ไขปัญหา! น้ำดื่ม ทิ้งไว้ในรถ ตากแดด..เป็นพิษหรือไม่? - Page 2 of 3 - Amarin Baby & Kids
น้ำดื่ม ตากแดด

ไขปัญหา! น้ำดื่ม ทิ้งไว้ในรถ ตากแดด..เป็นพิษหรือไม่?

Alternative Textaccount_circle
event
น้ำดื่ม ตากแดด
น้ำดื่ม ตากแดด

สาร BPA คืออะไร?

Bisphenol A (BPA) เป็นสารตั้งต้นเพื่อใช้ในการผลิตพลาสติก โดยเมื่อถูก form เป็นพลาสติกแล้ว เราจะเรียกพลาสติกชนิดนี้ว่า polycarbonates (PC)

Bisphenol A หรือรู้จักกันในชื่อ’BPA’ นั้นเป็นองค์ประกอบหลักของพอลิคาร์บอเนต ซึ่งเป็นพลาสติกชนิดหนึ่งที่แข็งและใส พลาสติกชนิดนี้จะมีสัญลักษณ์การรีไซเคิลพลาสติกเป็นหมายเลข ‘7’ หรือ ‘other’ มักใช้ทำขวดน้ำ ขวดนมเด็ก บรรจุภัณฑ์ รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น เลนส์สัมผัส ซีดี สารอุดฟัน เครื่องมือแพทย์และทันตกรรม อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์กีฬา

สาร BPA นี้ มักถูกชะออกมาจากพลาสติกพอลิคาร์บอเนต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากภาชนะพลาสติกดังกล่าวบรรจุของเหลวที่มีฤทธิ์เป็นกรด หรือถูกทำความสะอาดด้วยน้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์แรง หรือของเหลวที่มีอุณหภูมิสูง ผลการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มจากขวดพอลิคาร์บอเนตมีระดับสาร BPA สูงกว่าผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มจากบรรจุภัณฑ์อื่นถึงสองในสามเท่า เช่นเดียวกับเด็กเล็กที่ดูดนมจากขวดก็พบว่ามีระดับของสารดังกล่าวสูงกว่าเด็กที่ดูดนมจากเต้า

น้ำดื่ม ทิ้งไว้ในรถ

BPA อันตรายอย่างไร?

การเกิดพิษของ BPA นั้นที่สำคัญคือ การรบกวนระบบต่อมไร้ท่อในร่างกาย ทั้งยังสามารถก่อให้เกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นพิษต่อตับ ระบบประสาทและระบบภูมิคุ้มกัน การก่อให้เกิดเนื้องอกและมะเร็งด้วย ถึงแม้ว่าการได้รับ BPA ที่ปนเปื้อนมาในชีวิตประจำวันนั้นจะเลี่ยงไม่ได้เลย อย่างไรก็ตาม US EPA ได้กำหนดขนาดของการได้รับต่อวันไว้ที่ 50 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ต่อวัน (ถ้าคนน้ำหนัก 80 กิโลกรัม จะสามารถรับสาร BPA ได้ 4 มิลลิกรัมต่อวัน) ซึ่งตัวเลขดังกล่าวนี้เป็นปริมาณที่ปลอดภัยที่ร่างกายเมื่อได้รับ BPA จะสามารถกำจัดทิ้งหรือไม่เกิดพิษได้

เมื่อก่อนพลาสติก PC จะถูกนำมาใช้มากในขวดนมเด็ก ซึ่งหลังจากที่มีรายงานวิจัยที่เกี่ยวกับการปนเปื้อนของ BPA ออกมาตีพิมพ์อย่างมากมาย ทำให้หลายๆ ประเทศในกลุ่ม USA และ EU ทำการห้ามใช้ BPA ในขวดนมเด็ก รวมถึงของใช้และของเล่นของเด็กเล็ก จึงทำให้แบรนด์สินค้าสำหรับเด็กเล็กมักมีคำว่า BPA free ติดข้างผลิตภัณฑ์

อ่านต่อ วิธีเลือกภาชนะบรรจุอาหารให้ลูกน้อย สะดวก ปลอดภัยไร้สารเคมี

การควบคุมการใช้ BPA นั้นถูก focus กับผลิตภัณฑ์เด็กเล็ก เนื่องด้วยว่าเด็กมีน้ำหนักตัวน้อย (3-10 กิโลกรัม) หากคิดตามตัวเลขตามด้านบนแล้ว เด็กเพิ่งเกิดที่มีน้ำหนักประมาณ 3 กิโลกรัมจะทนต่อ BPA ได้แค่ 150 ไมโครกรัม หากเทียบให้เห็นภาพ 1 ขีดหนัก 100 กรัม ถ้าปริมาณ 100 ไมโครกรัม ก็คือหนึ่งในล้านของปริมาณของ 1 ขีด ซึ่งมีโอกาสเกิดพิษสูง หากได้รับ BPA เป็นเวลานานๆ

BPA มีผลต่อสุขภาพอย่างไร?

  1. ทำให้ระบบสืบพันธุ์ผิดปกติ
  2. การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในเพศชาย
  3. ส่งผลให้เป็นโรคหัวใจในผู้หญิง
  4. ส่งผลให้เป็นโรคหัวใจในผู้ใหญ่
  5. ทำให้ฮอร์โมนในเพศชายมีการเปลี่ยนแปลง
  6. ทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่สอง
  7. มีผลต่อการทำงานของสมอง ความจำและการเรียนรู้
  8. มีผลต่อคุณภาพของไข่ในเพศหญิง
  9. ลดประสิทธิภาพการรักษาด้วยเคมีบำบัดในผู้ป่วย
  10. ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม
  11. ทำให้เกิดโรคหืดหอบ

 อ่านต่อ สาร BPA ในขวดน้ำพลาสติก ทิ้งไว้ในรถ อันตรายหรือไม่ คลิกหน้า 3>>

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up