1000 วัน 1000 อย่าง เรื่องอลวนของมนุษย์แม่มือใหม่ พร้อมอัปเดตเช็กลิสต์ #เรื่องต้องรู้ ฉบับปี 2023 - Amarin Baby & Kids

1000 วัน 1000 อย่าง เรื่องอลวนของมนุษย์แม่มือใหม่ พร้อมอัปเดตเช็กลิสต์ #เรื่องต้องรู้ ฉบับปี 2023

event

“เป็นคุณแม่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย” คำพูดเรียบๆ ง่ายๆ แต่กินใจมนุษย์แม่อย่างแน่นอน เพราะเพียงแค่เริ่มตั้งครรภ์ หลากหลายเรื่องราวก็เกิดขึ้นแบบไม่ให้พักกันเลยทีเดียว โดยเฉพาะคุณแม่ยุคใหม่ที่ไม่ได้รับบทเป็นแม่เพียงอย่างเดียว แต่ยังรั้งตำแหน่งของการทำงานนอกบ้านอีกด้วย หรือแม้แต่คุณแม่ที่มีธุรกิจของตัวเองก็ไม่อาจที่จะวางมือกับงานที่ทำอยู่ได้ ต้องควบสองตำแหน่งไปแบบถอยหลังกลับไม่ได้

แล้วแบบนี้คุณแม่มือใหม่ จะรับมือกับเรื่องอลวนนับพันเรื่องที่เกิดขึ้นได้อย่างไร? เริ่มตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนถึงวันคลอด ไปจนถึงการเติบโตในวัยเตาะแตะของเจ้าตัวน้อย… มาค่อยๆ ตั้งสติไปด้วยกันกับบทความนี้เลย ที่เปรียบเสมือน คู่มือมหัศจรรย์ 1000 วัน สำหรับคุณแม่มือใหม่ยุค 2023

ทำไม 1,000 วันแรกถึงสำคัญ

เพราะเป็นช่วงเวลาที่ลูกน้อยจะมีพัฒนาการสูงสุด โดยเฉพาะพัฒนาการด้านสมอง เพราะ 80% ของสมองจะเติบโตในช่วงนี้ ทั้งเรื่องของการเรียนรู้และจดจำ โดยเริ่มนับตั้งแต่วันแรกที่ตั้งครรภ์ไปจนถึงอายุ 2 ขวบ จึงจำเป็นอย่างมากที่ต้องดูแลเรื่องสุขภาพและโภชนาการของคุณแม่ตั้งแต่ตั้งครรภ์ โดยให้คุณแม่ได้รับสารอาหารที่สำคัญ อย่าง DHA /โคลีน/แคลเซียม/โฟเลท ซึ่งมีส่วนช่วยในพัฒนาการที่สมบูรณ์ของลูกในครรภ์ และส่วนมากก็จะอยู่ในนมสูตรสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์นั่นเอง จนถึงวันที่ลูกน้อยลืมตาดูโลก การให้คุณแม่ได้ดื่มนมที่มีสารอาหารครบถ้วนก็จะส่งผลให้ลูกน้อยที่ดื่มนมแม่ได้รับสารอาหารนั้นเช่นเดียวกัน และสำหรับคุณแม่ที่มีน้ำนมไม่มากพอ การให้ลูกได้ดื่มนมผงที่มีสารอาหารสำคัญที่พบในน้ำนมแม่อย่าง MFGM ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจเช่นกัน เพราะ MFGM นั้นมีส่วนช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสมองและภูมิคุ้มกัน และยังช่วยช่วยเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ของลูกน้อยได้อีกด้วย

ก่อนเจอเรื่องอลวน “มาทำความรู้จัก MFGM กันก่อน”

MFGM หรือ Milk Fat Globule Membrane คือ “เยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในนม” ที่พบในนมแม่ โดยอุดมไปด้วยไขมันและโปรตีนชีวภาพมากกว่า 150 ชนิด รวมถึงสารอาหารสำคัญต่างๆ ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อร่างกายและสมองของเด็ก ทั้งในด้านสติปัญญา อารมณ์ และระบบภูมิคุ้มกัน

และจากงานวิจัยได้พบว่า เด็กที่ได้รับ MFGM ร่วมกับ DHA มีระดับคะแนนพัฒนาการทางสติปัญญาสูงกว่าเด็กที่ได้รับ DHA เพียงอย่างเดียว และยังมีส่วนช่วยเพิ่มโอกาสการเชื่อมต่อเซลล์สมองมากกว่าการใช้ DHA เพียงอย่างเดียวอีกด้วย

ดังนั้นเราจึงเห็นคุณยุคใหม่เลือกที่จะให้น้ำนมแม่กับลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงอายุ 1-2 ขวบกันเลย แต่สำหรับคุณแม่ที่มีน้ำนมน้อยก็ไม่ต้องกังวล เพราะด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการผลิตนมผง ทำให้ตอนนี้ผู้ผลิตสามารถที่จะเติม MFGM จากน้ำนมวัวลงในนมผงสูตรสำหรับเด็กได้อย่างมีคุณภาพ นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีให้คุณแม่ที่มีน้ำนมแม่ไม่เพียงพอ หรือไม่สามารถให้นมลูกได้

270 วันแรก (ท้อง 9 เดือน) สุดอลวน ของมนุษย์แม่ช่วงตั้งครรภ์

เพียงแค่รู้ว่ามีเจ้าตัวน้อยอยู่ในท้องเรา คุณแม่ป้ายแดงก็ทำอะไรไม่ถูกแล้วล่ะ ไหนจะหาโรงพยาบาลเพื่อฝากครรภ์ เตรียมแผนเคลียร์งานก่อนลาคลอด ตั้งชื่อลูกอะไรถึงจะมงคล คลอดวันไหนถึงจะดี บางคนคิดไปไกลถึงขั้นหาโรงเรียนแล้วก็เป็นได้ แต่ช้าก่อน อยากให้คุณแม่ทุกคนใจเย็นๆ และค่อยๆ จัดการไปทีละเรื่องอย่างมีระบบกับเช็กลิสต์เริ่มต้นที่ต้องจัดแจง

  • บอกข่าวดี แน่นอนว่าคุณพ่อ และคนในครอบครัวคือบุคคลแรกๆ ที่เราอยากให้ทุกคนได้ชื่นใจไปพร้อมๆ กัน ซึ่งโมเมนต์นี่แหละที่จะสร้างความสุขให้กับคุณแม่ได้
  • ตรวจครรภ์ที่โรงพยาบาล กับคุณหมอที่ไว้วางใจทันที เพื่อเช็กให้แน่ใจว่าอายุครรภ์ของคุณแม่ตอนนี้เท่าไรแล้ว ครรภ์ของคุณแม่แข็งแรงดีหรือไม่ มีเรื่องไหนต้องระวังเป็นพิเศษหรือเปล่า
  • เปลี่ยนพฤติกรรมในทุกด้าน ทั้งเรื่องของแฟชั่นการแต่งตัวที่ต้องบอกลาส้นสูงกันไปก่อน เรื่องไลฟ์สไตล์ต่างๆ ทั้งนอนดึก ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ก็ต้องบอกลาด้วยเช่นกัน และที่สำคัญต้องโฟกัสมากๆ ก็คือพฤติกรรมเรื่องสุขภาพและโภชนาการที่ต้องปรับเปลี่ยนทันที อะไรที่ส่งผลเสียต่อลูกน้อยก็ต้องพักไว้ก่อน
  • บำรุงครรภ์ตั้งแต่วันแรก เพราะเซลล์สมองกว่าแสนล้านเซลล์ของลูกน้อยได้เริ่มก่อกำเนิดตั้งแต่ในครรภ์ ฉะนั้นจึงจำเป็นมากที่คุณแม่ต้องบำรุงตัวเองให้ได้รับสารอาหารที่สำคัญ อย่าง DHA /โคลีน/แคลเซียม/โฟเลท ซึ่งมีส่วนช่วยในพัฒนาการที่สมบูรณ์ของลูกในครรภ์ เปรียบเสมือนเป็นอาหารบํารุงสมอง ทารกในครรภ์ ที่เน้นเรื่อง พัฒนาการสมองทารกในครรภ์ เป็นสำคัญ
  • ออกกำลังกายอย่างถูกต้อง อาทิ การเดิน การว่ายน้ำ การเต้นแอโรบิค การปั่นจักรยานอยู่กับที่ การเล่นโยคะ เป็นต้น แต่ทั้งนี้ก้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ซึ่งคุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอก่อน และหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ใช้แรงเยอะ หรือเกร็งหน้าท้อง
  • หลีกเลี่ยงความเสี่ยง ทั้งสิ่งที่เป็นความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายในอย่างเรื่องของจิตใจ อะไรที่ทำให้เคลียดก็ต้องหลีกเลี่ยง พยายามทำจิตใจให้สงบและมีความสุขเสมอ
  • ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมอย่างมีสติ ถึงแม้ว่ายุคนี้เป็นยุคที่เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่ายและรวดเร็ว แต่ก็มีข้อมูลจำนวนไม่น้อยที่เป็น Fake News ด้วยเช่นกัน จึงจำเป็นอย่างมากที่คุณแม่ต้องเลือกที่จะกลั่นกรองเชื่อเฉพาะข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ และไม่ทำอะไรโดยปราศจากการรับรองโดยผู้เชี่ยวชาญ

450 วันสุดอลวน ช่วงลูกน้อยวัยแรกเกิด (0-6 เดือน)

ทันทีที่เสียงร้องอุแว๊ดังขึ้น เป็นสัญญาณบอกให้รู้ว่าภารกิจสุดอลวนขั้นที่สองของมนุษย์แม่ได้เริ่มขึ้นแล้ว โดยเฉพาะเรื่องตารางเวลาขีวิตที่บอกได้เลยว่า อะไรที่เคยได้ทำก็อาจจะไม่ได้ทำ อะไรที่ไม่เคยทำก็จะได้สัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ๆ ไปพร้อมๆ กันกับลูกน้อยเลย กับเช็กลิสต์เปิดประสบการณ์คุณแม่ลูกอ่อน

  • ต้องฟิตร่างกายให้พร้อม เพราะช่วงวัยแรกเกิด ลูกน้อยจะตื่นบ่อยทุกๆ 3-4 ชม. เพื่อกินนม ทำให้คุณแม่ต้องตื่นบ่อยๆ จนเจอกับภาวะนอนน้อยจนร่างกายอ่อนเพลีย ฉะนั้นต้องดูแลตัวเองตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อให้ร่างกายพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นแน่นอน แต่! หากลูกน้อยมีพฤติกรรมนอนไม่หลับตื่นบ่อยเกินไปจนผิดปกติ คุณแม่ต้องรีบหาสาเหตุให้เจอว่าเป็นเพราะสภาพแวดล้อมที่ทำให้ลูกหลับไม่สนิท หรือเป็นเพราะลูกไม่สบาย จะได้แก้ไขได้ตรงจุด
  • ต้องหยุดเครียดเพราะน้ำนมมาน้อย เชื่อว่าคุณแม่ยุคใหม่หลายท่านมีความตั้งใจจะให้ลูกได้ดื่มนมแม่แบบ 100% แต่จะทำอย่างไรเมื่อน้ำนมมาน้อย อย่างแรกเลย ห้ามเครียด! ฟังดูเหมือนจะง่าย แต่ทำได้ยาก เพราะยิ่งน้ำนมมาน้อยคุณแม่ก็จะยิ่งเครียด และถ้ายิ่งเครียดน้ำนมก็จะมาน้อย กลายเป็นปัญหางูกินหางที่แก้ไม่จบสักที ข้อแนะนำเลย คือให้คุณแม่ใจเย็นๆ ทำใจให้สบายพักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่ช่วยกระตุ้นการเกิดน้ำนม สุดท้าย ระหว่างรอให้น้ำนมแม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกน้อย ก็ต้องมองหาตัวช่วยอย่าง นมผสมสำหรับเด็กแรกเกิดที่มีสารอาหารที่จำเป็นครบถ้วนมาเป็นตัวเสริมด้วย เพื่อให้เขามีพัฒนาการทางสมอง ภูมิคุ้มกัน และสุขภาพลำไส้ที่ดีสมวัย อย่าลิมว่าเด็กทุกคนมีความแตกต่างกัน เด็กส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องระบบขับถ่าย เพราะในเด็กเล็กระบบลำไส้ยังทำงานไม่สมบูรณ์ไม่เหมือนกับผู้ใหญ่ หรือในขณะที่เด็กบางคนมีความเสี่ยงต่อการเป็นภูมิแพ้ เป็นต้น คุณแม่ต้องเลือกโภชนาการและนมให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคนด้วย
  • ต้องหมั่นเติมพลังกายและพลังใจ ไม่ว่าจะเหนื่อยแค่ไหน ความสุขของคุณแม่ก็คือการได้เห็นลูกน้อยมีความสุขเท่านี้ก็เป็นการเติมพลังใจที่ดีได้แล้ว ส่วนพลังกายก็ต้องอาศัยตัวช่วยจากปัจจัยภายนอกต่างๆ ทั้งเรื่องของอาหาร อาหารเสริม และวิตามินต่างๆ ที่จะทำให้คุณแม่มีแรง มีพลัง และมีร่างกายที่แข็งแรงเพื่อเห็นการเติบโตของลูกในทุกๆ วัน
  • ต้องใช้ความรักชนะนำทาง การเลี้ยงลูกด้วยการให้ความรัก ความเอาใจใส่ ความอบอุ่น ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุย เล่านิทาน หรือเปิดเพลงให้ลูกฟังบ่อยๆ นับว่ามีส่วนช่วยส่งเสริมความฉลาดรอบด้านทั้งทางสติปัญญา (IQ) และอารมณ์ (IQ) ให้กับลูกน้อย ประกอบกับการมอบความรักด้วยการให้สารอาหารที่มีประโยชน์ ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสมองและอื่นๆ ให้กับลูกน้อย ยิ่งเป็นประโยชน์อันดีอย่างยิ่งกับลูกในระยะยาว ฉะนั้นจำเป็นมากที่คุณแม่จะใช้ความรักในการโอบอุ้มการเติบโตของลูกตั้งแต่วันแรก เพื่อให้กราฟพุ่งสูงไปอย่างเหมาะสมในทุกช่วงวัย

1000 วันสุดอลวน ช่วงลูกน้อยวัเตาะแตะ  (6 เดือน– 2 ขวบปี)

เดินทางมาถึงครึ่งทางกันแล้ว กับพัฒนาการการเติบโตของลูกน้อยใน 1,000  วันแรกที่เรียกว่าสำคัญมากๆ โดยเฉพาะเรื่องของพัฒนาการทางสมอง ที่ต้องได้รับการปูทางให้เกิดการพัฒนาการสมองตั้งแต่ยังเป็นทารกในครรภ์ จนถึงวัยแรกเกิด มาจนถึงวัยเตาะแตะ ที่คุณแม่จะได้เห็นการเติบโตของลูกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จนไม่สามารถพลาดไปได้แม้แต่วินาทีเดียว

  • การเคลื่อนไหวร่างกาย ที่เปลี่ยนจากการคลานเป็นเดินไปถึงการวิ่ง ที่เมื่อไรที่คุณแม่เผลอก็อาจจะได้เจอเหตุการณ์เซอร์ไพรส์แบบไม่คาดคิด ดังนั้นความไวของคุณแม่ต้องได้รับการอัปเกรดให้เร็วกว่าลูกน้อยให้ได้
  • การสื่อสาร ที่ยกระดับจากเสียงร้องมาเป็นการพูด การแสดงท่าทาง และการแสดงอารมณ์ต่างๆ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลก็เกิดจากการพัฒนาการทางสมองของลูกน้อยที่ได้รับการดูแลตั้งแต่วันแรกที่ตั้งครรภ์นั่นเอง โดยมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่า สมองเด็กมีการเจริญเติบโตสูงสุดถึง 80% ในช่วงตั้งครรภ์ ถึง 2 ปีแรก และสมองถือเป็นศูนย์กลางของพัฒนาการ หากสมองมีพัฒนาการที่ดี พัฒนาการด้านอื่น ๆ ก็จะดีตามมาด้วย
  • การเรียนรู้ ที่ลูกน้อยต้องการได้รับอย่างเหมาะสมตามวัยที่เปลี่ยนไป นั่นหมายความว่าคุณแม่ก็ต้องเตรียมตัวให้พร้อมที่จะส่งเสริมเรื่องพัฒนาการการเรียนรู้ของลูกไว้ด้วย

แม้ว่าทั้งหมดนี้จะเป็นความอลวนของคุณแม่ยุคใหม่ที่ต้องเจอ แต่ก็นับว่าคุ้มค่าเป็นที่สุดกับการที่ได้เห็นพัฒนาการของลูกน้อยเติบโตขึ้นอย่างสวยงาม แล้วอย่าลืมว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือการเตรียมความพร้อมของคุณแม่ ที่จะนำไปสู่การเตรียมความพร้อมของลูกน้อยทางด้านต่างๆ โดยเฉพาะการพัฒนาการทางสมองที่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเติบโตในทุกๆ ด้าน ซึ่งต้องได้รับการดูแลตั้งแต่ 1,000 วันแรกตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงวัย 2 ขวบ

 

สำหรับคุณแม่ที่อยากหาข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องสารอาหารและการเลี้ยงดูลูก สามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่
http://bit.ly/3ZRKA3e

และสามารถมาติดตามเรื่องราวของคุณชมพู่ อารยา เอ ฮาร์เก็ตในการดูแลตัวเองและลูกๆ แบบเจาะลึกจัดเต็ม ในช่วง 1000วันแรก
พร้อมทั้งสาระความรู้จากคุณหมอชั้นนำที่จะมาตอบคำถามที่คุณแม่มือใหม่อยากรู้ได้ที่นี่ http://bit.ly/3YDJDuq

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up