โรคสตีเฟนส์ จอห์นสัน ซินโดร์ม คืออะไร
โรค หรือกลุ่มอาการสตีเวนส์ จอห์นสัน ซินโดรม เป็นภาวะแพ้ยาที่ก่ออาการรุนแรงต่อผิวหนัง และเยื่อเมือกบุอวัยวะภายใน ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการไข้ มีแผลเต็มปาก ตาอักเสบ และมีผื่นตามตัว
โรคสตีเฟนส์ จอห์นสัน ซินโดร์ม พบได้ประมาณ 2.6-7.1 รายต่อประชากร 1 ล้านคน พบได้ทุกวัยตั้งแต่ทารกจนถึงผู้สูงอายุ โดยมักพบในชาวตะวันตกมากกว่า และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
สาเหตุ ที่อาจทำให้เกิด โรคสตีเฟนส์ จอห์นสัน ซินโดร์ม
1. ไม่ทราบสาเหตุ ผู้ป่วย 25-50% หาสาเหตุไม่ได้ว่าอะไรเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะนี้
2. ยารักษาโรคต่างๆ เช่น
– ยารักษาโรคเกาต์ ชื่อ Allopurinol
– ยาปฏิชีวนะกลุ่มเพนิซิลลิน เช่น Amoxicillin, Cilxacillin
– ยาปฏิชีวนะกลุ่มซัลฟา เช่น Co-trimoxazole
– ยาแก้ปวดและยาต้านการอักเสบชนิดไม่ติดเชื้อเอ็นเสดส์ เช่น Diclofenac, Ibu profen, Indomethacin, Piroxicam, Meloxicam
– ยาป้องกันอาการชัก ซึ่งรวมถึง Phenytoin, Carbamazepine, Oxcarbazepine, Valproic acid และ Barbiturates
– ยาอื่นๆ เช่น ยาปฏิชีวนะชื่อ Gentamycin, Ciprofloxacin ยาต้านอาการเศร้าชื่อ Mirtaza pine ยารักษาสิวชื่อ Isotretinoin ยาฆ่าเชื้อราชื่อ Fluconazole ยาต้านเชื้อเอชไอวี (HIV, โรคติดเชื้อเอชไอวี) ชื่อ Nevirapine หรือยาเสพติดโคเคน ก็มีรายงานว่าทำให้เกิดอาการนี้ได้
3. การติดเชื้อ
– เชื้อไวรัส ที่พบเบ่อยคือ ไวรัสเริม (โรคเริม โรคเริมที่อวัยวะเพศ) เชื้ออื่นๆ ที่พบได้คือ เชื้อเอชไอวี เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่ โรคคางทูม โรคไวรัสตับอักเสบ สำหรับในเด็กมักจะเกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ Epstein-Barr virus หรือเรียกย่อว่า อีบีวีไวรัส (EBV, ทำให้เกิดโรคมีไข้สูงและเจ็บคอชื่อ Infectious mononucleosis บางคนเรียกว่า โรคโมโน) และไวรัสกลุ่ม Enteroviruses (ที่ทำให้เกิดโรคไข้ออกผื่น โรคมือเท้าปาก หรือ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ)
– เชื้อแบคทีเรีย เชื้อชื่อ Mycoplasma pneumoniae ที่ทำให้เกิดปอดบวม เชื้อที่ทำให้เกิดโรคไทฟอยด์ (Samonella spp.) เชื้อที่ทำให้เกิดโรคคอตีบ (Corynebac terium diphtheriae) เชื้อชื่อ Streptoccocus spp. ที่ทำให้เกิดแผลที่ผิวหนังหรือคอแดงอักเสบ
– เชื้อราเช่น เชื้อที่ทำให้เป็นโรคกลาก โรคเกลื้อนที่ผิวหนัง
– เชื้ออื่นๆ ที่มีรายงานเช่น เชื้อที่ทำให้เกิดโรคมาลาเรีย
4. โรคมะเร็ง เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว แต่โอกาสเกิดภาวะนี้จากโรคมะเร็งพบได้น้อยมาก
5. พันธุกรรม มีการศึกษาพบว่าคนที่มีลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสตีเวนส์ จอห์นสัน ซินโดรสูงกว่าคนทั่วไป เช่น คนเชื้อสายเอเชียที่มีรหัสพันธุกรรมที่เรียกว่า HLA-B*1502 (HLA-B75) รวมถึง ผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคเอสแอลอี (SLE, โรคพุ่มพวง) เป็นต้น
โรคสตีเฟนส์ จอห์นสัน ซินโดร์ม มีอาการอย่างไร
ผู้ป่วยมักจะเกิดอาการในช่วง 1-4 สัปดาห์หลังกินยาหรือหลังการติดเชื้อ โดยเริ่มต้นจะมีอาการคล้ายเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ มีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ เจ็บคอ ปวดเมื่อยร่างกาย อาจมีอาเจียน และท้องเสียร่วมด้วย โดยอาจเป็นนานถึง 14 วัน
หลังจากนั้น ตามผิวหนังจะมีผื่นขึ้น แต่ไม่คัน ต่อมาผื่นจะกลายเป็นตุ่มน้ำใสและแตกออกและหลุดลอกไป เมื่อไม่มีชั้นผิวหนังปกคลุม จึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเข้าสู่อวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกายได้ และหากเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์
หากพบผื่นแดงหรือผื่นตุ่มน้ำใสที่ผิวหนัง ในปาก หรือตา หลังจากกินยา หรือร่วมกับมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ ควรรีบพบแพทย์ โดยให้นำยาทั้งหมดไปด้วย
โรคสตีเฟนส์ จอห์นสัน ซินโดร์ม ป้องกันอย่างไร
1. ไม่มีวิธีป้องกันสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยเกิดภาวะโรคสตีเฟนส์ จอห์นสัน ซินโดร์มมาก่อน ในกรณีที่มีคนในครอบครัวมีประวัติมาก่อน อาจมีความเสี่ยงอยู่บ้างที่จะเกิดขึ้นได้
2.หากเคยเกิดภาวะนี้มาก่อน และพบว่าสาเหตุมาจากยาก็ต้องจำชื่อตัวยาไว้ และพกพัตรที่ระบุการแพ้ยาติดตัวไว้ตลอดเวลา ไม่ควรซื้อยากินเองโดยไม่จำเป็น และควรแจ้งแพทย์พยาบาลทราบทุกครั้งว่าแพ้ยาอะไร
3.หากเคยเกิดภาวะนี้ และสาเหตุมาจากสาเหตุอื่นๆ เช่นเชื้อไวรัส แพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัส หรือฉีดวัคซีนป้องกัน
4.ในกรณีที่ไม่ทราบสาเหตุ ควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยเป็นโรค หลีกเลี่ยงการซื้อยากินเอง และระมัดระวังการใช้สารเคมีในชีวิตประจำวัน
ที่มา metro.co.uk, haamor.com