ซึ่งมื้อกลางวันในโรงเรียนประถมของประเทศญี่ปุ่น ถือว่าเป็นช่วงเวลาอันศักดิ์สิทธิ์ โดยจะไม่มีการเร่งให้เด็กๆ ต้องรีบกินแต่อย่างใด แต่จะปล่อยให้พวกเขาได้อิ่มเอมกับมื้ออาหารแสนพิเศษของพวกเขาอย่างมีความสุข
ทางโรงเรียนจะปล่อยให้เด็กๆ จะเสิร์ฟอาหารกันเอง เพื่อช่วยสอนให้เด็กๆ รู้จักพึ่งพาตัวเองได้ และในหลายโรงเรียนก็จะไม่มีภารโรงคอยช่วยเหลือพวกเขา
ข้าวถือว่าเป็นหนึ่งในเมนูหลักมาหลายยุคสมัย
โดยเมนูส่วนใหญ่ก็จะประกอบด้วยข้าว ซุปมิโสะ ผัดผักกับหมู ปลาแห้ง และก็นม นอกจากนั้นยังมีตัวเลือกอื่นๆ อีกมากมาย แต่จะเห็นได้ว่าเมนูหลักๆ ก็ยังเป็น นม ผัก และข้าวไม่เปลี่ยนแปลง และก็มีผลไม้ก็เป็นสิ่งสำคัญ จึงไม่แปลกที่บางเมนูจะมีผลไม้ติดมาด้วย
มื้ออาหารจากโรงเรียนประถม Jinego
จากโรงเรียนเดียวกัน แต่ว่าเป็นอีกหนึ่งเมนูทางเลือก แน่นอนว่าผัก-ผลไม้ ก็ยังเป็นอะไรที่ขาดไปไม่ได้เลย
ถัดจากโรงเรียนประถม Jinego เป็นโรงเรียนมัธยมต้น Yashima ซึ่งเมนูก็ยังคงเป็นข้าว หมู และผัก แต่ที่เปลี่ยนไปก็คือมีโยเกิร์ตเลม่อนเพิ่มเข้ามา
ซึ่งนอกจากวัฒนธรรมความเป็นอยู่ที่น่าสนใจ อันเป็นที่เลื่องชื่อแล้ว ญี่ปุ่นยังเป็นประเทศที่ออกแบบสภาพแวดล้อม วิธีการเรียนรู้ และปลูกฝังแนวคิดที่ดีให้กับเด็กๆ โดยเฉพาะเรื่องอาหารก็เช่นกัน ที่ชาวญี่ปุ่นให้ความสำคัญ ไม่แช่คำนึงถึงคุณค่าที่ได้รับจากการกินเท่านั้น แต่ทางโรงเรียนยังฝึกสอนเด็กๆ ในเรื่องความรับผิดชอบ ให้เด็กนักเรียนผลัดเปลี่ยนกันทำหน้าที่ดูแลมื้ออาหารกลางวันในชั้นเรียน เช่น จัดเตรียมอาหาร ทำความสะอาดภาชนะ และการทำความสะอาดโรงเรียน เพื่อเป็นการออกกำลังกายและย่อยอาหารที่เด็กๆ เพิ่งกินเข้าไป เมื่อระบบการจัดการดี ปัญหาสุขภาวะเรื่องสุขภาพของเด็กๆ ก็พบได้น้อยในประเทศนี้
ด้วยเหตุนี้ผลลัพธ์ที่ออกมามันจึงเป็นอะไรที่น่าพึงพอใจ แต่ไม่ใช่เพียงเพราะให้เด็กๆ รู้ถึงคุณค่าของการกินอาหารแล้ว มันยังเป็นการสอนให้พวกเขาเรียนรู้ถึงความรับผิดชอบและมีพฤติกรรมการกินที่ดีต่อสุขภาพ จึงไม่แปลกใจที่ชาตินี้จะมีอายุยืนที่สุดเป็นอันต้นๆ ของโลกนั่นเอง
√ เทคนิคทำให้เด็กวัยเรียนกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ผัก และผลไม้มากขึ้น
- จัดอาหารมื้อหลักและมื้อว่างให้มีคุณค่าโภชนาการครบ 5 กลุ่มอาหารทุกวัน ได้แก่ กลุ่มข้าว-แป้ง กลุ่มเนื้อสัตว์กลุ่มผัก กลุ่มผลไม้และกลุ่มนม และให้มีความหลากหลาย เหมาะสมกับอายุและการเจริญเติบโตของเด็ก ควรแนะนำให้เด็กรู้จักเลือกรับประทานให้ครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
- จัดอาหารลด หวาน มัน เค็ม ปรุงรสให้น้อยที่สุด เท่าที่กลมกล่อมหากใช้เกลือหรือเครื่องปรุงรสอื่นๆ ควรเลือกแบบเสริมไอโอดีน
- เน้นกินอาหารจำพวกพืชผักและผลไม้สด ผักและผลไม้เป็นแหล่งวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจและสมองและมะเร็งกินผักและผลไม้ให้หลากหลายครบทั้ง 5 สีกินผักให้ได้มื้อละอย่างน้อย1 ทัพพีผลไม้มื้อละ 1 ส่วน เด็กวัยเรียนควรออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 60 นาทีทุกวัน และพักผ่อนให้เพียงพอ
อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยสร้างวัฒนธรรมการกินของเด็กให้อยู่ใน เกณฑ์ที่ถูกต้อง เน้นให้กินพืชผัก ผลไม้ อาหารปรุงเอง และโรงเรียนควร สร้างแนวคิดเรื่องสุขภาพ สร้างสภาพแวดล้อมที่ปราศจาก ขนม ของหวานและ น้ำอัดลม ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการกินต่อไปในอนาคต
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- ลูกไม่กินข้าวเช้า เสี่ยงโรคภัยรุม-สมองล้า
- ใส่ใจกับโภชนาการของลูกวัยอนุบาล
- อาหารตามช่วงวัย ตั้งแต่ทารกถึงเด็กเล็ก
ขอบคุณข้อมูลจาก : แนวทางการจัดการอาหารกลางวัน เมนูอาหารจานเดียวทางเลือก “เด็กวัยเรียน” กลุ่มพัฒนาพฤติกรรมโภชนาการ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข