2. ปัจจัยภายในร่างกาย
มีอยู่ 3 ตัวแปรสำคัญภายในร่างกายที่มีผลต่อความสูงของเด็กๆ นั่นคือ
- โกรทฮอร์โมน (Human Growth Hormone – HGH) ช่วยในการเจริญเติบโตซึ่งสำคัญที่สุดในการเพิ่มความสูง
- ไทรอยด์ (Thyroid Gland)โดยเฉพาะฮอร์โมนไทร็อกซิน (Thyroxin) ทำหน้าที่กระตุ้นให้กระดูกมีพัฒนาการที่ดี ถ้าขาดฮอร์โมนนี้อาจทำให้มีรูปร่างเตี้ย และไม่สมส่วนได้
- ฮอร์โมนเพศ เอสโตรเจน Estrogen (ฮอร์โมนเพศหญิง) และเทสโทสเตอโรน Testosterone (ฮอร์โมนเพศชาย) มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโต โดยเฉพาะช่วงที่เริ่มเป็นหนุ่มเป็นสาว เพราะไปกระตุ้นการหลั่งของโกรทฮอร์โมนให้เพิ่มมากขึ้น และกระตุ้นให้กระดูกยืดยาว
3. การออกกำลังกาย
การเพิ่มความสูงจะต้องใช้กีฬาหรือกิจกรรมที่มีความโลดโผนและกระโดด เช่น บาสเกตบอล กระโดดไกล โหนบาร์ ฯลฯ ทั้งนี้เพราะกระดูกจะไม่เหมือนกับอวัยวะอื่น ๆ ต้องมีแรงกระแทกจึงจะทำให้กระดูกยืดตัวขึ้นนอกจากนั้นเด็กที่อายุน้อยกว่า 20 ปี ไม่ควรจะเล่นกล้าม หรือเล่นกีฬาที่หนัก ๆ เช่น ว่ายน้ำ หรือเทนนิส ฯลฯ เพราะจะทำให้สรีระหรือแขนขาไม่เท่ากัน ควรเล่นแต่พอดี อย่าหักโหมเกินไป หรือใช้แขนขาในการเล่นให้เท่า ๆ กันทั้ง 2 ข้าง
4. อาหารและโภชนาการ
การได้รับสารอาหารที่เหมาะสมตามแต่ละช่วงวัยครบถ้วน 5 หมู่ มาตั้งแต่ตอนเล็กๆ จะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการการเจริญเติบโตที่สมวัย และนอกจากการทานอาหารครบหมู่แล้ว คุณแม่ควรต้องส่งเสริมเพิ่มเติมให้ลูกได้ทานอาหารที่มีแคลเซียม หรือผักแคลเซียมสูงอย่างสม่ำเสมอให้กับลูกน้อยด้วย เพราะแคลเซียมสามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของกระดูกได้ดี
ความต้องการปริมาณแคลเซียมในแต่ละวัน
อายุ ช่วง 1-3 ปี 500 มิลลิกรัม
อายุ ช่วง 4-8 ปี 800 มิลลิกรัม
อายุช่วง 9-18 ปี 1,000 – 1,200 มิลลิกรัม
อายุช่วง 19-50 ปี 800 – 1,200 มิลลิกรัม
อายุมากกว่า 50 ปี 1,000 มิลลิกรัม
ซึ่งวิธีเสริมแคลเซียมให้กระดูกของลูกน้อยที่คุณพ่อคุณแม่นิยม ก็คือ วิธีเพิ่มความสูงด้วยการดื่มนม โดยมีการศึกษาวิจัยในต่างประเทศหลายแห่งพบว่า การดื่มนมนั้นมีความสัมพันธ์กับความสูงของเด็ก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นปริมาณแคลเซียมในนม
นมสดรสจืด 1 กล่อง ที่มีขนาด 200 มิลลิลิตร จะมีแคลเซียมอยู่เพียง 226 มิลลิกรัม ซึ่งก็อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ
จึงจำเป็นที่ลูกน้อยต้องดื่มจากนมให้ได้ถึงวันละ 3 กล่องเป็นอย่างน้อย โดยการเลือก นมควรเป็นนมสดธรรมดา ส่วนเด็กที่มีน้ำหนักเกินวัย ก็ให้เลือกนมพร่องมันเนยได้ สำหรับนมที่เสริมแคลเซียมนั้นถือว่าไม่จำเป็น เพราะร่างกายจะดูดซึมนมสดธรรมดาได้ดีที่สุด
แต่ถ้าเด็กคนไหนแพ้นมวัว หรือไม่ชอบกินนมวัว ก็สามารถเลือกรับประทานอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมได้จากแหล่งอาหารอื่นๆ นอกเหนือจาก นมวัว ดังนั้น ทางทีมงาน Amarin Baby & Kids จึงมี 8 ผักแคลเซียมสูง มาแนะนำ ให้คุณพ่อคุณแม่ไปหามาให้ลูกน้อยรับประทานกัน ว่าแต่จะมี ผักแคลเซียมสูง หรือ ผักกินแล้วสูง ชนิดใดบ้าง ตามมาดูกันเลย