สิทธิประโยชน์กรณีผู้ประกันตนมีลูก
เมื่อคุณพ่อหรือคุณแม่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 7 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร ก็จะสามารมีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรได้ คำว่า 7 เดือน ภายใน 15 เดือน คือ เดือนที่คลอดบุตรไม่นับสิทธิ การนับจะนับย้อนหลังไป 15 เดือน (1 ปี 3 เดือน) มีเงินสมทบครบ 7 เดือน
สิทธิประกันสังคม สำหรับ “คุณแม่” ผู้ประกันตนหญิงที่กำลังจะเป็นคุณแม่ ได้รับสิทธิจากประกันสังคมดังนี้
1. กรณีคลอดบุตร – ค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 13,000 บาท และเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร 50% ของค่าจ้าง 90 วัน
อัตราการได้รับเงินดังตารางด้านล่างนี้
- กรณีสงเคราะห์บุตร – เงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่าย เดือนละ 600 บาทต่อบุตร 1 คน ซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ เบิกได้คราวละไม่เกิน 3 คน
เอกสารประกอบการยื่นคำขอประโยชน์
1. ผู้ประกันตนต้องกรอกแบบ สปส. 2-01 พร้อมลงลายมือชื่อ
2. สำเนาสูติบัตรของบุตรพร้อมตัวจริง (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
3. สำเนาทะเบียนสมรส (กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิถ้าไม่มีไม่ใช้ กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิหากไม่มีสำเนาทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของ ผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส)
4. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประกันตน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
5. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมี 9 ธนาคาร คือ
– ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB
– ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY
– ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) TBANK
– ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL
– ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK
– ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) SCB
– ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) TMB
– ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย IBAK (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2550)
– ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) CIMB เดิมคือ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด(มหาชน)
หมายเหตุ : หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่พอใจคำสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!
- ทำอย่างไรเมื่อ ป่วยคนละที่กับ สิทธิประกันสังคม ค่ารักษาพยาบาล เบิกได้?
- ยกเลิก บัตรประกันสังคม ผลบังคับใช้ 1 ม.ค. 61!
- ประกันสังคม กรณีเงินสงเคราะห์บุตร แบบครบถ้วน
- สิทธิประกันสังคม กรณีคลอดบุตร ทั้งหมดที่แม่ท้องควรรู้!
อ้างอิงจาก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน