3) ยิ่งยุคนี้รถแทบทุกรุ่นจะมีถุงลมนิรภัยสำหรับที่นั่งหน้ารถด้านข้างคนขับ ยิ่งกลับเป็นอันตรายต่อเด็กที่นั่งด้านหน้าข้างคนขับอย่างคาดไม่ถึง เนื่องด้วยสรีระอันบอบบางของเด็ก และเมื่ออยู่ในอ้อมกอดนั่งบนตักผู้ใหญ่ หรือแม้แต่ใช้ที่นั่งนิรภัยโดยนั่งตอนหน้าข้างคนขับ ร่างของเด็กกับตำแหน่งของถุงลมนิรภัยย่อมใกล้กว่า 25 ซ.ม.อันเป็นระยะอันตราย หากเกิดอุบัติเหตุถุงลมระเบิดโป้งออกมา แรงประทุอย่างรวดเร็วในเวลา 1/20 วินาที จะทำให้เด็กได้รับบาดเจ็บสาหัสหรืออาจถึงขั้นเสียชีวิต
4) สำหรับเด็กนั้นจะใช้เข็มขัดนิรภัยที่ติดมากับรถยนต์ได้เหมาะสมปลอดภัยก็ต่อเมื่อ …มีอายุ 9 ขวบขึ้นไป หรือ มีน้ำหนักมากกว่า 30 กก. หรือความสูงตั้งแต่ 140 ซม. ขึ้นไปเท่านั้น มิฉะนั้นเข็มขัดนิรภัย อาจกลายเป็นตัวการทำอันตรายต่อเด็กๆ อย่างรุนแรง แต่ใน พรบ.จราจรของบ้านเรากำหนดไว้ในมาตรา 123 ว่า ผู้ขับขี่รถยนต์ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัย ไว้กับที่นั่งในขณะขับขี่รถยนต์ และต้องจัดให้คนโดยสารรถยนต์ ซึ่งนั่งที่นั่งตอนหน้าแถวเดียวกับที่นั่งผู้ขับขี่รถยนต์รัดร่างกายไว้กับที่นั่งด้วยเข็มขัดนิรภัย แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากลูกวัยยังไม่ถึง 9 ขวบ หรือ มีความสูงน้อยกว่า 140 ซม. การนั่งรถยนต์แล้วคาดเข็มขัดนิรภัยกลับกลายเป็นความเสี่ยง เพราะแทนที่เข็มขัดนิรภัยสายล่างจะพาดบนหน้าตักและแนบบริเวณเชิงกราน แต่กลับมารัดตรงท้องน้อย ส่วนเส้นที่ควรพาดที่หน้าอกและไหล่ ก็กลับมารัดที่ลำคอของเด็ก หากเกิดการชน หรือการเบรกรถอย่างกะทันหัน รุนแรง สายเข็มขัดจะทำอันตรายแก่ไขสันหลัง อวัยวะภายในช่องท้อง หรือรัดลำคอของเด็กจนเสียชีวิต
เพราะฉะนั้นการใช้เบาะรองนอนนั้นเป็นอุปกรณ์ที่ไม่ปลอดภัยและไม่มีมาตรฐานความปลอดภัยจากที่ใดมารองรับ และเข็มขัดนิรภัยจะปลอดภัยกับเด็กก็ต่อเมื่อเด็กมีอายุ 9 ขวบขึ้นไป
“เพราะฉะนั้นหันมาใช้อุปกรณ์ที่ปลอดภัยอย่างคาร์ซีทจะดีกว่าครับ”
เรื่อง: นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ กุมารแพทย์ และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี
เรียบเรียง: กองบรรณาธิการเว็บไซต์
ภาพ: Beeclassic, csip.org
คลิกอ่านเพิ่มเติม
-
เด็กทารกจำเป็นต้องใช้คาร์ซีท จริงหรือ?
-
ลูกน้อยได้รับอันตราย เพราะนั่งคาร์ซีทผิดวิธี
-
4 เคล็ดลับพาเบบี๋นั่งรถอย่างมั่นใจ