การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เคล็ดลับ! เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างไรให้สำเร็จ

Alternative Textaccount_circle
event
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

คุณแม่หลายคนที่กำลังตั้งครรภ์ หรือกำลังมีลูกน้อยวัยแรกไปจนถึง 2 ขวบ อาจมีความกังวลกับปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ บางคนอาจมีปัญหาน้ำนมน้อย มีอาการเจ็บที่หัวนม หรืออยากทราบเคล็ดลับในการปั๊มนมเพื่อเก็บสต็อกให้มีน้ำนมเพียงพอให้ลูกน้อย

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด ได้ให้ความรู้เอาไว้ ดังนี้

1.การเตรียมความพร้อมในการให้นมแม่

คุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ ซึ่งมีลูกชายวัย 2 ขวบครึ่ง ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมในการให้นมแม่ โดยคุณหมอกล่าวว่า จริงๆ แล้วผู้ชายก็สามารถให้นมลูกน้อยได้ เพราะว่าผู้ชายก็มีต่อมน้ำนมเหมือนกับผู้หญิง แต่อาจต้องใช้ความพยายามมาก เพราะในสมัยก่อน เมื่อคุณแม่เสียชีวิตไป คุณพ่อก็จำเป็นที่จะต้องทำหน้าที่นี้แทน โดยใช้นมผงช่วยเสริม

คุณแม่มีศักยภาพที่สามารถผลิตน้ำนมได้ ซึ่งในน้ำนมแม่มีสารอาหารกว่า 200 ชนิด แต่นมผงมีเพียง 60 ชนิด และในสมัยนี้มีเครื่องปั๊มนมที่ช่วยในการเพิ่มน้ำนมที่ลดลงให้เพิ่มขึ้นได้ โดยการกระตุ้น ถ้ากระตุ้นบ่อยๆ ก็จะสร้างน้ำนมได้มาก ถ้ากระตุ้นน้อย ก็จะสร้างน้ำนมได้น้อย

การดูแล และเตรียมความพร้อมทางด้านสุขภาพจิตใจของคุณแม่ เกี่ยวกับการให้นมลูก คุณแม่บางคนอาจเกิดความกังวลว่าจะให้นมลูกน้อยได้ไม่เพียงพอ คุณหมอก็ได้ให้ข้อมูลว่า ในยุคที่ยังไม่มีนมผง โดยปกติคุณแม่จะมีน้ำนมเลี้ยงลูกได้ 95% มีเพียงแค่ 5% เท่านั้นที่จำเป็นจะต้องใช้นมจากคนอื่น ซึ่งต้องระมัดระวังเรื่องโรคเอดส์ที่มาจากนมของผู้อื่น

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่การเตรียมความพร้อมขณะตั้งครรภ์ เพียงรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นเพียง 500 กิโลแคลอรี่ คือจากข้าว 3 มื้อ อาจเพิ่มเป็น 4 มื้อ ถ้าคุณแม่กินอะไรที่ไม่ดีตอนท้อง ลูกก็จะได้กินสิ่งนั้นไปด้วย เช่น ถ้าคุณแม่ชอบกินของหวาน หรือของที่ไม่มีประโยชน์ ควรดูที่คุณค่าทางโภชนาการ

อาหารที่ดี คืออาหารที่ไม่หมัก ไม่แปรรูป เป็นอาหารธรรมชาติ เช่น น้ำพริกผักต้ม แกงส้ม ราดหน้า คุณแม่สามารถกินได้ปกติ คุณแม่ไม่จำเป็นต้องกินแคลเซียมจากโปรตีนผง เพราะมีโอกาสที่จะทำให้ลูกแพ้ได้ ควรกินแคลเซียมจากธรรมชาติ เช่น ผักใบเขียว ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง เมล็ดพืชชนิดต่างๆ

ถ้าคุณแม่กินนมเยอะ ก็มีโอกาสที่ลูกจะแพ้ ทำให้มีอาการผิวหนังมีผื่นขึ้น ถ่ายเป็นมูกเลือด ร้องกวน โคลิค ถ่ายบ่อย อาเจียน หายใจครืดคราด นอนกรน ฉะนั้นถ้าคุณแม่กินอะไรเยอะๆ ก็ต้องระวัง โดยปกติแล้วตลอดการตั้งครรภ์ คุณแม่จะน้ำหนักขึ้น 12 กิโลกรัม โดย 3 เดือนแรกไม่ต้องเพิ่มขึ้น เพราะจะมีความเสี่ยงเบาหวาน

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ “เลือกโรงพยาบาลให้เหมาะกับคุณแม่ให้นม” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up