น้ำผึ้ง ป้อนทารก ระวังอันตราย!จากภาวะโบทูลิซึม - Amarin Baby & Kids
ป้อน น้ำผึ้ง เด็กทารก อันตราย

น้ำผึ้ง ป้อนทารก ระวังอันตราย!จากภาวะโบทูลิซึม

Alternative Textaccount_circle
event
ป้อน น้ำผึ้ง เด็กทารก อันตราย
ป้อน น้ำผึ้ง เด็กทารก อันตราย

น้ำผึ้ง อาหารมากสรรพคุณแต่ไม่ใช่สำหรับทุกคน พ่อแม่โปรดระวัง ห้ามป้อนน้ำผึ้งแก่ทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี เสี่ยงติดเชื้อจากแบคทีเรีย ที่ทำอันตรายได้ถึงชีวิต

น้ำผึ้ง ป้อนทารก ระวังอันตราย!จากภาวะโบทูลิซึม

ภาวะโบทูลิซึม  จากอาหารเป็นภาวะอาหารเป็นพิษชนิดหนึ่ง ภาวะนี้พบไม่บ่อยแต่อาจก่ออาการที่รุนแรงจนเกิดอันตรายต่อชีวิตได้ ภาวะโบทูลิซึมจากอาหารเกิดจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนด้วยสารพิษโบทูลิซึม (botulism toxin) โดยสารพิษโบทูลิซึมเกิดจากการมีเชื้อแบคทีเรีย Clostridium botulinum ปนเปื้อนในอาหาร และสร้างสารพิษชนิดนี้ขึ้น สารพิษโบทูลิซึมเป็นสารพิษที่รุนแรงมาก การรับประทานสารพิษชนิดนี้ในขนาดน้อยมากเพียง 0.1 ไมโครกรัม (เท่ากับเศษหนึ่งส่วนสิบล้าน ของน้ำหนักหนึ่งกรัม) ก็อาจทำให้เสียชีวิตได้

น้ำผึ้ง มากคุณประโยชน์ แต่ไม่ใช่สำหรับทุกคน
น้ำผึ้ง มากคุณประโยชน์ แต่ไม่ใช่สำหรับทุกคน

 เชื้อโรค Clostridium botulinum คืออะไร

เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่พบมากในดิน เชื้อนี้เจริญเติบโตได้ดีในสภาวะแวดล้อมที่มีออกซิเจนน้อย เช่นในกระป๋องบรรจุอาหารในขวดที่ปิดสนิท หรือในปี๊บ หากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมแก่การเจริญเชื้อนี้จะหลบอยู่ในสภาพสปอร์ซึ่งคงทนในสภาพแวดล้อมได้ดีมาก และรอจนกว่าจะพบสภาพที่เหมาะสมจึงเจริญเติบโต และสร้างสารพิษในสภาวะที่มีการเจริญเติบโตนั้น

ภาวะโบทูลิซึมอาจเกิดในรูปแบบอื่น ๆ นอกเหนือจากอาหารได้อีก 2 รูปแบบได้แก่

  1. ภาวะโบทูลิซึมในเด็กทารก (Infant botulism) ซึ่งเกิดจากการเจริญของเชื้อ Clostridium botulinumและการสร้างสารพิษโบทูลิซึมในทางเดินอาหารของทารก ซึ่งทางเดินอาหารของทารกมีปัจจัยสำคัญที่เหมาะสมในการเจริญของเชื้อ ได้แก่ การพัฒนาการเคลื่อนไหวยังไม่ดี และความเป็นกรดต่ำ การป้องกันภาวะนี้ทำได้โดยการหลีกเลี่ยงการให้อาหารที่อาจปนเปื้อนสปอร์ของเชื้อ Clostridium botulinum เช่น น้ำผึ้งในเด็กทารกที่อายุน้อยกว่า ปี
  2. ภาวะโบทูลิซึมจากแผล (wound botulism) ซึ่งเกิดจากการเจริญของเชื้อ Clostridium botulinum และการสร้างสารพิษโบทูลิซึมในบาดแผลที่มีการปนเปื้อนสปอร์จากดินการป้องกันภาวะนี้ทำได้โดยการล้างแผลให้สะอาด ปราศจากการปนเปื้อนของฝุ่นดิน

ภาวะแทรกซ้อนของโรคโบทูลิซึม

ผู้ป่วยที่รีบไปพบแพทย์ตั้งแต่อาการยังไม่รุนแรงมักมีโอกาสรอดชีวิตสูง และฟื้นฟูร่างกายได้เร็วขึ้นโดยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจไม่สามารถหายเป็นปกติได้โดยสมบูรณ์ เพราะส่วนใหญ่มักมีปัญหาทางการหายใจในระยะยาว เช่น อาการหายใจถี่ หรือรู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าปกติ เป็นต้น

การป้องกันโรคโบทูลิซึม

โรค Botulism ป้องกันได้ด้วยการลดความเสี่ยงการได้รับเชื้อแบคทีเรียคลอสติเดียมโบทูลินัมเข้าสู่ร่างกาย โดยปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  • หากต้องการถนอมอาหารอย่างการหมักหรือดองผักผลไม้ไว้รับประทานเอง ให้ล้างมือก่อนตระเตรียมจัดการถนอมอาหารทุกชนิด และเก็บอาหารใส่ภาชนะที่สะอาด
  • หากต้องการรับประทานอาหารที่ผ่านกระบวนการถนอมอาหาร เช่น อาหารกระป๋อง ของหมักดอง เป็นต้น ให้นำมาอุ่นด้วยความร้อนสูงก่อนทุกครั้ง และควรรับประทานอาหารกระป๋องให้หมดภายในครั้งเดียว
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารกระป๋องที่บรรจุภัณฑ์มีรอยรั่ว แตก บุบ หรือบวม อาหารภายในกระป๋องมีกลิ่นบูดเน่าหรือมีสีผิดปกติ หรือเมื่อเปิดฝาแล้วมีอากาศ น้ำ หรือฟองพุ่งออกมาจากกระป๋อง
  • เก็บน้ำมันสำหรับประกอบอาหารที่มีส่วนผสมของสมุนไพรหรือเครื่องเทศชนิดใด ๆ ไว้ในตู้เย็นเสมอ
  • ไม่ควรให้ทารกรับประทานน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อมจากข้าวโพด เพราะเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้

Infant botulism !!

ในที่นี้จะขอกล่าวถึงภาวะโบทูลิซึมในเด็กทารก เนื่องจากวัยทารกเป็นวัยที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคได้ง่าย เด็กในวัยนี้มีภูมิคุ้มกันในร่างกายที่ต่ำ ดังนั้นเวลาที่พ่อแม่ ผู้ปกครองจะให้ลูกรับประทานอาหารอะไร ก็ควรต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ มีคนแชร์ว่าได้นำน้ำผึ้งไปป้อนให้กับเด็กทารกอายุ 6 เดือน แล้วเด็กเสียชีวิตซึ่งเป็นข่าวจริงหรือไม่?

ข่าวจริง อันตรายห้ามป้อน น้ำผึ้ง กับทารก
ข่าวจริง อันตรายห้ามป้อน น้ำผึ้ง กับทารก

ทางเพจ อย. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ลงบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า “เป็นข่าวจริง”

เพราะอะไร วันนี้เรามีคำตอบก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับโรคโบทูลิซึมกันก่อนดีกว่า โรคโบทูลิซึม เป็นภาวะอาหารเป็นพิษที่เกิดจากการได้รับสารพิษจากเชื้อแบคทีเรียคลอสติเดียมโบทูลินัม (Clostridium Botulinum) ที่ปนเปื้อนในอาหาร

โดยเชื้อนี้เจริญเติบโตได้ดี และสร้างสารพิษในภาวะที่มีออกซิเจนน้อย มักพบใน

1. อาหารกระป๋องที่มีการจัดเก็บไม่ได้มาตรฐาน เช่นมีรอยบุบ รั่ว หรือแตก

2. หน่อไม้ปี๊ป ที่ไม่ได้ปรุงด้วยความร้อนนานพอ หรือปรับค่าความเป็นกรดที่เหมาะสม

3. น้ำผึ้ง

อาการภาวะโบทูลิซึมในทารก

โดยนอกจากนี้ภาวะโบทูลิซึมสามารถเกิดได้กับเด็กทารกที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี สารพิษจะทำให้มีอาการดังต่อไปนี้

  • ท้องเสีย หรือท้องผูก
  • กลืนน้ำ และอาหารลำบาก ทำให้เบื่ออาหาร
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง คออ่อนพับ
  • มีอาการหายใจลำบาก
  • เด็กป่วยประมาณ 5% จะมีอาการหายใจไม่ทัน หรือชะงักไป หัวใจหยุดเต้น และหากไม่รีบไปพบแพทย์อาจเกิดอันตรายจนเสียชีวิตได้

    ภาวะโบทูลิซึมในทารก ขอขอบคุณภาพจาก www.pidst.or.th
    ภาวะโบทูลิซึมในทารก ขอขอบคุณภาพจาก www.pidst.or.th

เหตุใดน้ำผึ้งจึงอันตรายกับเด็กทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี!!

เนื่องจากทารกมีการพัฒนาการของระบบย่อยอาหารยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ แบคทีเรียซึ่งเข้าสู่ทางเดินอาหารจึงแบ่งตัวสร้างสปอร์ และสารพิษได้ แต่กรณีเด็กโต หรือผู้ใหญ่ ลำไส้จะกำจัดเชื้อออกไปจากร่างกายได้ก่อนที่เชื้อจะเพิ่มจำนวนจึงทำให้สามารถบริโภคน้ำผึ้งได้โดยไม่อันตราย

อันตรายแฝงอื่น ๆ จากน้ำผึ้ง ที่ไม่เหมาะกับทารก

น้ำผึ้งยังมีรสหวานจัด การให้ทารกหรือเด็กบริโภคน้ำผึ้งนั้นจะทำให้ติดรสชาติหวาน ฟันผุ เป็นโรคอ้วนหรือขาดสารอาหารที่มีประโยชน์ได้จะเห็นได้ว่าไม่ควรให้ทารกที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปีกินน้ำผึ้งโดยเด็ดขาด เพราะอาจเสี่ยงได้รับเชื้อหรือสารพิษได้ดังนั้นก่อนที่จะให้ลูกน้อยรับประทานอาหารอะไรควรศึกษาให้ดีก่อนไม่เช่นนั้นอาจเกิดอันตรายได้

เมื่อไหร่ควรเริ่มป้อนอาหารเสริมแก่ทารก : เวลาที่เหมาะสมสำคัญสำหรับก้าวแรก

เด็กวัยแรกเกิดถึง 6 เดือน

ตั้งแต่แรกเกิดจนอายุ 6 เดือน ลูกน้อยได้รับสารอาหารทั้งหมดที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการจากนมแม่ ทารกไม่ต้องการอะไรนอกจากนมแม่ ไม่จำเป็นต้องป้อนน้ำ ชา น้ำผลไม้ ข้าวต้ม หรืออาหารหรือของเหลวอื่น ๆ ในช่วงนี้

ทารกที่รับประทานอาหารหรือของเหลวอื่น ๆ ที่ไม่ใช่นมแม่ก่อนอายุ 6 เดือนจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยต่าง ๆ อาทิ ท้องเสีย ซึ่งอาจทำให้เด็กผอม อ่อนแอและอาจถึงแก่ชีวิตได้ และทำให้คุณให้นมลูกได้บ่อยน้อยลง ดังนั้นปริมาณน้ำนมซึ่งเป็นอาหารสำคัญที่สุดของลูกก็จะลดลงตามไปด้วย

นมแม่เป็นอาหารที่ปลอดภัย และดีต่อสุขภาพที่สุดในช่วง 6 เดือนแรกของทารกเด็กทุกคน นมแม่เป็นแหล่งโภชนาการที่มีให้ตลอด และปลอดภัย ซึ่งขาดไม่ได้สำหรับเด็ก

อาหารเสริมสำหรับเด็กทารกก่อน 1 ปี
อาหารเสริมสำหรับเด็กทารกก่อน 1 ปี

อายุ 6 เดือนขึ้นไป

เมื่อลูกน้อยของคุณอายุครบ 6 เดือน เด็กจะเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายอย่างรวดเร็ว และต้องการพลังงาน และสารอาหารมากกว่าแค่นมแม่เพียงอย่างเดียวจะให้ได้ ตอนนี้เด็กต้องเริ่มรับประทานอาหารเสริมนอกเหนือจากนมแม่เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย

เราจะป้อนอาหารให้ลูกเมื่อเห็นสัญญาณว่าลูกหิว โดยต้องคำนึงถึงความสะอาด หลังจากล้างมือด้วยสบู่แล้ว คุณอาจเริ่มให้อาหารอ่อน ๆ เช่น ข้าว ผลไม้หรือผักบด แก่ลูกน้อยเพียง เพียง 2-3 ช้อน วันละ 2 ครั้ง และคุณยังควรให้นมลูกต่อไป และบ่อยเท่าที่เคยป้อน

กรณีของเด็กที่ไม่ได้เลี้ยงด้วยนมแม่

หากคุณไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการเริ่มป้อนอาหารเสริม ยังคงเป็นเมื่อายุครบ 6 เดือนเช่นเดียวกัน เพราะนี่คือช่วงวัยที่ทารกทุกคนไม่ว่าจะเลี้ยงด้วยนมแม่หรือไม่ ต้องเริ่มรับประทานอาหารเสริมเพื่อให้ร่างกายที่กำลังเจริญเติบโตได้รับสารอาหารครบถ้วน

คำแนะนำอาหารทารกวัย 0-12 เดือน

อายุ อาหารเสริมที่ควรเริ่มได้ ปริมาณอาหารเสริมที่ควรได้รับต่อวัน
แรกเกิดถึง 4 เดือน
  • ไม่จำเป็นต้องให้อาหารเสริมเพราะว่าน้ำนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกแต่ถ้าจำเป็นจึงจะให้นมผสมรับประทาน ได้ถึง 2 ปี
  • น้ำนมแม่สามารถให้รับประทานได้ถึง 2 ปี แต่หลัง 1 ปี ต้องได้รับอาหาร  มื้อหลักครบ 3  มื้อ
อายุครบ 4-6 เดือน

เริ่มให้อาหารเสริม

  • ข้าวบดละเอียด
  • ไข่ต้มสลับกับตับบด หรือ ปลาบดเช่น ปลาทู ปลาช่อน
  • ผักสุกบด เช่น ผักกาดขาวฟักทอง
  • น้ำต้มผักกับกระดูกหมู
  • ผลไม้สุก เช่น มะละกอสุก มะม่วงสุกส้ม กล้วยน้ำว้าสุก
  • ข้าวบดประมาณ 3ช้อนโต๊ะไข่แดงครึ่งฟอง
  • ตับบด 1 ช้อนโต๊ะ
  • ปลาบด 2 ช้อนโต๊ะ
  • ผักสุกบดครึ่งช้อนโต๊ะ
  • ผลไม้สุก 1-2 ชิ้น
อายุครบ 7-8 เดือน
  • ข้าวบดหยาบ
  • ไข่ทั้งฟอง สลับกับเนื้อปลา เนื้อหมูหรือ เนื้อไก่
  • ผักสุกบดหยาบให้ผักหลายชนิดสลับกัน
  • น้ำต้มผักกับกระดูกหมู
  • ผลไม้สุก
  • ข้าวบดประมาณ 4 ช้อนโต๊ะ
  • ไข่ทั้งฟอง
  • เนื้อสัตว์ 2 ช้อนโต๊ะ
  • ผักสุกบด 1-2 ช้อนโต๊ะ
  • ผลไม้สุก 2-3 ชิ้น
  • อาหารเสริม 1 มื้อ
  • ผลไม้หลังอาหาร
อายุครบ 8-10 เดือน
  • ข้าวสุกนิ่ม
  • อาหารอย่างอื่นรับประทานเหมือนอายุครบ 7 เดือน แต่เพิ่มปริมาณมากขึ้น
  • ข้าวสุกนิ่มประมาณ 5 ช้อนโต๊ะ
  • ไข่ทั้งฟอง
  • เนื้อสัตว์ 2 ช้อนโต๊ะ
  • ผักสุกหั่น 2 ช้อนโต๊ะ
  • ผลไม้สุก 3-4 ชิ้น
  • อาหารเสริม 2 มื้อ
  • ผลไม้หลังอาหารทุกมื้อ
อายุครบ 10-12 เดือน
  • รับประทานเหมือนเดิมแต่เพิ่มปริมาณมากขึ้น
  • ข้าวสุกนิ่มประมาณ 6 ช้อนโต๊ะ
  • ไข่ทั้งฟอง
  • เนื้อสัตว์ 3 ช้อนโต๊ะ
  • ผักสุกหั่น 3 ช้อนโต๊ะ
  • ผลไม้สุก 4-5 ชิ้น
  • อาหารเสริม 3 มื้อ
  • ผลไม้หลังอาหารทุกมื้อ
ข้อมูลอ้างอิงจาก oryor.com/www.si.mahidol.ac.th/www.pobpad.com/www.synphaet.co.th/ www.unicef.org

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ศีรษะทารกแรกเกิด มีแผลอย่ารีบโวยอาจไม่ใช่จากการทำคลอด

พัฒนาการทารก 1 เดือน และวิธีกระตุ้นพัฒนาการรอบด้าน!

ตาแฉะ ทารกตาแฉะ ขี้ตาเป็นหนอง ปล่อยไว้อาจเป็นโรคนี้!!

ซิงเกิ้ลมัม เลี้ยงลูกคนเดียวก็เฟี้ยวได้กับเคล็ดลับเติมเต็มลูก

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up