หวัดขึ้นหู อาการที่ต้องระวัง เพราะลูกน้อยอาจ “หูดับ”
หวัดขึ้นหู

หวัดขึ้นหู อาการที่ต้องระวัง เพราะลูกน้อยอาจ “หูดับ”

Alternative Textaccount_circle
event
หวัดขึ้นหู
หวัดขึ้นหู

วิธีตรวจและรักษาทำอย่างไร?

“สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคจะใช้เครื่องตรวจวัดความดันในห้องหูชั้นกลาง และใช้กล้องส่องหู เพื่อตรวจสอบความรุนแรงของอาการโดยไม่มีความเจ็บปวดใดๆ จากนั้นจึงเริ่มต้นการรักษาด้วยยารักษาโรคทั้งอาการหวัดและอาการหูชั้นกลางอักเสบไปพร้อมกัน

“สำหรับบางกรณีอย่างผู้ป่วยเด็กที่มีโรคประจำตัวอื่นร่วมด้วย อาทิ เพดานโหว่ ดาวน์ซินโดรม หรือผู้ป่วยที่อาการไม่ดีขึ้นภายใน 3 เดือน หรือมีอาการรุนแรงขึ้นหลังรักษาด้วยยา แพทย์จะพิจารณาการรักษาด้วยการฝังท่อปรับความดันแก้วหู โดยวิธีนี้จำเป็นต้องวางยาสลบ และพักฟื้นที่โรงพยาบาลเพียง 1 วัน หรือบางกรณีก็ไม่ต้องนอนพักฟื้นเลย ซึ่งเมื่ออาการดีขึ้นแล้ว ร่างกายจะดันท่อที่ฝังให้ออกมาเอง” พญ. อุมาพร กล่าว

แม้ว่าโรคหวัดจะเป็นโรคที่ทุกท่านคุ้นเคยและเห็นว่าสามารถรักษาให้หายได้เอง แต่สำหรับลูกน้อย อาการหวัดธรรมดาก็อาจเป็นปัญหาที่ไม่ธรรมดาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในอนาคตได้เสมอ หากไม่รีบรักษาหรือรักษาผิดวิธี

หากผู้ปกครองท่านใดที่สงสัยว่าลูกน้อยของตนเองอาจเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบ แต่ไม่มีเวลาพามาพบแพทย์ในเวลาราชการได้ สามารถนำบุตรหลานของท่านเข้ามาที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) ซึ่งได้เปิดบริการคลินิกโสต ศอ นาสิก นอกเวลาราชการ ตามวันและเวลาดังนี้

  • วันจันทร์ (มีบริการตรวจการได้ยินและใส่เครื่องช่วยฟัง โดยวิธี ABR, ASSR, OAE, A-ABR, Auoliogram,Tympanogram) 16:00-20:00 น.
  • วันเสาร์ 8:00-12:00 น.
  • วันพุธ 16:00-20:00 น.

และจะมีการขยายเวลาการให้บริการในวันและเวลาอื่นเร็วๆ นี้ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 1415 ต่อ 2301 2501

ขอบคุณข้อมูลจาก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก)

ภาพ : Shutterstock

banner300x250

Save

Save

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up