แม่นมน้อย – การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับคุณแม่มือใหม่ หลายคนอาจมีความกังวลเกี่ยวกับการผลิตน้ำนมให้เพียงพอเพื่อให้ทารกมีสุขภาพดีซึ่งแตกต่างจากการให้ลูกดูดขวดตรงที่สามารถบอกได้ว่าลูกได้รับนมมากแค่ไหน ดังนั้นคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมบางคน อาจไม่แน่ใจว่าลูกได้รับนมมากน้อยเพียงใด นั่นอาจทำให้คุณแม่มือใหม่ มีคำถามต่างๆ เกิดขึ้น เช่น นมแม่เพียงพอหรือไม่? ทารกจะได้รับสารอาหารเพียงพอหรือเปล่า? วันนี้เรามาหาทางออกกับปัญหานี้ไปพร้อมกันค่ะ
แม่นมน้อย น้ำนมไม่พอ ทำยังไงให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จ
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกระบวนการในการผลิตน้ำนมของคุณแม่มือใหม่กันก่อนค่ะ
ร่างกายแม่ผลิตนมอย่างไร?
ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ร่างกายของคุณจะเริ่มเตรียมพร้อมกับการต้องให้นมบุตร โดยจะมีการพัฒนาเนื้อเยื่อและต่อมที่จำเป็นในการผลิตน้ำนม และเพิ่มจำนวนท่อน้ำนมในเต้านมของคุณ ในตอนท้ายของไตรมาสที่สองร่างกายของคุณจะเริ่มพร้อมต่อการให้นมบุตรได้
เมื่อลูกน้อยของคุณคลอดออกมา ฮอร์โมนที่เรียกว่าโปรแลคตินจะกระตุ้นการผลิตน้ำนมและฮอร์โมนออกซิโทซินจะทำให้เซลล์กล้ามเนื้อเล็ก ๆ ในเต้านมหดตัวและขับน้ำนมออกมา ระดับโปรแลคตินของคุณจะเพิ่มขึ้นและมีการผลิตน้ำนมมากขึ้นตามวัฏจักรของอุปสงค์และอุปทานที่ต่อเนื่อง กล่าวคือ ยิ่งทารกดูดนมจากเต้าของคุณมากเท่าไหร่เต้านมจะตอบสนองโดยการผลิตน้ำนมให้มากขึ้น
สาเหตุที่ทำให้แม่มือใหม่น้ำนมน้อย
อาจยังหาข้อสรุปที่ชัดเจนไม่ได้ว่าสาเหตุใดที่ทำให้คุณแม่บางคนผลิตน้ำนมได้น้อย แต่สาเหตุที่พบได้บ่อย ได้แก่ :
- มีการเสริมอาหารให้ลูก หากเพิ่มอาหารอื่นๆ ให้ลูก นอกเหนือจากนมแม่ ลูกอาจกินนมจากเต้าน้อยลง ซึ่งจะทำให้เต้านมของคุณผลิตน้ำนมน้อยลงนั่นเอง
- ความถี่การให้นมลูก การยืดเวลาระหว่างมื้ออาหารออกไป (เช่นสี่ชั่วโมง) อาจจะง่ายกว่าสำหรับคุณแม่มือใหม่ แต่อาจหมายความว่าเต้านมของคุณจะไม่ได้รับการกระตุ้นที่จะผลิตน้ำนมในปริมาณที่เพียงพอ ตัวอย่างเช่น ลูกน้อยของคุณใช้เวลาในการนอนหลับนานเกินไป
- ระยะเวลาในการให้นม หากคุณให้ลูกได้ดูดเต้า เช่น ข้างละ 5 นาทีในแต่ละเต้า ไม่เพียงแต่จะไม่ช่วยให้ลูกน้อยของคุณได้รับน้ำนมส่วนหลังที่มีคุณค่าทางโภชนาการ แต่เต้านมของคุณจะไม่ได้รับการระบายน้ำนมออกอย่างเพียงพอ และหากไม่มีการขับน้ำนมออกอย่างเพียงพอก็จะไม่มีการกระตุ้นให้ผลิตน้ำนม
- ทารกติดจุกหลอก สำหรับทารกบางคน เวลาที่ใช้ในการดูดจุกนมหลอกหมายถึงเวลาของการดูดนมจากเต้น้อยลง การดูดนมน้อยลงอาจหมายถึงการผลิตน้ำนมน้อยลงนั่นเองค่ะ
สัญญาณบ่งบอกว่าลูกน้อยของคุณได้รับนมเพียงพอ
แม้ว่าจะยากที่จะบอกว่าน้ำนมออกมาจากเต้ามากแค่ไหนเว้นแต่คุณจะปั๊ม แต่ก็มีสัญญาณหลายอย่างที่สามารถบ่งบอกว่าลูกน้อยของคุณได้รับนมเพียงพอ
- ดูจากการอุจจาระ หากคุณเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็กอย่างน้อยสามถึงสี่ชิ้นที่เต็มไปด้วยอุจจาระสีมัสตาร์ดขนาดใหญ่ทุกวันเมื่อเขาอายุ 5 ถึง 7 วันลูกน้อยของคุณจะได้รับนมเพียงพอ และเมื่อลูก อายุ 2 ถึง 3 เดือน คาดว่าอัตราดังกล่าวจะลดลงเหลือวันละ 1 ครั้ง หรือแม้แต่วันเว้นวันนั่นก็หมายความว่าเขาได้รับนมเพียงพอ
- ดูจากปัสสาวะ หากผ้าอ้อมเด็กเปียกทุกครั้งที่เปลี่ยน (อย่างน้อยหกครั้งต่อวันในช่วงเดือนแรก ๆ ) แสดงว่าคุณมีน้ำนมมากพอ
- สีของปัสสาวะ ถ้าฉี่ของทารกมีสีเหลืองอ่อนหรือไม่มีสี แสดงว่าลูกได้รับน้ำนมเพียงพอ
- ลูกน้อยของคุณกลืนน้ำลายระหว่างดูดเต้า นั่นเป็นสัญญาณว่าน้ำนมแม่กำลังจะลดลง แต่หากทารกไม่มีอาการดังกล่าว แต่น้ำหนักตัวยังคงเพิ่มขึ้นก็ไม่มีอะไรต้องกังวลเช่นกัน
- อาการของทารกหลังการให้นม หลังอาหารมื้อใหญ่ ผู้ใหญ่อย่างเรายังมีอาการง่วง เช่นเดียวกัน หากลูกน้อยของคุณร้องไห้และงอแงมากหลังจากการให้นมบุตรอาจหมายความว่าเขายังคงหิวอยู่ อย่างไรก็ตามโปรดทราบว่าเขาอาจจะงอแงด้วยเหตุผลที่ไม่เกี่ยวข้องกับความหิว เช่น ผ้าอ้อมเต็ม ปวดท้อง หรือจุกเสียดท้อง โดยทั่วไปหากลูกน้อยของคุณตื่นตัวและมีสุขภาพโดยรวมที่ดีคุณก็ไม่มีอะไรต้องกังวล
- ลูกน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ไม่มีสัญญาณบ่งบอกถึงปริมาณน้ำนมที่ดีไปกว่าทารกมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4 ถึง 7 ออนซ์ ต่อสัปดาห์ สิ่งนี้บ่งบอกได้เป็นอย่างดีว่าลูกได้รับนมเพียงพอ (แม้ว่าเด็กทารกจำนวนมากจะลดน้ำหนักทันทีหลังคลอดและอาจอยู่ต่ำกว่าน้ำหนักแรกเกิดในช่วงเจ็ดถึง 10 วันแรก)
สัญญาณบ่งบอกว่าลูกน้อยอาจได้รับนมไม่เพียงพอ
ตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนที่สุดของปัญหานี้ คือ ทารกน้ำหนักไม่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ทารกส่วนใหญ่น้ำหนักค่อยๆ ลดลงหลังคลอด ทารกที่มีอายุครบกำหนด น้ำหนักไม่ควรลดลงเกิน 7 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแรกเกิดในช่วงสองสามวันแรกหลังคลอด อย่างไรก็ตามการลดน้ำหนักที่มากขึ้นเล็กน้อยอาจเป็นเรื่องปกติได้เช่นกัน
เมื่ออายุได้ 10 วัน ทารกควรกลับมามีน้ำหนักใกล้เคียงน้ำหนักเมื่อตอนแรกเกิด และเริ่มมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4 ถึง 7 ออนซ์ ต่อสัปดาห์ หากลูกน้อยของคุณน้ำหนักไม่เพิ่มหรือน้ำหนักลดลงนั่นแสดงว่าเขาได้รับนมไม่เพียงพอ
มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าการลดน้ำหนักชั่วคราวในทารกแรกเกิดหลังคลอดอาจทำให้คุณแม่คิดว่าคุณแม่เองผลิตน้ำนมไม่เพียงพอ และอาจมีการเริ่มให้นมเสริมทันทีซึ่งสิ่งนี้อาจนำไปสู่ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับการผลิตน้ำนมของแม่ได้
แม่น้ำนมน้อยแก้ปัญหาอย่างไร?
พูดคุยกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ กุมารแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการให้นมบุตรโดยเร็วที่สุด หากคุณกังวลว่าคุณจะผลิตน้ำนมไม่เพียงพอ หรือหากน้ำหนักตัวของทารกเพิ่มขึ้นช้ากว่าที่คาดไว้ นอกจากนี้ ยังมีแนวทางที่คุณสามารถปฏิบัติตามทำได้เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมของคุณ
วิธีเพิ่มปริมาณน้ำนม
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณให้นมทารกได้ถูกต้องตามคำแนะนำเกี่ยวกับท่าให้นม และเคล็ดลับในการเข้าเต้าที่ดี
- ปล่อยให้ลูกดูดเต้าจนอิ่มทุกครั้ง (อย่าสนใจมองนาฬิกามากนัก)
- เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามความต้องการของลูก (ทุกสองถึงสามชั่วโมงในช่วงเดือนแรก) อย่ายึดติดกับตารางเวลาที่เข้มงวด
- การไม่ให้ทารกนอนคว่ำเป็นหนึ่งในพื้นฐานด้านความปลอดภัยในการนอนหลับของทารก แต่สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ สิ่งที่ควรรู้คือ การนอนคว่ำ หรือหากเต้านมถูกกดทับเป็นประจำในตอนกลางคืนอาจทำให้การผลิตน้ำนมช้าลงได้
- หลีกเลี่ยงการเสริมด้วยสูตรอาหารเว้นแต่แพทย์ของคุณเห็นว่าจำเป็นสำหรับทารกในการเพิ่มน้ำหนักและควรจำกัดการใช้จุกนมหลอก
- พิจารณาการปั๊มนมระหว่างการให้นมหากคุณสามารถทำได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มการผลิตน้ำนมได้
- ขยันปั๊มนมเก็บสต๊อกไว้ จะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมของคุณได้ เช่น ปั๊มออกวันละประมาณหนึ่งชั่วโมง (เช่นปั๊ม 20 นาทีแล้วพัก 10 จากนั้นปั๊ม 10 แล้วพัก 10 และอื่น ๆ ) วิธีนี้อาจใช้เวลาถึงหนึ่งสัปดาห์จึงจะเห็นผลลัพธ์ที่น่าพอใจ
- พักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ คุณแม่ที่อ่อนเพลีย และขาดโภชนาการที่ดี อาจไม่สามารถผลิตน้ำนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอเสมอ
ปัญหาน้ำนมน้อยเป็นปัญหาที่พบบ่อยในบรรดาคุณแม่มือใหม่ที่ตตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ค่ะ ดังนั้นหากคุณแม่กำลังกังวลใจอยู่ อย่างน้อยคุณก็ไม่ได้โดเดี่ยว ยังมีคุณแม่อีกมากมายหลายล้านคนที่ประสบปัญหาเดียวกันและทุกข์ใจกับปัญหานี้ อย่างไรก็ตามการได้พูดคุยกับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการให้นมบุตรเป็นสิ่งที่จะช่วยคลายความกังวลและหาทางออกให้คุณได้ค่ะ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ นอกจากจะเป็นการสานใยรักระหว่างแม่กับลูกได้เป็นอย่างดีแล้ว การที่ทารกได้ทานนมแม่ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีต่อสุขภาพของเด็กอย่างไม่ต้องสงสัย
ด้วยคุณประโยชน์หลายประการในน้ำนมแม่ที่ส่งผลโดยตรงต่อทารก หลายคนตั้งใจจะให้ลูกได้กินนมแม่ให้นานที่สุดเพื่ออยากให้ลูกน้อยมีสุขภาพร่างกายและสติปัญญาที่สมบูรณ์แข็งแรง แต่อย่างน้อยถ้าหากคุณแม่สามารถให้ลูกดูดเต้าได้จนถึงอายุ 6 เดือน ก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้วค่ะ ทั้งนี้ เมื่อลูกค่อยๆ โตขึ้นเข้าสู่วัยเตาะแตะ คุณแม่สามารถปลูกฝังถึงความสำคัญของการใส่ใจในสุขภาพเพื่อให้ลูกมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมวัยได้หลายวิธี ทั้งการสนับสนุนเรื่องโภชนาการ การออกกำลังกาย การให้ลูกได้มีกิจกรรมต่างๆ เพื่อการพัฒนากระดูก กล้ามเนื้อ และสมอง เมื่อเด็กๆ ได้รับการปลูกฝังในเรื่องนี้ตั้งแต่ยังเล็ก ก็มีแนวโน้มที่จะมีทักษะความฉลาดต่อการมีสุขภาพที่ดี (HQ) ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับเด็กยุคนี้ได้แน่นอนค่ะ
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : whattoexpect.com
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
5 เคล็ดลับเด็ดสู่การ “ปั๊มนมเกลี้ยงเต้า” มีน้ำนมแม่ให้ลูกกินได้นาน
คลอดลูกแบบ ผ่าคลอด นมแม่มาช้ากว่าคลอดเองจริงหรือ?
3 สเต็ปพร้อม…ก่อนแม่กลับไปทำงาน หมดปัญหาไม่มีน้ำนมให้ลูกกิน
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่