เมนู อาหารเช้าสำหรับเด็ก ทานก่อนไปเรียน ได้รับสารอาหารเพียบ
7 เมนู อาหารเช้าสำหรับเด็ก
กรมอนามัยได้มีข้อแนะนำเมนูอาหารเช้าที่เหมาะสม ทำได้ง่าย ถูกหลักโภชนาการ ดังต่อไปนี้
ชุดที่ 1
- ข้าวสวย
- ฟักทองผัดไข่
- แตงโม
ในฟักทองมีแคโรทีนสูงและการผัดยังมีน้ำมันที่ช่วยในการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและเปลี่ยนเป็นวิตามินเอที่ช่วยบำรุงสายตาได้ดี ในไข่แดงอุดมไปด้วยลูทีนและซีแซนทีนที่ช่วยชะลอการเสื่อมของจอประสาทตา (อ่าน เผยสุดยอด วิธีเลือกแตงโม ให้ลูก เนื้อหวานอร่อย แบบไม่ต้องผ่า)
ชุดที่ 2
- ข้าวสวย
- ต้มเลือดหมู ใส่หมูสับ ตับหมู ใบตำลึง
- ส้ม
เมนูนี้อุดมด้วยธาตุเหล็กจากเลือดและตับหมู ช่วยป้องกันโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก เมื่อกินคู่กับผลไม้สดที่มีวิตามินซีจะช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กได้ดียิ่งขึ้น
ชุดที่ 3
- ข้าวไรซ์เบอรี่
- ตับไก่ผัดหน่อไม้ฝรั่ง
- มะละกอสุก
จุดเด่นของเมนูนี้คือมีโฟเลทสูง ช่วยป้องกันภาวะโลหิตจาง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอุปสรรคของการเจริญเติบโต และการเรียนรู้ของเด็กวัยเรียน
ชุดที่ 4
- แซนวิชโฮลวีท อกไก่ ไข่ดาว
- สลัดผัก
- กล้วย
เป็นเมนูทำง่ายและสะดวกในการกินระหว่างเดินทาง ซึ่งอุดมด้วยวิตามินบี ซึ่งหากเด็กวัยเรียนได้รับอาหารกลุ่มนี้อย่างเพียงพอและกินอาหารครบ 5 หมู่ จะส่งผลให้ร่างกายเจริญเติบโตดี (อ่าน เฉลยวิธีเลือก กล้วยน้ำว้า แบบไหนดีกว่ากัน ลูกได้ประโยชน์เต็มๆ)
ชุดที่ 5
- ข้าวสวย
- ผัดคะน้าใส่หมู
- นม
เป็นอีกเมนูหนึ่งที่เหมาะกับวัยเรียน เพราะแคลเซียมจากนมและผักใบเขียว เช่น คะน้า บร็อคโคลี ตำลึง จะช่วยในการสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง (อ่าน รีวิวดี! เพื่อลูกน้อย… เทียบสารอาหารในนมวัวแท้ 100% ยี่ห้อไหนดี มีประโยชน์ที่สุด!)
ชุดที่ 6
- ข้าวผัดทะเล
- น้ำซุปหัวไชเท้า
- แอปเปิ้ล
อาหารทะเลและเครื่องปรุงรสที่เป็นแหล่งของไอโอดีนในเมนูนี้ มีส่วนช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของสมองและระบบประสาท ซึ่งส่งผลต่อระดับสติปัญญาและการเรียนรู้ของเด็กในช่วงวัยเรียน
ชุดที่ 7
- ข้าวต้มปลาทู
- สับปะรด
- นม
อุดมด้วยกรดไขมันที่จำเป็นสำหรับร่างกาย นอกจากปลาทูที่หาได้ง่ายแล้ว อาจใช้ปลาทะเลอื่น ๆ เช่น ปลาเก๋า ปลาสำลี หรือปลาน้ำจืด เช่น ปลาช่อน ปลานิล ที่มีโอเมก้า 3 สูงมีประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบประสาทและสมอง ลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
จะสังเกตได้ว่าเมนู อาหารเช้าสำหรับเด็ก ที่แนะนำมานี้ สามารถทำเตรียมไว้ในช่วงเย็นไว้ก่อน ตอนเช้าเพียงแค่นำออกมาอุ่นทานได้ทันที แม่พริมาเองก็ใช้วิธีนี้ในการเตรียมอาหารให้ลูกน้อย โดยจะจัดอาหารเป็นชุดในจานไว้และห่อพลาสติกให้เรียบร้อย นำเข้าตู้เย็น พอตอนเช้าก็นำมาอุ่นและนำไปทานบนรถ การทำเช่นนี้จะทำให้เด็ก ๆ ไม่พลาดมื้อเช้าที่เป็นมื้อสำคัญ และยังไปโรงเรียนไม่สายอีกด้วยนะคะ
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
โจ๊ก อาหารยอดนิยม ที่อาจทำให้ลูกขาดอาหาร
บำรุงสมองลูกน้อย ด้วย “อาหาร” ตั้งแต่แรกเกิด-3 ขวบ
กพฐ. ดันนโยบาย “เด็กไทยว่ายน้ำเป็น” ให้สอนว่ายน้ำทุกโรงเรียน
ทำความเข้าใจ เด็กไม่กินผัก และวิธีฝึกลูกกินผักที่ได้ผลดี ไม่ต้องบังคับ
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณะสุข
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่