ไข่จุ๊บ อันตราย! ลูกเสี่ยงกินเชื้อโรคเข้าร่างกาย เกิดอาหารเป็นพิษ - Amarin Baby & Kids
ไข่จุ๊บ

ไข่จุ๊บ อันตราย! ลูกเสี่ยงกินเชื้อโรคเข้าร่างกาย เกิดอาหารเป็นพิษ

event
ไข่จุ๊บ
ไข่จุ๊บ

#อย่าหาทำ #อย่าหาซื้อ #อย่าหากิน ไข่จุ๊บ เทรนด์ตามกระแส เมนูอันตราย! พ่อแม่อย่าให้ลูกกินเด็ดขาดเสี่ยงรับเชื้อโรคเข้าร่างกาย ป่วยหนัก และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้!

ไข่จุ๊บ คืออะไร อันตรายแค่ไหน อยากกิน ไข่จุ๊บ

เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่กำลังถูกพูดถึงอยู่ตอนนี้ เมื่อผู้ใช้ TIKTOK ท่านหนึ่งได้โพสต์คลิป เมนูหน้าตาแปลก ที่เป็นลักษณะเหมือนไข่ดาว แล้วมีเปลือกไข่วางอยู่ด้านบน ซึ่งหลายคนรู้จักกันในชื่อ ไข่จุ๊บ โดยคลิปนี้มียอดคนดูถึง 3 ล้านวิว เป็นเมนูลับที่มีขายตามร้านขายขนมโตเกียวและโรตี และมีผู้ทำตามอีกมากมาย

ไข่จุ๊บ
หน้าตา ไข่จุ๊บ

ไข่จุ๊บ คืออะไร

ไข่จุ๊บ คือเมนูไข่คล้ายๆ ไข่ดาว โดยมีขั้นตอนการทำดังนี้

  1. เจาะไข่ไก่เพื่อเอาไข่ขาวออกมา และลงกระทะ
  2. อย่าให้ไข่แดงหลุดออกมาจากไข่ เสร็จแล้ว เอาเปลือกไข่ไก่ไปวางบนไข่ขาว บางครั้งก็เป็นไข่นกกระทา
  3. หลังจากนั้นให้นำมาการีนที่ทำโรตีมาละลายน้ำมัน และเทลงไปในไข่ และใส่ซอสแมกกี้ พริกไทย
  4. ก่อนเสิร์ฟปักหลอดลงไป ไข่แดงจะไม่สุก ใช้หลอดดูดกิน

ขอบคุณคลิปจาก chumsaeng saengchai

ซึ่งหากดูจากวิธีการทำข้างต้นแล้ว ก็มีชาวเน็ตสงสัยว่าพ่อค้าแม่ค้าได้ล้างเปลือกไข่ก่อนหรือเปล่า? ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญได้ระบุว่า ไข่ไก่ อาจจะมี “เชื้อซาลโมเนลลา” (Salmonella) ปนเปื้อนอยู่ เป็นเชื้อก่อโรคที่พบการแพร่ระบาด เข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป เช่น ผักสด เนื้อไก่ ไข่ นม ปลา และอาหารทะเลที่ไม่ได้ผ่านความร้อนอย่างเพียงพอ รวมไปถึงอาหารสุกๆดิบๆ ไม่ว่าจะเป็นแหนม ลาบ ย า ปูเค็ม ปูดอง ซึ่งอาการจะเกิดขึ้นหลังจากบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนแล้วประมาณ 6-48 ชั่วโมง

>> อาการโดยทั่วไปของผู้ได้รับเชื้อ คือ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ปวดศีรษะ ปวดท้อง มีไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย โดยความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นนั้น จะแตกต่างไปตามปริมาณเชื้อ ชนิดของเชื้อและความต้านทานของผู้บริโภค

การป้องกันโรคท้องร่วง จากอาหารเป็นพิษ หรืออาหารที่ปะปนเชื้อโรค

♦ หมั่นตัดเล็บให้สั้น ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่บ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำ

ล้างผักผลไม้ให้สะอาด โดยล้างผ่านน้ำหลายๆครั้ง หรือแช่ในน้ำเกลือ หรือแช่ในน้ำละลายด่างทับทิมหรือน้ำผสมเบกกิ้งโซดา

♦ ล้างภาชนะให้สะอาดทุกครั้ง เช่น เขียง มีด ช้อน ส้อม ถ้วย จาน แก้วน้ำ และควรใช้ช้อนกลางทุกครั้งในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น

♦ รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆและผ่านการปรุงที่ถูกต้องปลอดภัย ถ้าจำเป็นต้องนำมารับประทานอีกควรทำให้ร้อนจึงจะปลอดภัย โดยมีวิธีสังเกตง่ายๆคือ ถ้าน้ าเดือดปุดๆ คืออุณหภูมิถึง 100 องศาเซลเซียส

♦ ควรเลือกวัตถุดิบที่ถูกสุขลักษณะ เลือกผักผลไม้ที่สดและสะอาด ใช้เวลาในการเลือกให้พิถีพิถันขึ้นเพื่อให้ได้ของที่มีคุณภาพดีที่สุด

♦ ต้องแยกอาหารที่เป็นวัตถุดิบและอาหารที่ปรุงสุกแล้ว เพราะเนื้อสัตว์ดิบอาจจะปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียมา อาหารที่ปรุงสุกควรใส่ภาชนะที่ปิดสนิท ไม่ควรวางปะปนกัน

♦ ไม่ควรรับประทานอาหารที่ปรุงทิ้งไว้เพราะอาหารอาจบูดเน่าก่อนที่เราจะนำมารับประทาน

♦ เก็บอาหารไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิ4 องศาเซลเซียส และควรอุ่นอาหารที่เก็บไว้ในตู้เย็นก่อนนำมารับประทานทุกครั้ง

การรักษาและดูแล เด็กที่ป่วยโรคท้องร่วง

  1. ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ ให้จิบทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง เพื่อป้องกันการขาดน้ำและเกลือแร่หากผู้ป่วยเป็นเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีควรให้ดื่มครั้งละ 1/4-1/2 แก้ว โดยใช้ช้อนค่อยๆป้อนที่ละ 1 ช้อนชา ทุก 1-2 นาทีไม่ควรให้ดูดจากขวดนมเพราะเด็กจะดูดกินอย่างรวดเร็วเนื่องจากกระหายน้ำ ซึ่งจะทำให้ร่างกายดูดซึมไม่ทันและอาจทำให้อาเจียนและถ่ายมาก แต่ไม่จำเป็นต้องอดอาหารหรือนม เด็กที่ดื่มนมผสม อาจผสมนมให้เข้มข้นเหมือนเดิมแต่ลดปริมาณลง และให้สลับกับสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ หากผู้ป่วยเป็นเด็กอายุมากกว่า 2 ปีควรให้ดื่มครั้งละ 1/2-1 แก้ว ให้จิบทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง เมื่ออาการดี ขึ้นจึงให้หยุดดื่มสารละลายน้ าตาลเกลือแร่ และให้กินอาหารอ่อน ย่อยง่าย ซึ่งจะทำให้ลำไส้ฟื้นตัวเร็ว
เคล็ดไม่ลับ ถ้าไม่มีสารละลายนำตาลเกลือแร่ สามารถทำเองได้ดังนี้ ผสม น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ เกลือป่นครึ่งช้อนชา น้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว ใส่ลงในแก้ว คนให้ละลายและเข้ากันดีถ้าดื่มไม่หมดภายใน 24 ชั่วโมงให้ทิ้งไป แล้วผสมใหม่
  1. หากมีอาการผิดปกติควรรีบนำส่งโรงพยาบาล เช่น ถ่ายหรืออาเจียนไม่หยุดมากกว่า 4 ครั้ง หิวน้ำตลอดเวลา หรือปัสสาวะไม่ออกเนื่องจากขาดน้ำมาก หน้ามืด ช็อกหรือหมดสติ มีไข้ ปวดท้องรุนแรง
  2. ขับถ่ายในสุขภัณฑ์ที่ถูกสุขลักษณะ รวมถึงกำจัดอาเจียนของผู้ป่วย โดยเททิ้งลงโถส้วม ราดน้ำให้สะอาด จากนั้นควรล้างมือให้สะอาดเสมอทุกครั้งด้วยน้ำและสบู่เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด
  3. สิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วยรักษาให้สะอาดเสมอ ซึ่งรวมถึงเสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าเช็ดตัว ทำการซักให้สะอาดและนำออกตากแดดเพื่อฆ่าเชื้อโรคด้วย
  4. ผู้ดูแลใกล้ชิดผู้ป่วยควรหมั่นล้างมือ ฟอกสบู่ให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อเป็นการป้องกันเชื้อปนเปื้อนจากมือสู่อาหารและเกิดการติดโรคได้

ที่สำคัญ หากท้องเสียอย่าซื้อยาฆ่าเชื้อ หรือ ยาหยุดถ่ายมากินเอง เพราะการขับถ่ายเป็นกระบวนการขับของเสียออกจากร่างกาย การรับประทานยาหยุดถ่ายจะทำให้ลำไส้ทำงานน้อยลง ซึ่งจะส่งผลให้แบคทีเรียเจริญเติบโตเข้าสู่กระแสเลือด อาจถึงแก่ชีวิตได้ค่ะ

ทั้งนี้สำหรับเรื่องคำเตือน การกินไข่จุ๊บ ถือเป็นหนึ่งในเรื่องของ HQ  หนึ่งใน 10 ของ Power BQ (Power Baby & Kids Quotients) อาวุธที่ช่วยให้ลูกฉลาดรอบด้าน เพราะเด็กยุคนี้มีแค่ IQ และ EQ นั้นไม่เพียงพออีกต่อไป แต่ยังมี Quotient ต่างๆ ถึง 10Q นั่นคือ “10 ความฉลาด” ที่คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมให้ลูกได้ครบไปพร้อมกันนั่นเอง ทั้งนี้ HQ หรือ Health Quotient  คือ ความฉลาดในการดูแลรักษาสุขภาพ ซึ่งคนที่มี HQ ดี จะรู้จักดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดีเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง เช่น กินอาหารที่ดี ครบ 5 หมู่ ขับถ่ายดี ได้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ดูแลรักษาความสะอาดร่างกายของตัวเอง ฯลฯ สำหรับเด็กเล็กเราอาจจะยังไม่เห็นพัฒนาการด้านนี้ชัดเจน แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มปลูกฝังและใส่ใจเรื่องสุขภาพ การดูแลร่างกายในการทำกิจวัตรประจำวันได้ทุกวัน เพื่อให้ลูกซึมซับและดูแลใส่ใจสุขภาพตัวเอง ซึ่งก็จะเป็นการสร้าง HQ ที่ดีในตัวลูกได้ ยิ่งในปัจจุบันโรคภัยไข้เจ็บมีเยอะขึ้น โรคใหม่ๆ แปลกๆ เชื้อโรคที่พัฒนาขึ้นจาก สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง และมลภาวะต่างๆ เราจึงต้องสอนให้ลูกของเราฉลาดใส่ใจดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และมีภูมิคุ้มกันต่อโรคภัยต่างๆ รอบตัว เพราะการไม่มีโรค คือลาภอันประเสริฐนั่นเองค่ะ

อ้างอิง www.klanghospital.go.th

1.http//:www.thediarrhea.blogspot.com

2.http//:wwwv.phbma.com/connt

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก ⇓

20 อาหารอันตรายช่วงหน้าร้อน แม่ลูกต้องระวัง

7 โรคในฤดูร้อน 3 ภัยจากอากาศร้อน ที่เด็กเล็กต้องระวัง!!

3 มาตราการป้องกัน โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในเด็ก

อาหารเป็นพิษ โรคหน้าร้อน ที่ทุกครอบครัวต้องระวัง

โรคท้องร่วง ช่วงหน้าร้อน เด็กเล็กควรระวัง!

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up