การทานอาหารอย่างถูกวิธี ช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพดี ป้องกันโรคได้หลายโรค รวมถึงโรคมะเร็งอีกด้วย เคล็ดลับในการทาน อาหารต้านมะเร็ง นั้นทำได้ไม่ยาก ดังนี้
8 วิธีทาน “อาหารต้านมะเร็ง” กินอย่างไรให้ห่างไกลโรค?
มะเร็ง คือ ภาวะสุขภาพที่เซลล์ของอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกายเจริญเติบโตขึ้นอย่างผิดปกติ เรียกอีกอย่างว่าเนื้อร้าย โดยเนื้อร้ายหรือเซลล์มะเร็งสามารถลุกลาม ทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะที่เกิดเซลล์มะเร็ง ลุกลามไปยังบริเวณใกล้เคียง รวมทั้งเกิดการแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นได้ โดยมะเร็งมีหลายชนิด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งผิวหนัง มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งจะปรากฏอาการของโรคแตกต่างกันไป
อาหารก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นการเกิดเซลล์มะเร็งได้ การทานอาหารอย่างถูกวิธี และการทาน อาหารต้านมะเร็ง ช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพดี และ อาจมีหลักฐานที่ช่วยในการป้องกันมะเร็งบางชนิดได้ ซึ่งวิธีการทานอาหารที่ถูกต้องนี้ สามารถปฏิบัติได้ทุกคน แม้คนที่ไม่เป็นโรคก็ควรทำ เพราะจะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง ป้องกันโรคอื่น ๆ ได้เช่นกัน
8 วิธีทาน “อาหารต้านมะเร็ง” กินอย่างไรให้ห่างไกลโรค?
- รับประทานอาหารที่สะอาดและถูกสุขลักษณะ หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด เช่น
-
- ปลาร้าดิบที่ไม่สะอาด หรืออาหารสุก ๆ ดิบ ๆ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับและเกิดอาการอักเสบเรื้อรังส่งผลให้เป็นมะเร็งได้ ดังนั้นจึงควรปรุงอาหารเหล่านี้ให้สุกก่อนการรับประทานเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรค และควรเลือกทานอาหารที่ผ่านกรรมวิธีผลิตที่ถูกสุขอนามัย
- ถั่ว ข้าวโพด พริกแห้ง หอม กระเทียม ที่เก็บไม่ดี เพราะอาจมีเชื้อราที่สร้างสารก่อมะเร็ง เชื้อราที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารชนิดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมากที่สุดคือ เชื้อราที่ผลิตสารอะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) ซึ่งเจริญเติบโตได้ดีในอาหารที่เป็นผลผลิตทางการเกษตรที่ถูกเก็บไว้นานจนเกินไป โดยเฉพาะในที่ที่อากาศร้อนและมีความชื้นสูง หากรับประทานเข้าไปจะก่อให้เกิดการสะสมของสารอะฟลาท็อกซินที่ตับ และอาจพัฒนาเป็นมะเร็งตับในที่สุด อาหารที่เก็บไม่ดี ยังรวมถึง อาหารจำพวกนมและขนมปัง ดังนั้น ก่อนทานอาหารประเภทนี้ ควรตรวจดูให้ดีก่อนว่ามีการเก็บรักษาที่ดีพอหรือไม่ หากเก็บไว้นานจนเกินไป ก็ไม่ควรทาน
2. เน้นรับประทานผักและผลไม้ให้เพียงพอ
การทานผักและผลไม้ ไม่จำเป็นต้องทานให้ได้เยอะที่สุด หรือทานแทนหมู่อาหารประเภทอื่น ๆ แต่ควรทานให้มีปริมาณที่สมดุลกับอาหารหมู่อื่น ๆ ด้วย ตามที่สำนักงานกองทุนสนับสนุกการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ได้แนะนำสัดส่วนผักและผลไม้ที่ควรทานต่อ 1 มื้อ ว่า ในอาหาร 1 จาน ควรแบ่งออกเป็น 4 ส่วน โดยควรทานผักและผลไม้ 2 ส่วน (หรือ 50% ของอาหารจานนั้น ๆ) คาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว ขนมปัง 1 ส่วน (หรือ 25% ของอาหารจานนั้น ๆ) และ โปรตีน ซึ่งได้แก่อาหารประเภทเนื้อสัตว์ต่าง ๆ อีก 1 ส่วน (หรือ 25% ของอาหารจานนั้น ๆ)
3.รับประทานอาหารแต่พอดี ไม่มากเกินไปจนอ้วน
ไม่ควรทานอาหารให้มากเกินไป แต่เราจะรู้ได้อย่างว่าอาหารที่ทานไปนั้นพอดีกับที่ร่างกายต้องการนำไปใช้แล้ว เพราะคำว่า “พอดี” ของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน การตัดสินว่าทานให้พออิ่มไม่น่าจะสามารถนำมาวัดได้ว่าทานมากเกินไปหรือเปล่า ดังนั้นจึงมีปริมาณพลังงานที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันกำหนดไว้ ดังนี้
- พลังงาน 1600 กิโลแคลอรี – สำหรับเด็กอายุ 6-13 ปี หญิงวัยทำงาน และผู้สูงอายุ
- พลังงาน 2000 กิโลแคลอรี – สำหรับวัยรุ่น ชายวัยทำงาน
- และพลังงาน 2400 กิโลแคลอรี – สำหรับผู้ที่ใช้พลังงานมาก เช่น นักกีฬา เกษตรกร กรรมกร
เราควรทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสม โดยคำนวณจากพลังงานที่ได้รับในแต่ละมื้อว่าไม่ควรเกินจำนวนกิโลแคลอรีที่ควรได้รับในแต่ละวัน เพียงเท่านี้ ก็จะมั่นใจได้ว่าเราได้ทานอาหารที่พอดีกับที่ร่างกายต้องใช้แล้ว
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่