5. ฝึกให้กินอาหารเป็นเวลา
การที่พ่อแม่ให้ลูกทานอาหารเป็นเวลา สม่ำเสมอ และควรให้ลูกกินพร้อมๆ กับทุกคนในครอบครัว เพื่อเป็นแบบอย่างและสร้างบรรยากาศการกินอาหารให้ลูก
6. ขณะมื้ออาหารไม่ดูทีวี
เมื่อถึงเวลาของมื้ออาหาร พ่อแม่ต้องตัดสิ่งรบกวนการกินของลูก คือ ไม่เปิดทีวี หรือให้ลูกเล่นของเล่นไปด้วยในขณะที่นั่งทานข้าว เพราจะทำให้เด็กไม่สนใจอาหารที่อยู่ตรงหน้า ทำให้กินช้า อมข้าวและอิ่มเร็วโดยที่กินไปได้นิดเดียว
7. ให้นั่งกินอาหารบนเก้าอี้
การฝึกให้ลูกรู้ว่าหากถึงเวลาทานอาหารของทุกคนในบ้าน จะต้องนั่งทานที่โต๊ะอาหารเท่านั้น และต้องทานให้เสร็จเรียบร้อยอิ่มแล้วถึงจะออกจากโต๊ะทานข้าวได้ พ่อแม่ไม่ควรเดินตามป้อนข้าวให้ลูกเด็ดขาด
8. ทำบรรยากาศขณะมื้ออาหารให้ผ่อนคลาย
ช่วงเวลาคุณภาพของครอบครัวอีกช่วงเวลาหนึ่งก็คือการที่ทุกคนได้ทานข้าวพร้อมหน้าพร้อมตากัน ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันในทุกเรื่อง การสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะบนโต๊อาหารจะช่วยทำให้บรรยากาศในการทานข้าวเป็นที่น่าจดจำสำหรับเด็ก แต่ไม่ควรใช้ช่วงเวลาทานข้าวมาดุด่ากัน เพราะจะทำให้ทุกคนบนโต๊ะอาหารตึงเครียดเกินไป และลูกก็จะไม่ชอบการทานข้าวในบรรยากาศที่ดูไม่มีความสุข
9. เปิดโอกาสให้เด็กช่วยเหลือตัวเอง
ในเด็กอายุน้อยกว่า 3 ขวบ พ่อแม่ควรปล่อยให้ลูกได้มีโอกาสถือหรือหยิบอาหารเข้าปากด้วยตัวเองบ้าง ถึงแม้จะเลอะเทอะไปบ้างก็ต้องยอม ส่วนเด็กที่อยู่ในช่วงวัย 4 ขวบ ส่วนใหญ่จะสามารถตักอาหารเข้าปากได้ด้วยตัวเอง พ่อแม่ควรปล่อยให้ลูกตักอาหารเข้าปากเอง
10. สังเกตชนิดและลักษณะอาหารที่เด็กชอบ
การทำอาหารให้ลูกทาน พ่อแม่ควรต้องศึกษาและสังเกตพฤติกรรมการกินของลูกด้วยว่า เขาชอบ ไม่ชอบทานอะไร เพื่อที่จะได้นำมาปรับเปลี่ยนเมนูอาหารปรุงรสชาติให้ถูกปากลูกมากยิ่งขึ้น
11. กำหนดระยะเวลามื้ออาหารประมาณ 30 – 45 นาที
เมื่อถึงเวลาที่คุณแม่จะต้องเก็บอาหาร เก็บจานบนโต๊ะทานข้าวของทุกคน เพราะทานอิ่มกันหมดแล้ว แต่ลูกจะยังกินไม่หมดหรือกินได้น้อย ก็ไม่ต้องรอให้ลูกกินต่อ ให้คุณแม่เก็บจานอาหารของลูกได้ทันที โดยไม่ต้องวิตกกังวลหรือโกรธที่ลูกยังทานไม่เสร็จ และระหว่างนี้ให้งดของหวาน ขนม หรืออาหารว่างต่างๆ เพื่อที่เมื่อถึงมื้ออาหารถัดไป ลูกจะได้หิวมากๆ ซึ่งความหิวจะช่วยกระตุ้นให้ลูกเจริญอาหาร8
การปรับพฤติกรรม ลูกไม่ยอมกินข้าว ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่พ่อแม่จะทำไม่ได้ เพียงแค่ขอให้สังเกตว่า ลูกไม่ยอมกินข้าว ด้วยสาเหตุใด จากนั้นก็นำมาปรับแก้ไข เพื่อให้ทั้งลูกและพ่อแม่เองมีความสุขในช่วงเวลาการทานอาหารด้วยกัน ผู้เขียนขอเป็นกำลังใจคุณพ่อคุณแม่ทุกครอบครัวสามารถที่จะผ่านพ้นปัญหานี้ไปให้ได้ แล้วอย่าลืมนำวิธีแก้ไขจากคุณหมอไปปรับใช้แก้ไขปัญหาลูกไม่กินข้าวกันนะคะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใยค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก!
หมอแนะ! 4 เทคนิค ฝึกลูกกินข้าวเก่ง
แก้ปัญหาโลกแตก ลูกกินข้าวยาก ลูกกินข้าวน้อย กันดีกว่า!
ทำไงดี ลูกกินข้าวที่บ้าน แต่ไม่ยอมกินที่โรงเรียน
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
1,2,3,4,5,6,7,8ผศ.นพ.ชาตรี วิฑูรชาติ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. เมื่อลูกน้อยไม่กินข้าว. si.mahidol