อันตรายจากไส้กรอก ที่แพทย์ห้ามให้เด็กกิน - amarinbabyandkids
อันตรายจากไส้กรอก

อันตรายจากไส้กรอก ที่แพทย์ห้ามให้เด็กกิน

Alternative Textaccount_circle
event
อันตรายจากไส้กรอก
อันตรายจากไส้กรอก

อันตรายจากไส้กรอก อาหารเช้า หรืออาหารว่างตอนบ่ายๆ ไม่ว่าจะเด็ก หรือผู้ใหญ่ ก็มักจบลงที่ไส้กรอกทอดจิ้มซอสมะเขือเทศ ไส้กรอกเป็นอาหารที่ทานง่าย อร่อย และเป็นหนึ่งในเมนูสุดโปรดของเด็กๆ แต่ก่อนที่คุณแม่จะให้ลูกทานไส้กรอกกันมากเกินไปกว่านี้  ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีคำเตือนถึงโทษจากการทานไส้กรอกมาให้ได้ทราบกันค่ะ

 

อันตรายจากไส้กรอก – ไส้กรอกทำมาจากอะไร?

ไส้กรอกเป็นหนึ่งในวิธีถนอมอาหาร โดยใช้เนื้อสัตว์บดละเอียดผสมกับเกลือและเครื่องเทศ บรรจุลงในไส้  วัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตไส้กรอก ได้แก่ เนื้อสัตว์ เกลือแกง ไขมัน เกลือไนเตรต์ เครื่องเทศ และเครื่องปรุงรส โดยเนื้อสัตว์ที่นำมาใช้ในการผลิตไส้กรอกจะต้องมีความสามารถในการรวมตัวกับน้ำได้สูง โดยมีแอคติน และไมโอซิน ทำหน้าที่ให้น้ำและไขมันในเนื้อสัตว์สามารถรวมตัวกันได้ เกลือนอกจากจะทำหน้าที่ให้รสชาติแล้วยังทำหน้าที่สกัดโปรตีนจำพวก แอคตินและไมโอซิน ออกจากกล้ามเนื้อของสัตว์ ทำให้ไส้กรอกที่ได้มีเนื้อสัมผัสที่นุ่มและชุ่มฉ่ำและให้กลิ่น และรสชาติที่คงตัว เกลือไนเตรต (KNO3, NaNO3) ทำให้ไส้กรอกเกิดสีและกลิ่นที่คงตัว และป้องกันไม่ให้ไส้กรอกเกิดการเน่าเสียจาก แบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการหายใจ1

 

พอจะรู้จักที่มาที่ไปของไส้กรอกกันแล้วใช่ไหมคะ  แต่มีอยู่ส่วนผสมหนึ่งในการผลิตไส้กรอกที่ถูกกำหนดให้ใช้ในปริมาณสัดส่วนที่เหมาะสมเท่านั้น นั่นก็คือไนเตรต์ โทษของไนเตรต์คือ เมื่อเด็กๆ หรือทุกคนที่รักในการทานไส้กรอกทานมากเกินไป อาจทำให้ได้รับสารพิษสะสมในร่างกาย ไนเตรต์ที่อยู่ในอาหารมากเกินไปจะทำให้เป็นพิษต่อร่างกาย เนื่องจากสารประกอบไนเตรต์ เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดจะไปทำปฏิกิริยาออกซิไดซ์กับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือด ทำให้เม็ดเลือดแดงนั้นหมดสภาพ ไม่สามารถทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนได้ และยังก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ด้วย

อันตรายจากไส้กรอก
Credit Photo : shutterstock

อันตรายจากไส้กรอก ที่แพทย์ห้ามให้เด็กกิน!!

กระทรวงสาธารณสุขอนุญาตให้ใช้โซเดียมไนไตรต์หรือโปแตสเซียมไนไตรต์ในไส้กรอกและกุนเชียงได้โดยกำหนดปริมาณสูงสุด ต้องไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม อย่างไรก็ตามในปีพ.ศ. 2555 จากรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของกระทรวงสาธาณสุข พบว่ามีโซเดียมไนไตรต์ในปริมาณที่เกินกำหนดในไส้กรอกและกุนเชียง ถึงร้อยละ 16.4 และ 8.9 ของจำนวนตัวอย่างที่ถูกสุ่มตรวจ ตามลำดับ และตรวจพบการเจือปนของโซเดียมไนไตรต์ในแหนม ไก่ทอด หมูยอ ปลาเค็ม และปลาเค็มตากแห้งหวาน ทั้งที่ไม่อนุญาตให้มีการใช้ไนไตรต์ในผลิตภัณฑ์อาหารดังกล่าว

 

ในเดือนมีนาคม-เมษายน พ.ศ. 2558 ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้สุ่มตัวอย่างไส้กรอก แฮม และโบโลน่า จำนวนทั้งหมด 13 ตัวอย่าง ที่มีจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อทั่วไปและซุปเปอร์มาร์เก็ต มาตรวจวิเคราะห์ปริมาณโซเดียมไนไตรต์ด้วยวิธี Modified AOAC official method 973.31 ซึ่งสรุปผลการตรวจวิเคราะห์ ได้ดังนี้ คือ ตรวจพบว่ามีไนไตรต์ในทุกตัวอย่างและมีปริมาณโซเดียมไนไตรต์ที่ตรวจพบอยู่ในเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ (ไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ผลการวิเคราะห์แสดงในตารางที่ 1

 

อันตรายจากไส้กรอก

อ่านต่อ >> “ผลกระทบต่อสุขภาพ เมื่อทานไส้กรอกมากเกินไป” หน้า 2

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up