ชนิดของอาหารตามวัย
1.อาหารที่เตรียมเองในครอบครัว
- ไข่ เป็นแหล่งอาหารของโปรตีน วิตามินเอ แร่ธาตุ ใช้ไข่ไก่หรือไข่เป็ดก็ได้ ทำให้สุกจะย่อยง่าย ทารกมีโอกาสแพ้ไข่ขาวจึงควรใช้ไข่แดงก่อนเมื่อ 6 เดือน แล้วเริ่มให้ไข่ขาวเมื่ออายุ 7 เดือนขึ้นไป
- ตับ เป็นแหล่งอาหารของวิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 แร่ธาตุ ทารกสามารถรับประทานตับไก่ ตับหมูได้ โดยต้องทำให้สุกก่อน
- เนื้อสัตว์ เช่น หมู ไก่ ปลา เป็นแหล่งโปรตีน เหล็ก สังกะสี วิตามิน ปลาทะเลยังเป็นแหล่งของกรดไขมันดีเอชเอ ต้องทำให้สุกก่อนรับประทานเสมอ
- ถั่วต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง มีโปรตีน แร่ธาตุ ช่วยในการเจริญเติบโต ต้องต้มให้สุก บดให้ละเอียด จะได้ย่อยง่าย ไม่ท้องอืด หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ทำจากถั่ว เช่น เต้าหู้
- ผักต่างๆ มีวิตามิน แร่ธาตุ กากใยช่วยขับถ่าย เลือกผักที่หลากหลาย ทั้งสีเขียว และสีส้ม เช่น ตำลึง ฟักทอง แครอท และต้องทำให้สุกก่อน
- ผลไม้ ควรให้ลูกน้อยรับประทานผลไม้ที่สะอาด เป็นอาหารว่าง เช่น กล้วยน้ำว้า มะละกอสุก มะม่วงสุก ส้มเขียวหวาน
2.อาหารที่ขายตามท้องตลาด
- อ่านฉลากและโภชนาการ ถ้าเป็นอาหารเสริมกึ่งสำเร็จรูปมักมีสารอาหารไม่ครบถ้วน เพราะมีแป้ง และข้าวเป็นส่วนใหญ่ จำเป็นต้องเติม ไข่ ตับ ผัก ลงไปด้วย
- เลือกอาหารที่มี อย. และเหมาะกับช่วงวัย ซึ่งมีระบุอยู่บนฉลาก เลือกบรรจุภัณฑ์เรียบร้อย ไม่หมดอายุ เลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่เติมน้ำตาล น้ำผึ้ง เกลือ ผงชูรส หรือปรุงแต่งกลิ่น สี และสารกันบูธ
- อาหารกึ่งสำเร็จรูปจะต้องทำให้สุกก่อนให้ลูกน้อยรับประทานทุกครั้ง
การให้อาหารตามวัยตั้งแต่ 6 เดือน – 2 ขวบ
1.อายุ 6-8 เดือน ป้อนวันละ 2 มื้อ
- ข้าวสวย 4 ช้อนกินข้าว ต้มกับน้ำแกงจืดหรือน้ำซุปครึ่งถ้วยตวง ต้มให้เปื่อยและบดละเอียด
- ข้าวตุ๋นปานกลาง 4 ช้อนกินข้าวผสมกับน้ำแกงจืด หรือน้ำซุป 8 ช้อนกินข้าว
- ใส่ผักใบเขียว เหลือง ส้มที่อ่อนนุ่ม ไม่มีกลิ่นแรง 1 – 2 ช้อนกินข้าว บดละเอียด
- ใส่อาหารที่มีโปรตีน อ่อนนุ่มบดได้ง่าย เช่น ไข่แดง ตับไก่ เต้าหู้อ่อน ปลา บดละเอียด
- สลับเมนูอาหารกันไป เหยาะน้ำมันพืชครึ่งช้อนชา เพื่อช่วยดูดซึมวิตามิน และเพิ่มพลังงาน
ตัวอย่างเมนูอาหาร