6. ให้เงินค่าขนมหรือเบี้ยเลี้ยง พอที่เขาจะเหลือเก็บ
เช่น ถ้าค่าขนม 20 บาท ก็ควรให้ 20+5 บาท และสอนให้ออมอย่างน้อยวันละ 5 บาท แล้วชี้ให้เห็นว่าในหนึ่งปี ลูกจะมีเงินต้นรวมดอกเบี้ยเท่าไหร่ เพื่อแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการออม
7. เมื่อถึงเวลาก็พาลูกไปเปิดบัญชีธนาคาร
เพื่อฝึกอุปนิสัยด้านการออมตั้งแต่เล็ก แต่อย่าพูดกดดันเพื่อห้ามลูกเวลาที่เขาจะเบิกเงินไปซื้อสิ่งที่ต้องการ เพราะอาจทำให้เขาไม่ชอบการออมเงินขึ้นมาได้
8. สร้างนิสัยการจดบันทึกการออม การลงทุน และการใช้จ่าย
พ่อแม่ควรหาสมุดเล่มเล็กๆ สัก ไว้ให้ลูกได้จดบันทึกการออม การลงทุน และการใช้จ่าย แล้วสรุปบัญชีแบบง่ายๆ กันเดือนละครั้ง ว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลง พอครบปีก็มาดูกันอีกที
9. ใช้การจับจ่ายใช้ในบ้าน สอนลูกเรื่องค่าของเงิน
การไปซื้อของ เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก ฯลฯ เป็นโอกาสดีที่เด็กจะได้มีประสบการณ์เรื่องการใช้จ่ายเงิน เพราะในแต่ละวันเราจะใช้เงินกับการเข้าร้านพวกนี้บ่อยที่สุด ใช้โอกาสนี้สอนลูกให้ฉลาดในการใช้เงิน ทั้งการวางแผนก่อนซื้อ การใช้คูปองลดราคา การเปรียบเทียบราคา สอนเขาถึงวิธีตรวจสอบราคาและคุณภาพก่อนซื้อ
10. ปล่อยให้เด็กตัดสินใจใช้เงินด้วยตนเอง
ไม่ว่าจะดีหรือไม่ ลูกจะได้เรียนรู้จากการใช้เงินของเขาเอง พ่อแม่อาจให้คำแนะนำเบื้องต้นและได้พูดคุยกันถึงข้อดีข้อเสียต่างๆก่อนที่เขาจะจ่ายเงินซื้อ พยายามให้ลูกใช้เหตุผลในการใช้เงิน รวมถึงการสืบค้นข้อมูลให้ดีก่อนซื้อสิ่งของชิ้นใหญ่ๆ และลูกควรจะได้เรียนรู้ที่จะอดทนรอซื้อในจังหวะที่เหมาะสม เช่น รอถึงช่วงลดราคา หรือมีโปรโมชั่นต่างๆ
อ่านต่อ >> “เคล็ดลับ สอนลูก รู้จักวิธีบริหารเงิน แบบคนรวย” หน้า 4
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่