แม่รู้ไหม! ทิชชู่เปียก ย่อยสลายไม่เหมือนกระดาษ ยิ่งใช้เยอะยิ่งสร้างขยะล้นโลก - Amarin Baby & Kids
ทิชชู่เปียก ย่อยสลาย

แม่รู้ไหม! ทิชชู่เปียก ย่อยสลายไม่เหมือนกระดาษ ยิ่งใช้เยอะยิ่งสร้างขยะล้นโลก

account_circle
event
ทิชชู่เปียก ย่อยสลาย
ทิชชู่เปียก ย่อยสลาย

ทิชชู่เปียก แก็ดเจ็ตประจำตัวคุณแม่ที่ขาดไม่ได้ สามารถใช้ทำความสะอาดสิ่งสกปรกของลูกน้อยได้สะดวกสบาย โดยเฉพาะลูกน้อยวัยทารกที่ต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมอยู่บ่อยๆ แต่แม่ๆทราบหรือไม่ว่า ทิชชู่เปียก ย่อยสลาย ไม่เหมือนกระดาษหรือทิชชู่ทั่วไป เพราะมีส่วนผสมหลายชนิด รวมถึงใยพลาสติกขนาดเล็ก จึงไม่สลายเองตามธรรมชาติกลายเป็นขยะล้นโลก

ทิชชู่เปียก ย่อยสลาย นานถึง 100 ปี ยิ่งใช้มากยิ่งสร้างขยะเพิ่ม 

เพราะการดูแลลูกน้อยที่มีเรื่องวุ่นวายต้องทำตลอดวัน ทิชชู่เปียกกลายเป็นตัวช่วยคุณแม่ให้ประหยัดเวลาในการทำความสะอาดสิ่งสกปรกต่างๆออกจากตัวลูกน้อยได้อย่างดี บางบ้านใช้ทิชชู่เปียกตั้งแต่ลูกแรกเกิดจนโต แถมพกไว้ใช้จนติดเป็นนิสัย เปื้อนเมื่อไรก็หยิบมาเช็ดแล้วทิ้ง สะดวกทันใจได้ทันที

ทิชชู่เปียก ย่อยสลาย

ด้วยรูปลักษณ์เป็นแผ่นบางมีน้ำชุ่ม ๆ ทำให้แม่หลายคนเข้าใจผิดว่า ทิชชู่เปียกทำจากกระดาษเหมือนกระดาษชำระทั่วไป ความจริงแล้วทิชชู่เปียกจัดเป็นเครื่องสำอางควบคุม ทำมาจากโพลีเอสเตอร์ ซึ่งมีส่วนผสมของใยพลาสติกและผ่านกระบวนการทางเคมี จึงมีโอกาสเกิดการระคายเคืองบนผิวลูกน้อย อีกทั้ง ทิชชู่เปียก ย่อยสลาย ยากจึงกลายเป็นขยะสะสมเช่นเดียวกับพลาสติก ดังนั้นคุณแม่ควรศึกษาข้อมูลและพิจารณาให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อ

เว็บไซต์กรีนพีซ เปิดเผยข้อมูลจากสถาบัน EarthWatch เกี่ยวกับขยะพลาสติกด โดยระบุว่า คนทั่วโลกใช้ทิชชู่เปียกมากกว่า 9.3 ล้านแผ่นต่อวัน เพื่อเช็ดทำความร่างกายแทนการล้างด้วยน้ำ เมื่อใช้แล้วทิ้ง ทิชชู่เปียก ย่อยสลาย ยากเหล่านี้กลายเป็นตัวการที่ทำให้ระบบท่อน้ำเสียอุดตัน อีกทั้งต้องใช้เวลายาวนานกว่า 100 ปี พอ ๆ กับ ขยะพลาสติกเลยทีเดียว

แม้บนซองทิชชู่เปียกจะมีคำว่า “flushable” หมายถึงสามารถกดลงชักโครกได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะย่อยสลายเองตามธรรมชาติ จึงกลายเป็นขยะตกค้าง ร้านค้าในประเทศอังกฤษไอซแลนด์ราว 800 ร้านค้ายกเลิกการขายทิชชู่เปียกถึง 34 ยี่ห้อที่ถูกระบุว่าเป็นตัวการของขยะอุดท่อ และหากหลุดรอดไปเป็นขยะในแหล่งน้ำหรือทะเล กลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อไป

ทิชชู่เปียก ย่อยสลาย

ทิชชู่เปียก ย่อยสลายได้ดีจริงไหม

ปัจจุบันเจ้าของสินค้าหลายแบรนด์ได้ผลิตทิชชู่เปียกที่ระบุว่าสามารถ “ย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ(Biodegradable) และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่าพลาสติกชีวภาพ ผลิตจากวัสดุธรรมชาติหรือชีวมวลต่างๆ เช่น น้ำตาอ้อยหรือข้าวโพด แป้งมันสำปะหลัง โปรตีนถั่ว เป็นต้น

แม้จะเป็น ทิชชู่เปียก ย่อยสลาย ได้เองด้วยน้ำและแสงแดด แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่า จะเป็นการสลายตัวได้สมบูรณ์ เพราะสุดท้ายก็ยังเหลือเป็นใยพลาสติกชนิดเล็ก ๆ ที่ดูดซับสารเคมีอันตราย เช่นดีดีทีและโลหะหนักเอาไว้ กลายเป็นสิ่งตกค้างในผืนดินและแหล่งน้ำต่างๆ

อ่าน ใช้ทิชชู่เกินความจำเป็นส่งผลเสียอย่างไร หน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up