เพราะการเคี้ยวอาหารเป็นทักษะที่ต้องอาศัยประสบการณ์และจะให้เหมาะและฝึกง่าย ควรฝึกก่อน 1 ขวบแต่หลังจากนั้นก็ยังฝึกได้ค่ะขอเพียงอดทนและให้เวลามากหน่อยค่ะ และเพื่อลดความกังวลของคุณแม่ลง ลองมาดูกันว่าจากคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ คุณแม่จะสามารถทำอะไรได้บ้างดีกว่าไหมค่ะ
คำแนะนำจากคุณหมอเพื่อให้คุณแม่ช่วยฝึกให้ลูกเคี้ยวอาหาร
1. เข้าใจ การที่ลูกไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้นั้นไม่ใช่ความผิดของเขา แต่เกิดจากลูกไม่เคยได้รับการฝึกมาก่อนช่วงแรกของการฝึกหากลูกยังไม่ยอมเคี้ยวหรือบ้วนทิ้งนั่นก็เพราะอาจจะไม่คุ้นกับรสสัมผัสแบบใหม่หรือเขาไม่ชอบเคี้ยว ดังนั้นช่วงแรกๆ ควรจัดอาหารชนิดเดิมประมาณ 3-4 วันเพื่อให้ลูกคุ้นเคยก่อนแล้วค่อยๆเปลี่ยนชนิดอาหาร เช่น ปกติลูกกินแต่โจ๊ก คุณแม่ก็ค่อยๆ เปลี่ยนเป็นข้าวต้มกับเนื้อสัตว์เพียงชนิดเดียวก่อน แล้วเปลี่ยนชนิดของเนื้อสัตว์ จนลูกคุ้นกับข้าวต้มจึงค่อยเปลี่ยนเป็นข้าวสวยตามลำดับ
2. ให้มีส่วนร่วม ลูกในวัยนี้เริ่มทำอะไรได้ด้วยตัวเองได้แล้ว และบอกความต้องการของตัวเองได้บ้าง เขาควรได้โอกาสมีส่วนร่วมในกิจวัตรประจำวันของเขา ลองคิดดู…พอถึงเวลากินข้าวก็จับเขานั่งบนเก้าอี้แล้วเอาแต่ป้อนให้เสร็จๆ ไป เรื่องกินสำหรับลูกช่างไม่น่าสนุกเอาเสียเลย…คุณว่าไหม….ลองเปลี่ยนเป็นชวนลูกไปเลือกจานชาม ถือช้อนเอง ตักกับข้าวบ้าง ต้องเลอะเทอะและเหนื่อยเก็บเช็ดกันบ้าง แต่แลกกับลูกรู้สึกดีกับการกิน และไม่ต้องเสียน้ำตากันเวลากินข้าว…ไม่คุ้มหรือ??
3. ให้กำลังใจ ในการฝึกไม่ว่าเรื่องใดๆ การให้กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญที่สุด แม้ว่าในระยะแรก ลูกจะกินได้น้อย ทำหกบ้างสำลักบ้าง การทำท่าตกใจหรือดุลูก เขาอาจไม่ทำอีกหรือยิ่งร้องไห้หนักให้หัวเสียกันไปหมอ คำพูดให้กำลังใจใช้ได้เสมอ เช่น “ไม่เป็นไร ลองใหม่นะ” “คำนี้เล็กหน่อย เคี้ยวได้แน่” และเมื่อลูกเริ่มกินได้ก็อย่าขาดคำชมค่ะ “อะ…เคี้ยวแล้ว ทำได้นี่เรา เห็นแล้วชื่นใจ” บอกความรู้สึกว่าเขาทำให้คุณดีใจขนาดไหน เพื่อเพิ่มความมั่นใจและเป็นกำลังใจให้แก่เจ้าตัวเล็ก
4. หักดิบ วิธีนี้อาจจะโหดไปหน่อย แต่เหมาะสำหรับคุณแม่ที่ใจแข็งพอ จัดเมนูที่เนื้ออาหารเป็นชิ้น เป็นคำ หยาบขึ้นทุกมื้อไปเลยค่ะ และถ้าลูกไม่กินหรือเอาแต่อมลูกเดียวก็ไม่ต้องป้อนต่อ เก็บอาหารเมื่อถึงเวลา โดยไม่มีอาหารว่าง ของกินเล่น รอเสิร์ฟมื้อต่อไป (คุณแม่รู้หรือไม่ว่าเจ้าตัวน้อยสามารถอดอาหารได้นานถึง 2 วันเชียวนะ) เชื่อว่าถ้าเขาหิวและไม่มีตัวเลือกอื่นจะไม่ยอมกิน ไม่ยอมเคี้ยวได้อย่างไร
5. ปรึกษาคุณหมอ ถ้าลูกของคุณผ่านการฝึกมาสักระยะหนึ่งแล้วแต่ก็ยังไม่ยอมเคี้ยวสักที แถมมีอาการสำลักทุกครั้งที่คุณป้อนอาหารหยาบ หรือมีน้ำหนักตัวน้อยกว่ามาตรฐาน แบบนี้แนะนำให้พาลูกไปหาคุณหมอเพื่อหาสาเหตุอื่นๆ ดีกว่าค่ะ
ผลเสียของการไม่ ฝึกให้ลูกเคี้ยวอาหาร
- ขาดสารอาหาร ⇒ หลังอายุ 6 เดือนไปแล้ว ร่างกายของลูกต้องการสารอาหารและพลังงานมากขึ้น น้ำนมเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย หากลูกยังไม่ยอมเคี้ยวอาหาร หรือเคี้ยวไม่เป็น จะทำให้ลูกขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งจะส่งโดยตรงต่อพัฒนาการด้านร่างกายและสมองของลูก
- ระบบขับถ่ายไม่ปกติ ⇒ การที่ลูกกินแต่อาหารเหลวตลอดเวลาทำให้ร่างกายไม่ได้รับกากใยอาหาร ซึ่งจะมีผลต่อระบบขับถ่าย ทำให้ระบบขับถ่ายผิดปกติ เกิดอาการท้องผูก ซึ่งหากปล่อยไว้นานๆ ก็อาจจะทำให้เป็นริดสีดวงทวารตามมาได้ นอกจากนี้เด็กที่ขาดทักษะในการเคี้ยว ทำให้เคี้ยวอาหารไม่ละเอียดก่อนกลืน ทำให้กระเพาะต้องทำงานหนัก ส่งผลให้ระบบย่อยมีปัญหาตามมา
- พัฒนาการการพูดช้าลง ⇒ การบดเคี้ยวอาหารจะช่วยให้ขากรรไกร ลิ้น และ กระพุ้งแก้ม ซึ่งเป็นอวัยวะที่ใช้ในการเปล่งเสียงมีความแข็งแรง หากลูกไม่ได้ฝึกการบดเคี้ยว จะทำให้อวัยวะเหล่านั้นไม่แข็งแรง ซึ่งจะส่งผลต่อพัฒนาการด้านการ พูดของลูก
- เบื่ออาหาร ⇒ ไม่กล้าลิ้มลองอาหารใหม่ๆ เพราะไม่อยากเคี้ยว เมื่อลูกกินแต่อาหารเดิมๆ ซ้ำๆ จะทำให้ลูกเบื่ออาหาร ในที่สุดแม้แต่อาหารเหลวลูกก็ไม่ต้องการ
ทำไมลูกจึงเคี้ยวบ้างไม่เคี้ยวบ้าง?
เด็กส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่าอาหารชนิดไหนกลืนได้เลย หรือชนิดไหนต้องเคี้ยวให้ละเอียดก่อน หากป้อนเข้าไปพร้อมๆ กันมีโอกาสที่เด็กจะกลืนเข้าไปเลยแล้วทำให้อาเจียนได้
ดังนั้นคุณแม่ควรช่วยบอกลูกอยู่ข้างๆ ยกตัวอย่างเช่น หากป้อนเต้าหู้นิ่มพร้อมกับหมูสับ ลูกอาจจะอาเจียน เพราะเขาเห็นว่าเป็นเต้าหู้ก็รีบกลืนไปเลย ไม่ทันระวังหมูที่ป้อนมาพร้อมกัน แต่ถ้าป้อนหมูสับอย่างเดียวแล้วเตือนเขาว่า “หมูนะลูก ต้องเคี้ยวก่อนนะคะ” เขาก็จะเคี้ยวแล้วกลืนได้โดยไม่มีปัญหา
ดังนั้นแล้วเพื่อช่วย ฝึกให้ลูกเคี้ยวอาหาร เชฟแม่หมีจึงมีสูตรดีเมนูเด็ดมาแนะนำ กับ “ต้มจืดลูกเงาะ” เป็นเมนูที่จะช่วยให้ลูกน้อยได้ฝึกการเคี้ยวเนื้อสัตว์ และผัก ว่าแต่จะมีส่วนผสมและวิธีทำจะเป็นอย่างไรบ้าง ตามไปดูกันเลยค่ะ
ชมคลิป >> “ขั้นตอนการทำ ต้มจืดลูกเงาะ เมนูดีช่วย ฝึกให้ลูกเคี้ยวอาหาร” คลิกหน้า 3
ขอบคุณข้อมูลจาก : baby.haijai.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่