- ปัญหาที่มาจากเพื่อน เพราะพื้นฐานการเลี้ยงดูแตกต่าง เพื่อนบางคนก็อาจชอบแกล้ง เป็นฝ่ายมารังแกลูก ทางที่ดีให้ลูกหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะถูกรังแกเสีย ถ้าเขายังตามมารังควาน ก็ให้บอกผู้ใหญ่ เช่น ถ้าที่โรงเรียนก็บอกครู อย่าให้ลูกใช้กำลังตัดสินปัญหา เพราะการใช้กำลังแก้ปัญหา ความรุนแรงของการทะเลาะกันก็จะลุกลามใหญ่โต
- ปัญหาที่มาจากตัวลูก ความมีนิสัยชอบแหย่ ชอบหยอก เพราะอยากเล่นกับเพื่อน ซึ่งบางทีเพื่อนไม่ชอบหรือไม่เข้าใจ ก็ทำให้เกิดการทะเลาะกันได้ ตรงจุดนี้พ่อแม่ต้องค่อยๆ อธิบายให้ลูกเข้าใจว่า บางทีวิธีเล่นของหนูอาจทำให้เพื่อนไม่ชอบ เพื่อนจะหนี ไม่อยากเล่นด้วย ถ้าอยากเล่นกับเพื่อนดีๆ โดยไม่ทะเลาะกันก็ต้องชวนเพื่อนเล่นดีๆ เมื่อลูกเข้าใจตรงจุดนี้ ปัญหาก็จะค่อยๆ ลดลง
จากสาเหตุดังกล่าวจึงทำให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งของเด็กๆ ขึ้น ซึ่งพ่อแม่หรือผู้ใหญ่บางคนมองว่าเป็นเรื่องไร้สาระ เนื่องจากเห็นว่าเด็กๆ มักทะเลาะกันไม่นานเดี๋ยวก็กลับมาดีกันได้ แถมเมื่อสอบถามถึงต้นเหตุ บางครั้งก็มาจากเรื่องไม่เป็นเรื่อง (ในมุมของผู้ใหญ่) ความทุกข์จากการทะเลาะกันแบบเด็กๆ จึงเป็นเรื่องน่ารำคาญใจมากกว่าจะมีประโยชน์
แต่ถ้าหันไปถามเด็ก เชื่อว่าคงไม่มีเด็กคนไหนอยากให้พ่อแม่มองข้ามความทุกข์ของตนเองเป็นแน่ เด็กๆ ย่อมต้องการระบายความรู้สึก และอยากได้รับความเห็นใจ ความเข้าใจ การยอมรับจากคนใกล้ชิดไม่ต่างจากผู้ใหญ่เวลาที่เผชิญกับความทุกข์ (แบบผู้ใหญ่) เหมือนกัน
ดังนั้นในฐานะพ่อแม่สิ่งที่สามารถช่วยลูกให้ไม่ต้องกล้ำกลืนอยู่กับความทุกข์ตามลำพัง (กับปัญหาการทะเลาะกับเพื่อน) อาจเป็นเรื่องง่ายๆ ดังนี้ค่ะ…