5.วิธีให้ลูกน้อยหย่านม
โดยปกติน้ำหนักของทารกแรกเกิดจะลดลงมาประมาณ 10% หลังคลอด และจะเพิ่มขึ้นวันละ 20-30 กรัม แสดงว่าได้รับนมเพียงพอแน่นอน หลังจากที่เริ่มปรับตัวกับลูกได้แล้ว ผ่านไปประมาณ 2 อาทิตย์ก็เริ่มปั๊มนมได้เลย สำหรับคุณแม่ที่ต้องทำงานนอกบ้าน
สำหรับคุณแม่ที่มีเวลาอยู่กับลูกเต็มเวลา ก็ให้ลูกดูดนมจากเต้าได้เลย เมื่อลูกน้อยโตขึ้น
- 6 เดือน ให้รับประทานข้าว 1 มื้อ
- 9 เดือน ให้รับประทานข้าว 2 มื้อ
- 12 เดือน ให้รับประทานข้าว 3 มื้อ
หลังจาก 1 ขวบ ข้าวจะเป็นอาหารหลัก 3 มื้อ นมจะกลายเป็นอาหารเสริม ถ้ามีนมแม่เพียงพอก็ไม่จำเป็นต้องดื่มนมอื่นเสริม แต่ถ้านมแม่หมดก็สามารถให้ลูกน้อยรับประทานนมกล่องได้เลย เมื่อลูกโตขึ้นก็จะสนใจนมแม่น้อยลง
อย่าให้ลูกมีความรู้สึกว่าเต้านมเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นทั้งแหล่งอาหาร เป็นทั้งแหล่งของเล่น เป็นสิ่งที่ทำให้ลูกสงบจิตใจ ร้องไห้ก็นม ฉีดวัคซีนเจ็บก็นม เหมือนกับบางคนที่ใช้เรื่องการกินเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง เสียใจก็กิน มีความสุขก็กิน เหงาก็กิน ให้ลูกกินนมแค่ครึ่งชั่วโมงก็พอ ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่เพียงพอ
เมื่อลูกน้อยครบ 1 เดือนก็ลองให้ลูกฝึกนมขวด วิธีการกินนมอย่าถือขวดแบบตั้งฉาก เพราะนมจะหมดเร็ว ให้ถือขวดในแนวราบ และจับเรอทุกออนซ์ ครั้งละ 3 ออนซ์ โดยเมื่อครบ 1 ออนซ์ ก็อุ้มลูกเดินรอบบ้าน ให้ลูกเรอ ออนซ์ที่ 2 ก็เรอ ออนซ์ที่ 3 ก็เรอ ให้นมไหลช้าๆ หมดช้าๆ ใช้เวลาในการดูดนมประมาณ 20 นาที เพราะถ้าให้ลูกดูดนมเร็วเพียง 3 นาที 3 ออนซ์นมหมดแล้ว แต่ปากยังขยับอยู่ ทำให้ต้องเอานมมาเพิ่มอีก ทำให้ได้รับนมเยอะเกินไป แล้วอาเจียนออกมา เพราะความอยากดื่ม และความอิ่มนั้นไม่เหมือนกัน จึงต้องให้นมลูกช้าๆ เพราะ 3 ออนซ์ สามารถอยู่ได้ 3 ชั่วโมง สูตรชั่วโมงละ 1 ออนซ์นี้ใช้ได้ตั้งแต่เด็ก 1 เดือน – 6 เดือน ให้ใช้สูตรนี้ตลอด เมื่อลูกโตขึ้นก็ให้กินทุก 2 ชั่วโมง เพราะถ้าให้ลูกกินนมบ่อยอาจทำให้ติดนมแม่ได้
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
เทคนิคเพิ่มน้ำนมแม่ ให้ลูกมีกินได้นานเป็นปี
หมอแนะ! เด็กเล็กเสี่ยงปอดบวม ป้องกันได้ด้วย “นมแม่”
CDC แนะนำการเก็บรักษาสต๊อกนมแม่แบบใหม่
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่