√ การเลือกปลาแซลมอน
ข้อมูลเพิ่มเติม : สำหรับข่าวที่มีการพูดถึงฟาร์มเลี้ยงปลาแซลมอนนั้น ที่จะมีการให้อาหารเลี้ยงปลาแซลมอน ซึ่งก็จะมีผลต่อสีของปลาแซลมอนเช่นกัน แต่ไม่ใช่ยาหรือสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ เจ้าของเฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant ได้พูดถึงเรื่องการย้อมสีปลาแซลมอนไว้ว่า จะไปบอกว่าปลาแซลมอนเลี้ยงมันถูกย้อมสี ก็ไม่ถูก มันแค่อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาแซลมอน ซึ่งก็คล้ายๆ กับอาหารสัตว์น้ำอื่นๆ ไม่ได้ใส่สารอะไรที่อันตราย
อย่างกรณีที่มีข่าวปลาแซลทอนมีสาร astaxanthin และ canthaxanthin ที่พูดถึงนั้น ก็คือกลุ่มสารต้านอนุมูลอิสระ แคโรทีนอยด์ อย่างที่เรากินในแครอท ฟักทอง สารพวกนี้สกัดมาจากสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในธรรมชาติ (สาหร่าย ยีสต์ เปลือกกุ้งปู) ซึ่งมีส่วนช่วยทำให้เนื้อของปลามีสีส้มมากขึ้น และไม่ได้ก่อมะเร็งหรือเป็นอันตรายต่อการบริโภค
อย่างไรก็ดีในการเลือกปลาแซลมอน ควรเลือกที่บรรจุในถุงสุญญากาศและผ่านการแช่แข็งมาที่อุณหภูมิ -20 °C อย่างน้อย 7 วัน หรือแช่แข็งมาที่อุณหภูมิ -35 °C อย่างน้อย 12 ชั่วโมงขึ้นไป และต้องมีวันที่ผลิตและหมดอายุติดไว้ชัดเจน ที่สำคัญไม่ควรทานปลาแซลมอนที่ไม่ได้ผ่านการแช่แข็งและบรรจุในถุงสุญญากาศ เพราะจะทำให้เชื้อโรคเข้าไปได้ง่ายกว่าแบบแรก
นอกจากนี้ยังมีข่าวว่ามีการนำปลาชนิดอื่นๆ มาย้อมสีเป็นปลาแซลมอน ซึ่งจะพบเห็นได้จากตลาดนัดหรือร้านอาหารราคาถูก ดังนั้น ถ้าจะให้ชัวร์ ไม่ว่าจะทานอาหารอะไร ก็ควรจะเลือกร้านที่มีความน่าเชื่อถือ ดูสะอาด และปลอดภัย มากกว่าจะเลือกที่ราคาถูก เพราะยิ่งถูกจนเกินไปก็ยิ่งอาจเป็นอันตรายได้นะคะ
เมื่อทราบถึงประโยชน์และวิธีการเลือกซื้อปลาแซลมอนแล้ว คุณแม่ก็เตรียมตัวเข้าครัว เปิดเตา ตั้งกระทะ พร้อมโชว์ฝีมือปรุงอาหารเพื่อบำรุงสมองให้ลูกน้อยกันได้เลยค่ะ
วัตถุดิบและส่วนผสม ของ “ข้าวผัดปลาแซลมอน” เมนูบำรุงสมองลูกน้อย
วัตถุดิบและส่วนผสม |
ปริมาณตวง |
ข้าวสวยหุงสุก |
1 ถ้วย |
ไข่ไก่ |
1 ฟอง |
ปลาแซลมอนหั่นสี่เหลี่ยมเล็ก |
¼ ถ้วย |
แครอทต้มสุก หั่นสี่เหลี่ยมเล็ก |
1 ช้อนโต๊ะ |
หอมหัวใหญ่สับหยาบ |
2 ช้อนโต๊ะ |
ก้านคะน้าหั่นสี่เหลี่ยมเล็กลวกสุก |
1 ช้อนโต๊ะ |
ซีอิ๊วขาว |
1 ช้อนชา |
น้ำตาลทราย |
1 ช้อนโต๊ะ |
น้ำมันพืช |
1 ช้อนโต๊ะ |
ชมคลิป >> “ขั้นตอนการทำ “ข้าวผัดปลาแซลมอน” เมนูบำรุงสมองลูกน้อย” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่