนด และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ยังมีจำนวนมาก ทั้งนี้ในระหว่างที่สถานศึกษาต้องปิดเรียนให้ส่วนราชการต้นสังกัดกำหนดแนวทางจัดการเรียนการสอนตามแนวทางที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ เช่น การสื่อสารแบบทางไกลหรือด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ หากไม่สามารถจัดการเรียนการสอนโดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ สถานศึกษาอาจจัดการเรียนการสอนโดยใบสั่งงานหรือมอบหมายงานตามความเหมาะสมโดยไม่ต้องเข้าชั้นเรียน
  3. ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนครปฐม และจังหวัดปทุมธานี) ให้สถานศึกษาเปิดการเรียนการสอนใต้ แต่ต้องปฏิบัติตามแนวทางป้องกันโรคของกระทรวงสาธารณสุขและมาตรการของหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานผู้กำกับดูแลอย่างเคร่งครัด โดยแต่ละห้องเรียนให้มีนักเรียนได้ไม่เกิน 25 คน กรณีห้องเรียนไม่เพียงพอให้จัดการเรียนการสอนด้วยการสลับวันเรียน

และให้สถานศึกษาติตตามประกาศของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด -19 (ศบค.) และคณะกรรมการโรคติดต่อแต่ละจังหวัดอย่างเคร่งครัด หากมีการเปลี่ยนแปลงกระทรวงศึกษาธิการจะดำเนินการแก้ไขต่อไป

ทางด้านสำนักการศึกษาได้ก็มีการเตรียมพร้อมมาตรการหลักก่อนเปิดภาคเรียน ประกอบด้วย จำกัดผู้ปกครองและบุคคลที่จะเข้ามาในโรงเรียน การคัดกรอง การเน้นย้ำให้สวมหน้ากากอนามัย การรักษาระยะห่าง การล้างมือ การทำความสะอาด การค้นหาและติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงในโรงเรียน

โดยจะดำเนินการควบคู่ไปกับมาตรการอื่น ๆ อาทิ การเน้นให้นักเรียนได้เรียนในที่โล่ง การจำกัดเวลาในการรับประทานเพื่อให้นักเรียนใช้เวลาถอดหน้ากากอนามัยน้อยที่สุด โต๊ะอาหารต้องมีฉากกั้นและเว้นระยะนักเรียน แม่ครัว และพนักงานล้างจาน ต้องสวมหน้ากากอนามัย ถุงมือ อาหารที่ปรุงต้องสะอาดและสุกใหม่

จัดให้มีการเหลื่อมเวลาในการพักรับประทานอาหาร การใช้ห้องน้ำจะจัดให้สลับกันตามความเหมาะสม มีการรอคิวและเว้นระยะห่างอย่างชัดเจน และการดูแลให้นักเรียนล้างมือเป็นประจำทุกชั่วโมง

“ในวันที่ 28 ม.ค.นี้ โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครทั้ง 437 แห่งจะจัดกิจกรรม Big Cleaning พร้อมกัน เพื่อเตรียมพร้อมหากมีประกาศให้เปิดการเรียนการสอนและเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครอง”

จากนั้นสำนักพัฒนาสังคมได้รายงานมาตรการสำหรับศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานคร จำนวน 292 ศูนย์ ในพื้นที่ 45 สำนักงานเขต (ยกเว้น บางบอน บางรัก สัมพันธวงศ์ พระนคร และบางกอกใหญ่)

โดยได้ดำเนินการตามมาตรการเพื่อเตรียมพร้อมเปิดศูนย์แบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะเตรียมการก่อนเปิด และระยะเปิดดำเนินการ ในส่วนของ

ห้องเรียน

ระยะเตรียมการก่อน เปิดเรียน 1 ก.พ.

ระยะเตรียมการก่อนเปิด ประกอบด้วย การติดตั้งแผ่นกรองอากาศ การทำความสะอาดพื้นผิวการเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ล้างมือ

ในส่วนของอาสาสมัครผู้ดูแลเด็ก ได้จัดอบรมหลักสูตรด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยเรื่องการป้องกันโรค การเตรียมการสอนและการจัดกิจกรรมโดยรักษาระยะห่าง รวมทั้งประชาสัมพันธ์แจ้งผู้ปกครองให้เตรียมเด็กให้พร้อม รวมทั้งหลีกเลี่ยงไปสถานที่แออัด และหมั่นให้เด็ก ๆ ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์

ล้างมือ

ระยะเปิดดำเนินการ เปิดเรียน 1 ก.พ. ประกอบด้วย

1.การคัดกรองอาสาสมัครผู้ดูแลเด็ก วัดไข้ น้ำมูก ซักประวัติ

2.การคัดกรองผู้ปกครองและเด็กก่อนวัยเรียน วัดไข้ น้ำมูก ซักประวัติ

3.การรับ-ส่งเด็กประจำวัน กำหนดช่องทางเข้า-ออกทางเดียว เว้นระยะห่าง 2 เมตร จำกัดมิให้แออัดหรือรวมกลุ่ม

4.หน้ากากอนามัย สวมหน้ากากอนามัย 100%

5.ล้างมือ จัดให้มีจุดล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ ล้างมือทุก 1-2 ชั่วโมง

6.การจัดอัตราส่วนเด็กก่อนวัยเรียน (Small Group) จัดกลุ่มกิจกรรม ไม่เกินกลุ่มละ 5 คนต่ออาสาสมัครผู้ดูแลเด็ก 1 คน เว้นระยะห่างระหว่างกลุ่ม

7.การจัดกิจกรรมภายในศูนย์ฯ ยึดหลักเกณฑ์ 2 ตรม./คน จัดพื้นที่การเรียนรู้เป็นรายบุคคลและลดเวลาทำกิจกรรมเท่าที่จำเป็น ใช้อุปกรณ์เป็นรายบุคคล

8.กิจกรรมที่ควรงด งดการต่อแถวแบบประชิดและกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่ม เช่น การแข่งกีฬา

9.การทำความสะอาด โดยเฉพาะพื้นผิวที่มีการสัมผัสบ่อย ๆ กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน

10.อุปกรณ์สื่อการเรียนรู้ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กทุกประเภทมีเพียงพอแก่เด็กทุกคน

11.อุปกรณ์ของใช้ของเด็กที่ทำจากผ้า ทำความสะอาดทุกวัน เช่น ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าเช็ดตัว

12.ทำความสะอาดร่างกาย (อาบน้ำ) อาสาสมัครผู้ดูแลเด็กทำความสะอาดร่างกายก่อนปฏิบัติหน้าที่

13.ตรวจร่างกายประจำปี (อาสาสมัครผู้ดูแลเด็ก) อาสาสมัครผู้ดูแลเด็กตรวจร่างกายปีละ 1 ครั้ง

14.การยืนยันและปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด

ทั้งนี้เมื่อมีการเปิดการเรียนการสอนตามปกติคุณแม่ และเด็ก ๆ อย่าลืมสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน และที่สำคัญให้เด็ก ๆ พกเจลล้างมือหรือสเปรย์แอลกอฮอล์ไปด้วยนะคะ

บทความที่น่าสนใจ

วางแผนการศึกษาให้ลูก ลงทุนด้านการเรียนรู้ เน้นวัยไหนดีที่สุด

อยากให้ลูกเรียนรู้ได้ดีตั้งแต่เด็ก สมองลูกต้องดูแลอย่างไร?

4 ข้อดีของการเลือก “โรงเรียนใกล้บ้าน” ให้ลูก โดย พ่อเอก

ขอบคุณข้อมูลจาก : ประชาชาติธุรกิจ ออนไลน์

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up