คัมภีร์ ตารางอาหารตามวัย สำหรับลูกน้อยในวัยขวบปีแรก - amarinbabyandkids
ตารางอาหารตามวัย

คัมภีร์ “ตารางอาหารตามวัย” สำหรับลูกน้อยในวัยขวบปีแรก

event
ตารางอาหารตามวัย
ตารางอาหารตามวัย

ตารางอาหารตามวัย

 หลักการให้อาหารลูกทารกในขวบปีแรก

ตารางอาหารตามวัย

√ ข้อควรรู้สำหรับพ่อแม่ ในการเตรียมอาหารให้ลูกน้อย

อย่างไรก็ดีอัตราการเจริญเติบโตของเด็กในขวบปีที่ 2 จะลดลง ความอยากอาหารก็ลดลงด้วย (เด็กอายุ 1 ปีจะมีน้ำหนักประมาณ 3 เท่าของน้ำหนักตอนแรกเกิด แต่กว่าน้ำหนักจะเป็น 4 เท่าอาจถึงอายุ 2 ปี)

ซึ่งถึงแม้ว่าจะดูเหมือนว่าลูกกินน้อย แต่ถ้าน้ำหนักของลูกขึ้นตามปกติ ถือว่าไม่มีปัญหา เช่น อาหารหลักของเด็กวัย 1 ปีขึ้นไป คือ ข้าว อาหาร 5 หมู่ ไม่ใช่นม ส่วนใหญ่เด็กที่กินแต่นม เช่น 8 ออนซ์ 5-6 มื้อ ไม่ค่อยกินข้าว น้ำหนักมักไม่ขึ้น บางคนน้ำหนักอาจตกเกณฑ์ได้ จึงควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ไม่ควรกินอาหารบางหมู่มากเกินไป เช่น กินแต่ผลไม้ ไม่กินข้าว

ทั้งนี้พัฒนาการของเด็กวัย 1-2 ปี จะต้องการความเป็นอิสระ และเป็นตัวของตัวเอง ถ้าถูกควบคุม บังคับ โดยเฉพาะเรื่องการกิน เด็กอาจต่อต้าน ในลักษณะปฏิเสธอาหาร ปัญหาการกินขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ความคาดหวังของพ่อแม่ ไม่เข้ากับความต้องการ หรือพื้นฐานอารมณ์ของเด็ก

ตารางอาหารตามวัย

สัญญาณของการเริ่มมีปัญหาการกินในเด็ก

  • อมข้าว
  • บ้วนคายอาหารทิ้ง
  • หงุดหงิด ร้องไห้งอแง เมื่อถึงเวลากินอาหาร
  • เล่นอาหาร ไม่ยอมกิน
  • ใช้เวลาในการกินอาหารนานผิดปกติ เช่น ใช้เวลากินอาหารเป็นชั่วโมง

ข้อควรปฏิบัติในเด็กที่มีปัญหาการกิน

  • ถ้าให้นมมากเกินไป ต้องลดนมลง ในเด็กที่มีปัญหาการกินมาก ๆ อาจต้องจำกัดนมไม่ให้เกิน 16 ออนซ์ต่อวัน หรือเท่ากับนม 8 ออนซ์ 2 มื้อ ซึ่งถ้าจำเป็นมักทิ้งมือนมไว้ก่อนนอนกลางวัน และก่อนนอนกลางคืน นมมือกลางคืนอาจขวางอาหารมือเช้า ควรงดนมช่วงกลางคืน โดยเฉพาะนมช่วงเช้ามืด ควรเลิกนมขวดเมื่ออายุ 1 ปี หรือก่อน 2 ปี เด็กที่ดูดขวดนม หลับคาปากจะทำให้ฟันผุ มีปัญหาเกี่ยวกับอาหารตามมา
  • ทิ้งช่วงห่างระหว่างมื้ออาหาร (นมกับข้าว) อย่างน้อย 4 ชั่วโมง ควรทำตารางเวลาการให้อาหารไว้ เพื่อสะดวกในการประเมินความเหมาะสมของอาหาร และระยะห่างของอาหารแต่ละมื้อ
  • งดอาหารหวานทุกชนิด เช่น ขนมถุง ขนมซอง ไอศครีม น้ำอัดลม น้ำหวาน ทอฟฟี่ ชอคโกแลต
  • เวลากินอาหารควรเป็นบรรยากาศสบาย ๆ ไม่ควรคาดหวังเข้มงวด หรือทำให้เด็กรู้สึกเครียด
  • ไม่ควรวิพากษ์ วิจารณ์ ปริมาณอาหารที่เด็กกิน
  • ไม่ควรดุว่า ลงโทษ แสดงอารมณ์โกรธ ไม่พอใจ หรือพูดให้เด็กรู้สึกผิด
  • ฝึกให้เด็กช่วยเหลือตัวเองในการกิน เช่น เด็กอายุ 1 ปีเริ่มจะตักข้าวกินเองได้ โดยยอมให้หกเลอะได้ ไม่ควรป้อน หรือพยายามบังคับให้เด็กกิน หาอาหารซึ่งเด็กสามารถใช้มือหยิบจับกินเองได้สะดวก เช่น น่องไก่ ข้าวเหนียวปั้น เด็กจะรู้สึกสนุกกับการกินมากขึ้น
  • ตักอาหารน้อย ๆ ในถ้วยหรือจานสำหรับเด็ก ถ้าไม่พอจึงค่อยเติม
  • ถ้าเด็กไม่กิน หรือเล่นอาหารให้เก็บอาหาร โดยไม่ให้นม หรือขนมอีกเลยจนกว่าจะถึงอาหารมื้อใหม่
  • ถ้าเด็กหิวก่อนอนุญาตให้กินอาหารเดิม คือมื้อที่เด็กปฏิเสธไป โดยอาจนำมาอุ่นใหม่
  • ถ้ามื้อนี้กินน้อย มื้อหน้าเด็กจะกินมากขึ้น
  • กินพร้อมผู้ใหญ่จะช่วยกระตุ้นให้เด็กอยากอาหาร

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : multimedia.anamai.moph.go.th , www.si.mahidol.ac.th , www.inmu.mahidol.ac.th , www.bangkokhealth.com

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up