ผลจากการเลี้ยงลูกเชิงบวกช สร้างวินัยเชิงบวก ให้ลูกตั้งแต่ยังเล็ก!
Positive psychology จิตวิทยาเชิงบวก คือการพูดอย่างไรให้เป็นมิตรกับสมองและความรู้สึก เกิดการเคารพ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ยอมรับในความรู้สึกนึกคิด เพื่อให้ลูกเกิดการซึมซีบสิ่งเหล่านี้ไปใช้ในอนาคต
- ลูกมีความมั่นใจในตัวเอง มั่นใจว่าฉันทำได้
- ลูกนับถือและภาคภูมิใจในตัวเอง รู้ว่าตัวเองมีดีอะไร มีอะไรที่ไม่ดี ทำอะไรเป็นหรือไม่เป็นบ้าง
- ลูกรู้ว่าสามารถพึ่งตัวเองได้ สามารถเอาตัวรอดในสังคมภายนอกได้
การฝึกลูกนอน
เริ่มต้นได้ด้วยการสร้างกิจกรรมที่เป็นสัญลักษณ์ของการนอน ทำให้ลูกรู้ว่า ถ้าทำสิ่งนี้เมื่อไหร่ พอทำเสร็จแล้วจะถึงเวลานอน ถ้าลูกงอแงไม่ยอมอน พ่อแม่ก็บอกลูกว่า ลูกเป็นคนเลือกเอง ตามจิตวิทยาหากพ่อแม่เป็นคนบอกให้ลูกทำ ลูกจะโทษพ่อแม่ ถ้าลูกเป็นคนเลือก แล้วเราทำตามที่ลูกเลือก ลูกจะรู้ว่าตัวเองเป็นคนเลือกเอง
การที่ลูกพยายามฝืนตื่น ไม่ยอมนอน อย่าโมโห กังวล โกรธ เพราะนี่ถือเป็นพัฒนาการของลูก ลูกรู้ตัวตนของตนเอง ลูกรู้ตัวว่าไม่อยากนอน พ่อแม่ต้องภูมิใจว่าลูกมีพัฒนาการ แม่เข้าใจว่าลูกรู้สึกอย่างไร
วิธีการฝึกลูกนอนที่ดี จึงเป็นการให้ลูกเป็นคนตัดสินใจเลือกเวลานอนเอง แล้วพ่อแม่ทำตาม มีทางเลือกให้ลูกได้เลือก และให้ลูกเห็นว่าทุกการตัดสินใจมีผลตามมาเสมอ ให้หนูเป็นคนเลือก แล้วพ่อแม่ทำตาม ในกรอบที่เหมาะสม และยืดหยุ่นให้ลูกได้เลือกเอง
ใจร้ายและไม่ใจอ่อน
ถือเป็นการสร้างวินัยเชิงลบ ด้วยการดุลูก ขู่ว่าจะทิ้งให้นอนคนเดียว จนทำให้ลูกจำต้องสมยอม เพราะกลัวจะถูกว่า กลัวจะถูกตี กลัวว่าพ่อแม่จะไม่รัก เมื่อไม่มีพ่อแม่อยู่ด้วย ลูกจะไม่รู้วิธีแสดงความตัดสินใจกับคนอื่นใจดีและใจอ่อน
พ่อแม่ที่ทั้งใจดีและใจอ่อน คือพ่อแม่ที่ยอมต่อเวลาให้ลูกตื่นต่อไปได้เรื่อย ๆ ยอมยืดเวลาให้ ซึ่งการทำแบบนี้ ลูกก็จะเรียนรู้ว่า เดี๋ยวพรุ่งนี้ก็ขอต่อเวลาได้อีกแน่นอน และทำให้ลูกไม่เกิดการเรียนรู้ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน
วิธีการฝึกลูกนอนที่ดี คือการ “ใจดี แต่ไม่ใจอ่อน” ต่อให้ลูกยังทำไม่ได้ ก็ไม่ดุ ไม่ตี ไม่ว่า ไม่เปิดไฟ นอนปิดไฟ กล่อมลูกไปเรื่อย ๆ บอกลูกว่าแม่เข้าใจว่าลูกอยากเล่นต่อ ยังไม่อยากนอน แต่ถึงเวลานอนแล้ว จนลูกหลับไปในที่สุด
วินัยเรื่องการเก็บของเล่น
เป็นเรื่องของการดูแลตัวเองได้ ความรับผิดชอบ การมีระเบียบ ทักษะในการตัดสินใจ บริหารจัดการชีวิตของตัวเอง จัดการอารมณ์ของตัวเอง เห็นอกเห็นใจคนอื่น ด้วยการคุยตกลงกับลูก ดังนี้
- ใครเล่น คนนั้นเก็บ ถ้าเอาออกมาเล่นก็ต้องเป็นคนเก็บเอง
- ใครเก็บ คนนั้นได้เล่น การที่ลูกเอาของเล่นออกมาเล่นแล้วไม่ยอมเก็บ ถือเป็นหนึ่งในวิธีการแสดงอำนาจเหนือกว่าพ่อแม่ อยากชนะพ่อแม่ ด้วยการยืนยันว่าไม่เก็บ ครูหม่อมแนะนำว่า พ่อแม่สามารถเก็บแทนลูกได้ แต่เก็บไว้ในที่สูงที่ลูกหยิบไม่ถึง แล้วค่อยหยิบออกมาเล่น ลูกก็จะเดินมาเล่นด้วย ครูก็ถามเลยว่า ครั้งที่แล้วใครเป็นคนเก็บ ถ้าลูกอยากเล่น ก็ยอมให้เล่นด้วย แต่ต้องช่วยกันเก็บก่อน เพราะครั้งที่แล้วไม่ได้เก็บ เป็นการให้ลูกยอมทำตามกฎที่เราตั้งไว้ ถ้าลูกไม่ยอมเล่น ก็ไม่เป็นไร เพราะถือว่าลูกได้รับการสอนแล้ว ลูกก็จะจดจำได้ว่า การจะเล่นของเล่นได้นั้น ต้องอยู่ในกฎกติกาตามนี้
การสอนลูก สร้างวินัยเชิงบวก ให้เติบโตมาเป็นเด็กที่เข้มแข็ง และเป็นคนเก่งได้นั้น คุณพ่อคุณแม่คือส่วนสำคัญที่หล่อหลอมตัวตนของลูกขึ้นมา ลองตั้งเป้าหมายในการเลี้ยงลูกแต่ละวัน แล้วจะเห็นว่าลูกได้กีเพราะเรา มีความสุขเวลาที่เห็นลูก เข้าใจลูก เคารพลูก ให้ลูกรู้สึกมีตัวตน เป็นคนสำคัญ มีความสามารถ เพียงเท่านี้ ทั้งคุณพ่อคุณแม่และลูก ก็สามารถเติบโตก้าวผ่านทุกอุปสรรคไปด้วยกันได้แล้ว
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
เลี้ยงลูกให้มีความสุข กับวิธีคิดใหม่เมื่อคุณคิดว่าเป็นพ่อแม่ไม่ดีพอ