1- 5 ขวบ
เด็กในช่วงวัย 1 – 3 ขวบ มีเหตุหลายอย่างที่ทำให้สนใจอาหารน้อยลง ทั้งที่อาหารยังเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตในทุกด้าน ได้แก่ กำลังมีพัฒนาการใหม่ๆ เช่น เริ่มเดินและวิ่งได้จึงอยากสำรวจไปทั่วจนลืมหิว เริ่มพูดเก่งและช่างสงสัยจึงถามไปทุกอย่างจนไม่อยากจะเคี้ยวอาหาร างรายก็จะเจอช่วงวัยต่อต้านหรือ
- วัยปฏิเสธ
ปริมาณอาหารต่อวันสำหรับวัยนี้ ได้แก่ ข้าว / แป้ง 3 ทัพพี ผัก 2 ทัพพี เนื้อสัตว์ 3 ช้อนโต๊ะ ไขมันไม่ควรเกิน 3 ช้อนชา ผลไม้ 3 ส่วน นม 2 แก้ว น้ำตาลไม่ควรเกิน 2 ช้อนชา สำหรับช่วงอายุ 4 – 5 ขวบ วัยนี้ก็มักห่วงเล่นหรือไม่ก็มักเลือกอาหาร ที่พบบ่อยก็คือ ไม่กินผัก ผลไม้ บางรายยังติดขนมกรุบกรอบ ขนมหวาน และน้ำอัดลมอีกด้วย ปริมาณอาหารต่อวันของวัยนี้ ได้แก่ ข้าว / แป้ง 5 ทัพพี ผัก 3 ทัพพี เนื้อสัตว์ 3 ช้อนโต๊ะ ไขมันไม่ควรเกิน 4 ช้อนชา ผลไม้ 3 ส่วน นม 3 แก้ว ใส่น้ำตาลได้ แต่ไม่ควรเกิน 3 ช้อนชา เติมเต็มแร่ธาตุและวิตามินด้วยเมนูนี้ - ข้าวไก่อบสายรุ้ง
ข้าวสวยขาว 3 – 4 ช้อนโต๊ะ ข้าวสวยกล้อง 3 – 4 ช้อนโต๊ะ เนื้อไก่หั่นลูกเต๋า 2 ช้อนโต๊ะ แป้งมันหรือข้าวโพด 1 ช้อนโต๊ะ ยอดข้าวโพดอ่อนลวกสุก (หั่นเป็นแว่นบาง) 2 ช้อนโต๊ะ กะหล่ำปลีม่วงลวกสุกหั่นฝอย 2 ช้อนโต๊ะ แครอทหั่นเต๋าลวกสุก 2 ช้อนโต๊ะวิธีทำ : นำข้าวมาเรียงเป็นแนวโค้งยาวๆ 3 แถบ แถบข้าวขาวล้วน แถบข้าวขาวผสมกับข้าวกล้อง และแถบข้าวกล้องล้วน
รวนเนื้อไก่ให้สุก เติมน้ำซุปเล็กน้อยแล้วปรุงรสด้วยซีอิ๊วดำ ซีอิ๊วขาว น้ำตาล (ควรปรุงรสอ่อนๆ) เติมแป้งมันละลายน้ำ ต้มต่อให้ข้นเล็กน้อย (ถ้าต้องการให้เนื้อไก่เปื่อยนุ่มอาจหมักไว้ก่อนด้วยน้ำสับปะรด) จากนั้นตักแต่เฉพาะเนื้อไก่มาเรียงเป็นแถวขนานต่อจากข้าว ผักต่างๆ ที่เตรียมไว้นำมาเรียงเป็นแถบ แถบละชนิด เมื่อจัดเสร็จจะได้ลักษณะแถบสี 7 แถบ จากนั้นนำน้ำราดที่เหลือไว้มาราดให้ทั่วข้าวกล้องให้วิตามินหลายชนิด (และมีวิตามินบี 1 สูงกว่าข้าวขาวถึงสี่เท่า) ส่วนผักหลากสี ก็ให้เบต้าแคโรทีนและสารสีในผักซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระได้ด้วย
วิตามินบี 1, 2, 6, 12 บี 1 ช่วยในการย่อยอาหาร ส่งเสริมให้คาร์โบไฮเดรตทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ กี่ยวข้องกับระบบประสาทและการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ
บี 2 ช่วยการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และกรดแอมิโน ช่วยซ่อมแซมเยื่อบุช่องปากและผิวหนัง ถ้าขาดจะมีอาการที่เรียกว่าปากนกกระจอก
บี 6 ช่วยการทำงานของระบบประสาท ช่วยให้ผมดำเงางาม
บี 12 ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง
วิตามินเอ (เบต้าแคโรทีน)การขาดวิตามินเอทำให้เกิดโรคตาบอดกลางคืนหรือมองเห็นไม่ชัดในที่มีแสงสลัว ยังส่งผลต่อกระดูก กระดูกอ่อน และฟัน ทำให้มีการเจริญเติบโตช้า ภูมิคุ้มกันลดลงโดยเฉพาะเม็ดเลือดขาวที่ผิวหนัง ผนังลำไส้และผนังหลอดลมจะติดเชื้อได้ง่าย ทำให้สุขภาพอ่อนแอ