จิตแพทย์ตอบ “ พ่อแม่ทะเลาะกัน ” ลูกฝังใจหรือไม่? - Amarin Baby & Kids
พ่อแม่ทะเลาะกัน

จิตแพทย์ตอบ “ พ่อแม่ทะเลาะกัน ” ลูกฝังใจหรือไม่?

Alternative Textaccount_circle
event
พ่อแม่ทะเลาะกัน
พ่อแม่ทะเลาะกัน

จิตแพทย์ดังตอบคำถาม! ลูกจะฝังใจหรือไม่ ถ้าหาก “พ่อแม่ทะเลาะกัน” ต่อหน้าลูก!!

 

การที่สามีภรรยาจะมีปากมีเสียงกันนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่มันคงไม่ดีแน่ ๆ หากการเถียงกันนั้น เป็นการถกเถียงกันต่อหน้าลูก!! เพราะคุณไม่มีทางรู้เลยว่า ลูกกำลังเห็นอะไรอยู่ และสิ่งที่เขาเห็นนั้น หากเห็นเป็นประจำทุกวันไม่ว่าจะมีการใช้กำลังลงไม้ลงมือ เขวี้ยงปาข้าวของ หรือการใช้คำพูดอันหยาบคายหรือไม่ก็ตาม ลูก … ก็ได้ซึมซับพฤติกรรมเหล่านั้นไปเรียบร้อยแล้ว
เช่นเดียวกับวันนี้ที่จิตแพทย์ชื่อดังอย่าง นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ จะมาตอบคำถามให้พวกเราได้เข้าใจว่า การที่ พ่อแม่ทะเลาะกัน ต่อหน้าลูกนั้น ส่งผลกับเด็กมากน้อยเพียงใด
โดยคุณหมอ ได้ยกคำถามขึ้นมาคำถามหนึ่งว่า
“วันนั้นได้ทะเลาะกับสามี มีการเถียงกันค่อนข้างรุนแรง และได้ขว้างปาข้าวของใส่กัน แต่ก็ไม่ได้รุนแรงถึงขั้นเลือดตกยางออก แล้วลูกก็มาเห็นเข้าพอดี ลูกดูตกใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นมาก ตั้งแต่วันนั้นเราทั้งสองคนรู้สึกผิดเป็นอย่างมาก ไม่รู้ว่าจะแก้ไขอย่างไรดี อยากรู้ว่า ลูกจะฝังใจจนมีปัญหาอะไรหรือไม่คะ”

 

คำตอบของคุณหมอก็คือ: มีแน่นอน ไม่มากก็น้อย ก็ไปก็ไม่ควรทำอีก ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า ลูกนั้นอายุเท่าไหร่ ยกตัวอย่างเช่น
  • หากลูกเป็นเด็กเล็กที่มีอายุยังไม่เกิน 3 ปี การที่เห็นภาพพ่อแม่ทะเลาะกันต่อหน้าดังกล่าวนั้น ก็จะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของลูกให้เริ่มช้าลงชั่วคราว หรือถดถอยกลับไป เช่น จากที่ไม่เคยฉี่รดที่นอนก็ฉี่รดที่นอน จากที่ไม่เคยพูดโกหกก็จะเริ่มพูดโกหก เป็นต้น อีกทั้งยังส่งผลต่อความสามารถในการไว้วางใจโลกและผู้คนรอบข้างได้อีกด้วย
  • หากลูกอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 4 – 5 ปี ก็จะเกิดผลกระทบกับพัฒนาการทางเพศ โดยลูกอาจจะเกิดความสับสนในตัวเองว่า อยากเป็นเพศอะไร เพราะเท่าที่เห็นนั้น ทั้งพ่อและแม่ต่างดุร้ายกันจัง
  • หากลูกมีอายุระหว่าง 6 – 10 ปี เขาจะเริ่มโทษตัวเองว่าเขาเป็นต้นเหตุให้เกิดเรื่องทะเลาะดังกล่าวขึ้น จับเรื่องหนึ่งไปผูกเข้ากับเรื่องที่พ่อแม่ทะเลาะกัน จนทำให้เขารู้สึกผิด และมีพฤติกรมที่ระงับความรู้ผิดเกิดขึ้น เช่น ขโมยของ หนีโรงเรียน ลองยาเสพติด และถ้าหากพฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้ผลไม่สามารถยังยั้งความรู้สึกดังกล่าวได้ ลูกก็จะเข้าสู่อารมณ์เศร้าเต็มรูปแบบ และแสดงออกอย่างชัดเจนว่าเศร้า มีพฤติกรรมเกเรมากกว่าเดิม หรือสุดท้ายแล้ว พวกเขาจะเริ่มโศกเศร้าถึงขีดสุด และหาทางออกด้วยการจบชีวิตของตัวเองลง
คุณหมอยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า หากคุณพ่อคุณแม่เผลอไปครั้งเดียวก็ไม่ได้หมายความว่าเรื่องที่กล่าวไปแล้วนั้นจะเกิดขึ้น ดังนั้นไม่ต้องกังวลไป แต่สิ่งที่คุณหมอจะพยายามอธิบายก็คือ อย่าทำซ้ำให้ลูกเห็นอีก 

อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่หน้าถัดไปค่ะ


เครดิต: นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up