วิธี "หย่านม" แบบนุ่มนวล ไม่ทำร้ายจิตใจลูก - Amarin Baby & Kids
หย่านม

วิธี “หย่านม” แบบนุ่มนวล ไม่ทำร้ายจิตใจลูก

Alternative Textaccount_circle
event
หย่านม
หย่านม

ช่วงเวลาของการ หย่านม เป็นช่วงเวลาที่สร้างความหงุดหงิดใจ เสียใจ ให้กับลูกไม่น้อย เพราะสำหรับลูก นมแม่ นอกจากจะเป็นแหล่งอาหารชั้นดีแล้ว ยังเป็นสิ่งที่ช่วยปลอบขวัญเมื่อเจอกับสิ่งที่น่าตกใจ น่ากลัว น่ากังวลใจ ของลูกอีกด้วย ดังนั้น การจะพรากสิ่ง ๆ นี้ไปจากลูก ย่อมทำให้เจ้าตัวเล็กรู้สึกไม่ดีแน่ ๆ

วิธี “หย่านม” แบบนุ่มนวล ไม่ทำร้ายจิตใจลูก

การ หย่านม คือ การที่คุณแม่เปลี่ยนวิธีการทานนมแม่จากการดูดนมแม่จากเต้า ไปดูดนมแม่หรือนมผงจากขวด หรือกินอาหารอย่างอื่นแทน ซึ่งกระบวนการ หย่านม นี้ อาจต้องใช้เวลาและความอดทนเป็นอย่างมาก แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางด้านพัฒนาการของลูก การให้ลูกเลิกทานนมจากเต้า ไม่ใช่สิ่งที่ผิดแต่ประการใดค่ะ เพราะเรายังสามารถปั๊มนมแม่ให้ลูกทานจากขวดได้เช่นกัน แต่หากคุณแม่มีความจำเป็นอื่น ๆ ที่จะต้องให้ลูกทานนมผงแทนนมแม่ ควรเปลี่ยนจากนมแม่เป็นนมผง หลังจากลูกอายุ 6 เดือนขึ้นไป เพราะนมแม่ดีที่สุดสำหรับทารกและเด็กเล็ก จึงควรให้ลูกได้ทานนมแม่ไปให้นานที่สุดเท่าที่คุณแม่สบายใจ แต่ไม่ควรน้อยกว่า 6 เดือน

หย่านมแม่
หย่านมแม่ แบบแฮปปี้ ส่งผลดีกับทั้งแม่และลูก

สัญญาณที่บอกว่าลูกพร้อมหย่านมแล้ว

เด็กในวัยที่สามารถเคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหวไปมาตามที่ต้องการได้แล้ว มักจะห่วงการเล่น การเดิน การวิ่ง มากกว่าการดูดนมแม่ จึงทำให้แม่ ๆ ส่วนใหญ่ เลือกที่จะหย่านมในช่วงที่ลูกมีอายุ 1-3 ขวบ และเพราะเด็กในวัยนี้ การทานนม ไม่ได้ทานเป็นอาหารหลักแล้ว การทานนมจากเต้า จึงเป็นเพียงการทานเพื่อให้ลูกรู้สึกอบอุ่นใจมากกว่าการทานให้อิ่มท้อง อย่างไรก็ตาม นมแม่ยังเป็นอาหารเสริมที่จะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับลูกน้อย คุณแม่จึงสามารถปั๊มนมแม่ใส่ขวดให้ลูกทานต่อ แทนการนมจากเต้าได้เช่นกัน และนี่เป็นสัญญาณที่ลูกกำลังบอกคุณแม่ว่าหนูพร้อมหย่านมแล้วนะ

  • ห่วงเล่นมากกว่าการดูดนมแม่
  • ใช้เวลาในการดูดนมสั้นลง แต่กลับดูดถี่ขึ้น (แสดงว่าลูกดูดนมเพียงเพราะรู้สึกเหงาปาก)
  • ในช่วงที่ดูดนมแม่อยู่ เมื่อมีอะไรที่น่าสนใจก็ทำให้เกิดอาการวอกแวกได้ง่าย
  • เริ่มกัดหรือดึงหัวนมแม่เล่น
  • ดูดนมเพราะเหตุผลอื่น ๆ ที่ไม่ใช่หิว เช่น เมื่อรู้สึกกลัว กังวลใจ หรือ เสียใจ

หากลูกแสดงสัญญาณเหล่านี้ แสดงว่าลูกพร้อมที่จะหย่านมแล้วค่ะ แต่ไม่ได้หมายความว่าลูกจะไม่รู้สึกเสียใจเลยหากคุณแม่หย่านมนะคะ เพราะการดูดนมแม่นั้น เป็นช่วงเวลาที่ลูกจะรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัยที่สุด การจะพรากสิ่ง ๆ นี้ออกจากลูก จึงต้องเป็นไปอย่างนุ่มนวลที่สุด เพื่อให้ลูกไม่รู้สึกขาดความอบอุ่น หรือความรักจากคุณแม่นั่นเองค่ะ

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ วิธี “หย่านม” แบบนุ่มนวล ไม่ทำร้ายจิตใจลูก

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up