6. สังกะสี เกี่ยวข้องกับการทำงานของโปรตีน ถ้าขาดจะทำให้มีภาวะเตี้ย พบมากในเนื้อสัตว์ อาหารทะเลโดยเฉพาะหอยนางรม กุ้ง ปลา ไข่นม ผลิตภัณฑ์นม และผักสีเขียวเข้ม
7. วิตามินเอ มีความสำคัญต่อการมองเห็น การเจริญเติบโตของเซลล์และระบบภูมิคุ้มกันโรค หากขาดวิตามินเอทำให้มองไม่เห็นในแสงสลัวๆ หรือที่เรียกว่า “ตาบอดกลางคืน” และถ้าขาดมากทำให้ตาบอดได้
- แหล่งของวิตามินเอ ได้แก่ ตับสัตว์ เช่น ตับหมูตับไก่ ไข่ นม ผักผลไม้ที่มีสีเขียวเข้มและเหลืองส้ม เช่น ผักตำลึง ผักกวางตุ้ง ผักบุ้ง ฟักทอง แครอท มะเขือเทศ มะม่วงสุก มะละกอสุก
8. วิตามินบี 1 ช่วยในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ถ้าขาดจะทำให้เกิดโรคเหน็บชา แหล่งอาหารของวิตามินบี1 ได้แก่ เนื้อหมูข้าวซ้อมมือ ถั่วลิสงถั่วเหลือง ถั่วดำ และงา
9. วิตามินบี 2 ช่วยในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ส่งเสริมระบบประสาท ผิวหนัง ตา และช่วยป้องกันเซลล์ถูกทำลาย ถ้าขาดทำให้เกิดอาการเจ็บคอ อักเสบที่ริมฝีปาก ลิ้นบวมแดง และมีรอยแผลแตกเป็นร่องมีสะเก็ดคลุมที่บริเวณมุมปากหรือที่เรียกว่า “ปากนกกระจอก”
- แหล่งอาหารของวิตามินบี2 ได้แก่ เนื้อสัตว์เครื่องในสัตว์ไข่ นม
10. วิตามินซี มีความสำคัญต่อระบบประสาท เพิ่มภูมิต้านทานโรคและช่วยในการดูดซึมเหล็ก ยับยั้งการสร้างสารก่อมะเร็ง ต้านอนุมูลอิสระ หากขาดวิตามินซีทำให้เบื่ออาหาร กระวนกระวาย อารมณ์แปรปรวน เกิดภาวะซึมเศร้า เลือดออกตามไรฟันหรือที่เรียกว่า “โรคลักปิดลักเปิด” แผลหายช้าการเจริญเติบโตชะงัก
- แหล่งของวิตามินซีได้แก่ ฝรั่ง มะขามป้อม มะปรางสุก ขนุนมะละกอสุก ส้มเขียวหวาน ผลไม้สดอื่นๆ รวมทั้งผักสดต่างๆ เช่น มะเขือเทศ ผักใบเขียว เป็นต้น
ปริมาณอาหารที่เรียกว่าเพียงพอ สำหรับเด็กวัย 4-6 ปี
- กลุ่มข้าว+แป้ง วันละ 5 ทัพพี
- กลุ่มผัก วันละ 3 ทัพพี
- กลุ่มผลไม้ วันละ 3 ส่วน (ผลไม้แบบผล 1 ส่วน(ส้มผลกลาง 2 ผลหรือกล้วยน้ำว้า 1 ผล,ผลไม้แบบชิ้นคำเช่นมะละกอ แตงโม สับประรด 1 ส่วน= 8 ชิ้นคำ
- กลุ่มนมวันละ 2-3 แก้ว
- กลุ่มเนื้อสัตว์ วันละ 4 ช้อนกินข้าว
- กลุ่มไขมัน น้ำมันวันละ 5 ช้อนชา (น้ำตาล,เกลือ กินได้แต่น้อย)
และแน่นอนว่าเรื่องนี้ประเทศญี่ปุ่นมองเห็นและเข้าใจถึงความสำคัญเกี่ยวกับอาหารกลางวันของเด็กวัยเรียนนี้เป็นอย่างมาก และพวกเขาก็นำมันมาอยู่ในหลักการศึกษาเบื้องต้นของเด็กๆ ด้วยเช่นกัน พวกเขาสอนให้เด็กๆ เข้าใจว่าอาหารที่มีประโยชน์จะส่งผลยังไงกับตัวเองและอาหารแต่ละมื้อมันสำคัญมากขนาดไหน
ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นวาระระดับชาติ โดยทางรัฐบาลของประเทศญี่ปุ่นจะช่วยเหลือพ่อแม่ที่มีเงินไม่มากพอจะจ่ายค่าอาหารให้กับลูกๆ โดยการให้ส่วนลดหรือให้อาหารแก่เด็ก ๆ ฟรี เพราะพวกเขาเห็นว่า สุขภาพของเด็กๆ ต้องมาก่อนเสมอ เด็กทุกคนต้องอิ่มท้องในทุกมื้อ
โดย Masahiro Oji ผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษาด้านสุขภาพของโรงเรียนบอกกับ Washington Post เมื่อปี 2013 ว่า “จากมุมมองของญี่ปุ่น อาหารกลางวันของโรงเรียน นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา”
แล้วอาหารมื้อกลางวันในโรงเรียนประถมของประเทศญี่ปุ่นกันดีกว่าค่ะว่าจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร ตามไปดูกันเลยค่ะ…
อ่านต่อ >> “อาหารกลางวันสำหรับเด็ก ของโรงเรียนในประเทศญี่ปุ่น ที่ได้ชื่อว่า มีคุณภาพดีเป็นอันดับ 1 ของโลก” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่