ข้อดีของการป้อนอาหารทารกหลังอายุ 6 เดือน
คุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ชื่อดังได้เปิดเผยถึงข้อดีของการ ป้อนอาหารทารก หลัง 6 เดือนเอาไว้ดังนี้
- ช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยเพราะได้รับภูมิต้านทานจากนมแม่เต็มที่ มากกว่า 50 ชนิด และยังมีอีกมากมายที่ยังไม่รู้จัก การศึกษาหนึ่งพบว่าเด็กที่ได้รับนมแม่อย่างเดียวใน 4 เดือนแรกมีปัญหาโรคหูชั้นกลางอักเสบน้อยกว่ากลุ่มที่เริ่มอาหารเสริมเร็ว โดยลดลงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ และมีปัญหาโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจลดลงอย่างชัดเจน
- ไม่ทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานหนักเกินไปถ้าเริ่มเร็วเกินไป อาจมีปัญหา ท้องอืด ท้องผูก น้ำย่อยโปรตีนยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้ย่อยโปรตีนได้ไม่เต็มที่ น้ำย่อยคาร์โบไฮเดรตยังไม่สมบูรณ์จนกว่าจะอายุ 6-7 เดือน น้ำย่อยไขมันยังไม่สมบูรณ์จนกว่าจะอายุ 6-9 เดือน
- ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคแพ้อาหาร งานวิจัยพบว่า ยิ่งให้นมแม่นาน ยิ่งลดความเสี่ยงของโรคแพ้อาหาร เพราะว่าก่อน 6 เดือน เซลเยื่อบุลำไส้ยังอยู่กันแบบหลวมๆ (open) เพื่อให้ ภูมิคุ้มกันจากนมแม่ผ่านเข้าไปตามช่องว่างดังกล่าวเข้าไปอยู่ในเลือดของลูก ช่วยป้องกันการติดเชื้อโรค แต่หากมีการให้อาหารแปลกปลอมอื่นเข้าไป สารแปลกปลอมก็จะเล็ดลอดเข้าไปกระตุ้นให้ร่างกายทารกสร้างสารต่อต้าน จนเกิดปัญหาแพ้อาหารตามมาได้ หลัง 6 เดือนเซลเยื่อบุลำไส้จะอยู่กันชิดๆแล้ว (close) ความเสี่ยงจึงลดลง
- ลดความเสี่ยงปัญหาขาดธาตุเหล็ก การให้อาหารอื่นก่อนอายุ 6 เดือน จะทำให้ลำไส้ดูดซึมธาตุเหล็กจากนมได้น้อยลง งานวิจัยพบว่า เด็กที่ได้รับอาหารเสริมก่อน 6 เดือน จะมีปัญหาซีดจากขาดธาตุเหล็กที่อายุ 1 ขวบมากกว่า และเมื่อเริ่มอาหารเสริมแล้ว อย่าลืมให้กินอาหารที่มีธาตุเหล็กเป็นประจำ จะได้ไม่ซีด อีกปัจจัยหนึ่งที่จะลดความเสี่ยงของโรคซีดหลัง 6 เดือน คือ ตอนคลอดควรรีดเลือดจากสายสะดือเข้ามาทางลูก ถึงแม้จะเพิ่มปัญหาตัวเหลืองขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่มีความสำคัญอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วนเมื่อโตขึ้น
- ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วนเมื่อโตขึ้น
- ช่วยให้แม่ผลิตน้ำนมได้เต็มที่เพราะหากกินอาหารเสริม จะทำให้เด็กกินนมแม่ลดลง แม่จะสร้างน้ำนมลดลง พบว่าเด็กที่เริ่มอาหารเสริมเร็วก่อน 6 เดือน มีแนวโน้มหย่านมแม่เร็วขึ้น
- ลูกมีปัญหาการกินน้อยกว่ากลุ่มที่เริ่มอาหารเสริมก่อน 6 เดือนเพราะลูกมีความพร้อมมากกว่า อย่าเชื่อคำขู่ว่า ถ้าไม่เริ่มเร็ว ๆ ลูกจะกินข้าวยาก เพราะเริ่มเร็วเริ่มช้ากว่า 6 เดือน ก็มีปัญหากินข้าวยากได้ทั้ง 2 กลุ่ม กินนมแม่หรือนมผง ก็เจอปัญหากินข้าวยากทั้ง 2 กลุ่ม และข้อเท็จจริง คือ กลุ่มที่เริ่มเร็วกว่า 6 เดือน (เพราะน้ำย่อยและการเคลื่อนไหวของลำไส้ยังไม่พร้อม) และ กลุ่มนมผง (เพราะเด็กนมแม่ รสชาตินมแม่จะแปรเปลี่ยนไปตามอาหารที่แม่กิน จึงทำให้เด็กคุ้นเคยกับรสชาติอาหารมากกว่า แต่นมผง รสชาติจะคงเดิมตลอด) จะมีปัญหากินข้าวยากมากกว่าค่ะ
เพื่อความปลอดภัยของคนที่เรารัก อย่าลืมเริ่มต้นการป้อนอาหารทารก หลังจากที่ลูกมีอายุครบ 6 เดือน ด้วยความปรารถนาดีจากทีมงานทุกคน
ขอบคุณที่มา: Motherly, คุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ และ แพทย์หญิงอรพร ดํารงวงศ์ศิริ
อ่านบทความอื่นที่น่าสนใจ คลิก!!
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่