อาหารกลางวันสำหรับเด็ก …การรับประทานอาหารสำหรับวัยเด็กนั้นถือเป็นเรื่องที่สำคัญต่ออนาคตของพวกเขามากๆ โดยเฉพาะมื้อกลางวันที่จะช่วยให้พวกเขาสามารถมีพลังงานที่จะเรียนรู้และเล่นซนได้ตลอดทั้งวัน
อาหารกลางวันสำหรับเด็ก ของโรงเรียนในประเทศญี่ปุ่น ที่ได้ชื่อว่า มีคุณภาพดีเป็นอันดับ 1 ของโลก!
เด็กวัยเรียน เป็นวัยที่ร่างกายมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วอาหารเป็นปัจจัย สำคัญต่อโครงสร้างร่างกายสติปัญญาและสุขภาพของเด็กควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้มีความหลากหลายและเพียงพอเพื่อให้เด็กวัยเรียน สมองดีฉลาดเรียนรู้เร็ว สถานการณ์ภาวะโภชนาการวัยเรียน 2 แนวทางการอาหารกลางวันเด็กวัยเรียน เมนูอาหารจานเดียวทางเลือกมีพัฒนาการได้อย่างเหมาะสมตามวัย มีการสร้างภูมิต้านทานโรคไม่เจ็บป่วยบ่อย ร่างกายเจริญเติบโตสมส่วน และระบบต่างๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สารอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็กวัยเรียน
1. พลังงาน มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและการทำงานของเซลล์ในระบบต่างๆ เช่น ระบบหายใจ ระบบประสาท การไหลเวียนของโลหิตการรักษาอุณหภูมิของร่างกายและการทำกิจกรรมต่างๆ สารอาหารหลักที่ให้พลังงาน ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน
- คาร์โบไฮเดรต เป็นแหล่งพลังงานของสมอง ตับ และกล้ามเนื้อ แหล่งอาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรต ได้แก่อาหารประเภทข้าว-แป้ง เช่น ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง ขนมจีน เผือกมัน น้ำตาล หากกินมากเกินมีโอกาสเป็นโรคอ้วนได้
- ไขมัน เป็นแหล่งพลังงาน สร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย ช่วยการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินอี วิตามินดี และวิตามินเค แหล่งอาหารไขมัน ได้แก่ น้ำมัน กะทิเนย ไขมันสัตว์และนม ถ้าบริโภคมากเกินไปจะทำให้มีไขมันสะสมอยู่ในร่างกาย น้ำหนักเพิ่มและมีโอกาสเป็นโรคอ้วน ถ้าบริโภคไขมันน้อยเกินไป เด็กจะมีการเจริญเติบโตบกพร่อง และลดการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน
2. โปรตีน มีความสำคัญต่อการสร้างกระดูก กล้ามเนื้อ และอวัยวะต่างๆ ในร่างกายทำให้มีการเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างภูมิคุ้มกันโรคฮอร์โมน และใช้เป็นแหล่งพลังงานของร่างกายเมื่อร่างกายได้รับสารอาหาร คาร์โบไฮเดรตและไขมันไม่เพียงพอ การขาดโปรตีนทำให้เตี้ย แคระแกร็น กล้ามเนื้อลีบ ภูมิต้านทานต่ำ สติปัญญาต่ำ และเรียนรู้ช้า ซึ่งไม่สามารถแก้ไขให้กลับคืนมาเป็นปกติได้แม้ว่าจะได้รับการแก้ไขแล้วก็ตาม
- แหล่งอาหารของโปรตีน ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ นม ถั่วเมล็ดแห้ง อย่างไรก็ตาม หากได้รับพลังงานไม่เพียงพอ ร่างกายจะใช้โปรตีนให้เกิดพลังงาน แทนการนำไปใช้สร้างกล้ามเนื้อ กระดูก และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เป็นผลให้การเจริญเติบโตไม่เต็มที่แนวทางการอาหารกลางวันเด็กวัยเรียน เมนูอาหารจานเดียวทางเลือก 5
3. แคลเซียม มีความสำคัญต่อการสร้างกระดูกและฟัน เป็นผลให้มีการเจริญเติบโตและกระดูกแข็งแรง หากขาดแคลเซียมทำให้มีอาการชารอบปากปลายมือ ปลายเท้า และเป็นตะคริว การเจริญเติบโตชะงัก ความหนาแน่นของกระดูกต่ำเป็นผลให้ของกระดูกไม่แข็งแรง ถ้าขาดแคลเซียมเรื้อรังมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน
- แหล่งแคลเซียมได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์นม ปลาและสัตว์ตัวเล็กที่กินได้ทั้งกระดูก ถั่วเหลืองและเต้าหู้แข็ง ผักใบเขียวบางชนิด เช่น ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง
4. ธาตุเหล็ก มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและสมอง การสร้างเม็ดเลือดแดง และมีผลต่อความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กการเจริญเติบโตของเด็กวัยเรียนเป็นระยะที่มีการเจริญเติบโตด้วยอัตราเร่ง (growth spurt) ในระยะนี้ร่างกายจะมีการสร้างเม็ดเลือดอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ปริมาณของเลือดเพียงพอกับการขยายตัวของพลาสม่าเพื่อรักษาระดับความเข้มข้นของฮีโมโกลบินไว้ในเด็กที่ขาดธาตุเหล็กจะมีภาวะโลหิตจาง ส่งผลเสียต่อศักยภาพการเรียนรู้ทำให้เด็กไม่สามารถเรียนรู้ได้เท่ากับเด็กปกติ
- แหล่งอาหารของธาตุเหล็กได้แก่ตับ เนื้อสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะเนื้อแดง เลือดสัตว์ต่างๆ เช่น เลือดหมูเลือดไก่
5. ไอโอดีน มีความสำคัญต่อการสร้างฮอร์โมนของต่อมธัยรอยด์ ช่วยกระตุ้นระบบประสาทและสมองให้เจริญเติบโต มีผลต่อสติปัญญาและการเรียนรู้หากขาดไอโอดีนทำให้สติปัญญาบกพร่อง การเรียนรู้ช้า การเจริญเติบโตชะงัก
- ไอโอดีน พบมากในอาหารทะเลทั้งพืชและสัตว์ เช่น สาหร่ายทะเล ปลาสีกุนปลาทู ปลาสำลีกุ้งแห้ง และปัจจุบันมีการเสริมไอโอดีนในเครื่องปรุง เช่น เกลือ น้ำปลา ซอสปรุงรส และอื่นๆ โดยสามารถสังเกตจากข้อความบนสินค้า
อ่านต่อ >> “อาหารกลางวันสำหรับเด็ก ของโรงเรียนในประเทศญี่ปุ่น ที่ได้ชื่อว่า มีคุณภาพดีเป็นอันดับ 1 ของโลก” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่