สูตรการทำ “ข้าวตุ๋น” อาหารเด็ก พื้นฐาน
ส่วนผสม
- ปลายข้าว 1 ถ้วย
- น้ำเปล่า 2½ ถ้วย
วิธีทำ : ผสมปลายข้าวกับน้ำเปล่าเข้าด้วยกัน แล้วเคี่ยวด้วยไฟปานกลางไปเรื่อยๆ จนนุ่มสุก
แชร์สูตรอร่อย! “ข้าวตุ๋นไข่สามสหาย” เมนูอาหารเด็ก 6 เดือน (มีคลิป)
เผยสูตรเมนูเด็ด! “ข้าวตุ๋นสามสี” เพิ่มธาตุเหล็กให้ลูกน้อย (มีคลิป)
สูตรพื้นฐาน การทำ “น้ำซุป หรือน้ำสต๊อกไก่”
ส่วนผสม
- โครงไก่ 2 โครง
- แครอทหั่นชิ้นหนา (ประมาณ 2 หัวกลาง) 250 กรัม
- ฟักเขียวหั่นชิ้นหนา (ประมาณ 1 ลูก) 500 กรัม
- หัวไชเท้าหั่นชิ้นหนา (ประมาณ 1 หัว) 200 กรัม
- เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาลทรายไม่ฟอกขาว 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำเปล่า 10 ถ้วย
วิธีทำ : เทน้ำใส่หม้อสำหรับต้มซุป จากนั้นใส่ส่วนผสมทุกอย่างลงไป พักไว้ประมาณ 20 นาที เพื่อให้รสหวานของโครงไก่และผักละลายลงในน้ำ
แล้วยกหม้อขึ้นตั้งไฟปานกลางจนเดือด จากนั้นลดไฟอ่อนลงแล้วเคี่ยวต่อประมาณ 30 นาที (หมั่นช้อนฟองออกเพื่อให้น้ำซุปใส) ยกลงจากเตา แล้วกรองผ่านกระชอน ก็จะได้น้ำซุปสำหรับนำมาใส่ทำ อาหารเด็ก
Tip : คุณแม่สามารถเปลี่ยนจากโครงไก่เป็นกระดูกหมูก็ได้
Must read : แจกสูตรแสนง่าย วิธีทำน้ำซุปผักทารก ให้อร่อยกลมกล่อม
“ ซุปไก่ ใส่นมแม่ ” เสริมภูมิคุ้มกัน รับปลายฝนต้นหนาว (พร้อมคลิปละเอียด)
เผยสูตรดี “ซุปมะเขือเทศ” เมนูบำรุงสายตา เพื่อลูกน้อยโดยเฉพาะ!
คลิปดีสูตรเด็ด! “ซุปผักโขมน้องหมี” เมนูอร่อยบำรุงสายตาลูกรัก
สุดยอด เมนูต้านหวัด ป้องกันลูกน้อยไม่ให้ป่วยบ่อย (ซุปมักกะโรนีมะเขือเทศต้านหวัด)
ขอบคุณข้อมูลสูตรอาหารดีๆ จาก หนังสืออมรินทร์ CUISINE
อย่างไรก็ดีสำหรับอาหารเด็ก 6 เดือนขึ้นไปแนะนำให้เริ่มกิน 1 มื้อก่อน และคุณแม่ควรป้อนผลไม้เป็นอาหารว่างด้วย ส่วนเนื้อสัตว์ สามารถสลับ ไข่แดง เนื้อปลา ตับ ค่อยๆเริ่มทีละอย่างเพื่อสังเกตอาการแพ้
ส่วนลูกวัย 7 เดือน เมื่อเริ่มกินอาหารเด็กไปได้ 1 เดือนแล้ว ก็ถึงเวลาเพิ่มข้าวได้อีก 1 ช้อน และเพิ่มผักให้เต็มช้อน ส่วนไข่ ถ้ากินไข่แดงได้แล้วโดยไม่มีอาการแพ้ ช่วงนี้อาจจะเริ่มให้ไข่ขาวได้แล้วนะคะ ***แต่ถ้ากลัวแพ้อาจจะขยับไปเริ่มหลังจากอายุ 1 ปี โดยให้โปรตีนจากแหล่งอื่น เช่น เนื้อปลา ตับ หมู ไก่ โดยเริ่มและสังเกตทีละอย่าง
ทั้งนี้ลูกอาจจะกินปริมาณที่เตรียมนี้ไม่หมดในครั้งเดียว คุณแม่ก็สามารถเตรียมให้วันละ 2 ครั้ง แต่ไม่ควรเกิน 3 ครั้งต่อวันนะคะ เพราะลูกยังจะมีผลไม้เป็นอาหารว่างอีกมื้อนึง
เมื่อลูกอายุ 8-9 เดือน ก็สามารถเพิ่มข้าวอีก 1 ช้อน เป็น 4 ช้อนต่อมื้อ เนื้อสัตว์และผักอย่างละ 1 ช้อน และในช่วงอายุนี้คุณแม่สามารถเตรียมแบบหยาบกว่าเดิมได้แล้ว และให้วันละ 2 ครั้ง ซึ่งถ้ากินไม่หมดในมื้อเดียว อาจจะปรับปริมาณให้กินเป็นวันละ 3 ครั้งเพื่อให้ได้ปริมาณต่อวันตามกำหนด และเพิ่มผลไม้เป็น 3 ชิ้นเพื่อเป็นอาหารว่าง
ที่สำคัญเพื่อให้พัฒนาการของลูกน้อยเป็นไปตามวัยที่ดี คุณแม่อย่าลืม!! ติดตามการเจริญเติบโตของลูกอย่างสม่ำเสมอ โดยการใช้กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตสำหรับเด็ก 0-5 ปี ด้วยนะคะ
อ่านต่อบทความอื่น น่าสนใจ คลิก
- 12 เมนูอาหารเด็ก 6 เดือน กับสูตรอร่อยเพื่อลูกวัยเริ่มกิน!
- 15 สูตรอร่อยอาหารเด็ก 7 เดือน เน้นพัฒนาสมองโดยเฉพาะ!
- อาหารเด็ก1 ขวบ ใน 1 วัน ลูกต้องกินอะไรบ้าง?
- 7 เมนู “อาหารเช้าสำหรับเด็ก” ในวัยเรียน สูตรทำง่ายครบ 5 หมู่
ข้อมูลอ้างอิงจาก : พญ.นภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข thaibf.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่