เลือกกิน

ปัญหาลูก เลือกกิน ต้องแก้ไขอย่างไร?

Alternative Textaccount_circle
event
เลือกกิน
เลือกกิน

เลือกกิน หรือกินยากนี่เข้าข่ายเดียวกันค่ะ ปัญหานี้มักเกิดขึ้นเมื่อลูกเข้าสู่ช่วงวัยเตาะแตะ พอ 1 ขวบ นั่นก็ไม่เอา นี่ก็ไม่กิน พ่อแม่ก็นั่งเครียดถอนหายใจไปซิ ว่าเอ๊ะ!! ทำไมลูกเราไม่เห็นเหมือนช่วงก่อนหน้านี้ ที่ทำอะไรให้กินก็กินได้หมด เห็นทีจะปล่อยลูกเป็นแบบนี้ต่อไปไม่ได้แล้ว ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีคำแนะนำในการแก้ไขพฤติกรรมลูกเลือกกินมาฝากค่ะ

 

เลือกกิน กินยาก เป็นเพราะอะไร?

ที่บ้านผู้เขียนก็เจอกับปัญหาลูก เลือกกิน กินยาก ไม่ต่างจากอีกหลายครอบครัวค่ะ หลานชายวัย 1.3 ขวบ ที่ก่อนหน้านี้เป็นเด็กค่อนข้างไม่ปฏิเสธอาหาร แม่ทำเมนูอะไรให้กินก็กินได้ไม่เคยบ่ายเบี่ยงว่าจะไม่กิน กินครบทุกมื้อ  ถึงแม้ว่าบางมื้ออาจจะทานข้าวไม่หมดจานก็ไม่ว่ากัน เพราะเราถือคติที่ว่าเด็กกินได้แค่ไหนแค่นั้น อิ่มแล้วจะหยุดกินๆ ก็จะไม่ทำโทษ แต่ตอนนี้ไม่เหมือนกับช่วงก่อนวัย 1 ขวบ เพราะหลานชายเริ่มมีข้อต่อรอง และเลือกกินแต่เมนูที่เป็นของโปรดซะส่วนใหญ่ ถ้าวันไหนไม่มีเมนูที่ชอบ แม่นี่ต้องถึงขั้นบังคับให้ทานข้าวกันเลยค่ะ ถามว่าบังคับแล้วได้อะไร “หลานทานข้าวเคล้าน้ำตา” และแลดูไม่ค่อยมีความสุขกับช่วงเวลามื้ออาหารสักเท่าไหร่ คือพ่อแม่ก็ดีใจที่ทำให้ลูกกินข้าวได้ เพราะถ้าลูกไม่กินข้าวเดี๋ยวจะขาดสารอาหาร ผอมแห้ง หัวโต!!

แต่จากประสบการณ์ครั้งนี้ทำให้ได้ข้อสรุปอย่างหนึ่งว่า การบังคับ ยัดเยียดให้กินแต่เมนูอาหารที่คิดว่าดีต่อร่างกายลูกมากไป แทนที่ลูกจะทานข้าวได้หมดจานอย่างค่อยเป็นค่อยไปและมีความสุขในการกิน กลับกลายเป็นว่ายิ่งไปสร้างทัศนคติไม่ดีในเรื่องการกินให้กับลูกแทน

มีผลการศึกษาของทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยดุค  ในสหรัฐอเมริกา ระบุว่า เด็กๆ ที่เลือกกินอาหาร หรือกินอาหารยาก จะส่งผลต่อการเกิดปัญหาทางสุขภาพจิตเมื่อโตขึ้น แม้แต่เด็กที่เลือกกินในระดับปานกลาง ก็อาจกลายเป็นคนมีอาการซึมเศร้า กระวนกระวาย มีปัญหาเรื่องสมาธิ เรื่อยไปจนถึงอาการกระตือรือร้นผิดปกติ หรือไฮเปอร์แอ๊กทีฟ[1]

บทความแนะนำ คลิก>> 11 เทคนิคแก้ปัญหา ลูกกินยาก อมข้าว

ช่วงตั้งแต่ขวบปีแรกขึ้นไป  เป็นช่วงเปลี่ยนแปลงทั้งพัฒนาการด้านร่างกาย และพัฒนาการการเรียนรู้  เด็กๆ เริ่มที่จะเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น รู้ึสึกชอบ และปฏิเสธเป็น นั่นจึงไม่แปลกว่าทำไมเด็กๆ ถึงเริ่มที่จะเลือกกินแต่ในสิ่งที่ตัวเองชอบ ซึ่งอาหารโปรดของพวกเขาในช่วงวัยนี้มีอยู่ไม่กี่อย่างที่ทำให้รู้สึกว่าอยากกินแต่ซ้ำๆ เช่น ไข่เจียว ไก่ทอด ข้าวผัด หมูทอด ดื่มแต่นม กินแต่ขนมปัง ฯลฯ อย่างเด็กบางคนอาจกินแต่เมนูเดิมซ้ำๆ เกือบจะทุกมื้อก็มีค่ะ ซึ่งตรงนี้จำเป็นอย่างมากที่พ่อแม่จะต้องฝึกหัดให้ลูกได้ทานอาหารในเมนูอื่นๆ บ้าง โดยที่นำเอาวัตถุดิบที่ลูกชอบมาดัดแปลงเป็นเมนูที่หลากหลายมากขึ้น จากนั้นก็ค่อยๆ ให้ลูกได้ลองชิมเมนูอื่นที่มีวัตถุดิบต่างออกไป หากยังนึกไม่ออกว่าจะทำอย่างไร มาลองดูคำแนะนำจากคุณหมอกันค่ะ

อ่านต่อ 4 วิธีแก้ปัญหาลูกเลือกกิน หน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up