ค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชน ที่คุณพ่อคุณแม่จ่ายไปทุกครั้งที่ลูกป่วยนั้น ทราบไหมคะว่าโรงพยาบาลเอกชนบางแห่งก็คิดค่ายาและค่ารักษาแพงเกินความเป็นจริง!
ลูกป่วยก็อุ่นใจแล้ว! คุม ค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชน ห้ามแพงเกินจริง
หากมองในแง่ของการทำธุรกิจ โรงพยาบาลเอกชนนับเป็นธุรกิจประเภทหนึ่ง ย่อมมุ่งแสวงหากำไรเป็นเรื่องธรรมดา จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ราคาค่ารักษาพยาบาลจะแพงกว่าโรงพยาบาลรัฐที่มีเงินงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล และการใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนก็เป็นทางเลือกที่คนไข้สมัครใจจะไปใช้บริการ นั่นหมายความว่าต้องพร้อมที่จะยอมจ่ายเงินที่แพงกว่า แต่ประเด็นปัญหาอยู่ที่โรงพยาบาลเอกชนต้องไม่คิดค่ารักษาแบบที่เรียกว่า “แพงจนเกินความเป็นจริง” อย่างเช่น ค่ารักษาโรคหวัดธรรมดาก็ไม่ควรจะถึงหลักพันบาท เป็นต้น
จึงมีประชาชนจำนวนมากได้ร้องเรียนไปที่สายด่วนกรมการค้าภายใน 1569 เกี่ยวกับการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนแล้วคิดค่ายาและค่ารักษาพยาบาลสูงเกินจริง และยังมีการรวมตัวล่ารายชื่อเพื่อเรียกร้องให้ตั้งคณะกรรมการควบคุมราคา ค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชน จากเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ แสดงให้เห็นว่ามีประชาชนจำนวนมากเห็นตรงกันว่า ค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชน นั้นมีราคาแพงเกินความเป็นจริงไปมาก
ดั่งเช่นในกรณีล่าสุด ที่มีผู้ป่วยหญิงมีอาการท้องเสีย และอาเจียน ได้ร้องเรียนว่า ไปรักษากับโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง และถูกเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลกว่า 30,000 บาท ทางกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้ตรวจสอบและพบว่าโรงพยาบาลเอกชน คิดว่ารักษาเกินจริงตามที่มีการร้องเรียน และได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามีการค้ากำไรเกินควร มีความผิดตามมาตรา 29 ของพ.ร.บ. ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 โดยจะมีโทษจำคุก 7 ปี ปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยล่าสุดทางกรมการค้าภายใน ได้ส่งตำรวจดำเนินคดีกับโรงพยาบาลเอกชน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ กรณีค่ารักษาอาการท้องเสีย กรมการค้าภายในเห็นว่า เป็นการรักษาที่มากเกินกว่าความจำเป็น และมีการคิดราคาเกินสมควร และกรณีค่ายา เมื่อเปรียบเทียบกับราคาในบัญชียาที่อยู่ในบัญชีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิทุกที่ (UCEP) พบว่า มีการคิดราคาสูงเกินจริงมาก ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว ถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย
จากกรณีดังกล่าว รวมถึงเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ จึงได้มีการผลักดันให้กระทรวงพาณิชย์กำหนด 3 มาตรการ ควบคุมราคายา เวชภัณฑ์ และค่าบริการทางการแพทย์ ให้โรงพยาบาลเอกชนต้องแจ้งราคาซื้อขายยา แสดงข้อมูลและประเมินค่ารักษา รวมถึงการรักษาที่สมเหตุสมผล หากฝ่าฝืนมีโทษตามกฎหมาย
โดยในวันที่ 30 พ.ค. 2562 นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน ได้เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 29 พ.ค.ที่ผ่านมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ลงนามประกาศ กกร. ฉบับที่ 52 พ.ศ. 2562 เรื่อง การแจ้งราคา การกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขเกี่ยวกับการจำหน่ายยารักษาโรค เวชภัณฑ์ ค่าบริการรักษาพยาบาล บริการทางการแพทย์และบริการอื่นของสถานพยาบาล โดยให้มีผลใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป มาตรการดังกล่าวประกอบด้วย 3 หลักการสำคัญ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่