โปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการ

โปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการ เช็กน้ำหนักส่วนสูง ความสมส่วนของลูก

event
โปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการ
โปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการ

โปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการ

ตัวชี้วัดที่ใช้ในการประเมินการเจริญเติบโตของเด็ก

มี 3 ตัวชี้วัด คือ

น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ

น้ำหนักเป็นผลรวมของกล้ามเนื้อ ไขมัน น้ำและกระดูก น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ เป็นดัชนีบ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ ของการเจริญเติบโตของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นตามอายุของเด็ก เป็นดัชนีที่นิยมใช้แพร่หลายในการประเมิน ภาวะการขาดโปรตีนและพลังงาน และภาวะโภชนาการเกินสำหรับเด็กเล็กซึ่งมีความลำบากในการวัดความยาว การขาดอาหารในระยะแรกนั้น น้ำหนักจะลดลงก่อนที่จะเกิดการชะงักการเพิ่มส่วนสูง

โปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการ

ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ

ความยาวหรือส่วนสูงที่สัมพันธ์กับอายุเป็นดัชนีบ่งชี้ภาวะโภชนาการที่เกิด ขึ้นอย่างต่อเนื่องยาวนานในอดีต ถ้าเด็กได้รับอาหารไม่เพียงพอเป็นเวลานาน (ซึ่งความพร่องของส่วนสูงนี้เริ่มได้ตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์มารดา) และหรือมีการเจ็บป่วยบ่อยๆ มีผลให้อัตราการเจริญเติบโตของโครงสร้างของกระดูกเป็นไปอย่างเชื่องช้าหรือ ชะงักงัน ทำให้เป็นเด็กตัวเตี้ย (Stunting) กว่าเด็กที่เป็นเกณฑ์อ้างอิงซึ่งมีอายุเดียวกัน ดังนั้นส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ จึงเป็นดัชนีบ่งชี้ภาวะการขาดโปรตีนและพลังงาน แบบเรื้อรังมาเป็นระยะเวลานาน ทำให้มีความพร่องของการเจริญเติบโต ด้านโครงสร้างส่วนสูงทีละเล็กละน้อย ถ้าไม่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขก็จะสะสมความพร่องจนตกเกณฑ์ ดังนั้น อัตราของเด็กตัวเตี้ยจะเริ่มประกฎชัดและมากขึ้นในช่วงอายุ 2-3 ปีขึ้นไป

น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง

เนื่องจากน้ำหนักเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วกว่าส่วนสูง ถ้าเด็กได้รับอาหารไม่เพียงพอจะมีน้ำหนักลดลง มีภาวะผอม ดังนั้น น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงจึงเป็นดัชนีบ่งชี้ที่ไวในการสะท้อนภาวะโภชนาการใน ปัจจุบันที่ใช้ประเมินภาวะโภชนาการได้ แม้ไม่ทราบอายุที่แท้จริง และอิทธิพลจากเชื้อชาติมีผลกระทบน้อย ภาวะซูบผอมจะเริ่มพบได้มากที่สุดในระยะหลังหย่านม (12-24 เดือน) หากการเตรียมอาหารเสริมที่จะใช้ในช่วงปรับเปลี่ยนลักษณะอาหารจากของเหลว คือ นม มาสู่อาหารปกติ ในช่วงระยะดังกล่าวไม่เหมาะสมตามวัย และเป็นดัชนีบ่งชี้ภาวะโภชนาการเกิน (ภาวะอ้วน) ที่ใช้กันอยู่ในสากล

โดย ในเด็กอายุ 0-2 ปี จะเป็นการนอนวัดความสูง เรียกว่า วัดความยาว และ ในเด็กอายุมากกว่า 2 ปี จะเป็นการยืนวัดความสูงเรียกว่า วัดส่วนสูง เมื่อชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูงแล้ว นำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

การชั่งน้ำหนัก-วัดส่วนสูง ของลูกน้อย

การชั่งน้ำหนัก

เครื่องชั่งน้ำหนักเด็กเล็ก ควรมีตัวเลขที่ละเอียดถึง 100 กรัม หรือแบ่งย่อยเป็น 10 ขีดใน 1 กิโลกรัม ถ้าเป็นเด็กวัยเรียน อาจมีความละเอียด 500 กรัมหรือ 2 ขีดใน 1 กิโลกรัม และก่อนชั่งน้ำหนักเด็ก ควรตั้งค่าเครื่องชั่งให้อยู่ที่เลขศูนย์และทดสอบมาตรฐาน เครื่องชั่งโดยการนำลูกตุ้มน้ำหนักมาตรฐาน หรือสิ่งของที่รู้น้ำหนักมาวางบนเครื่องชั่ง เพื่อ ดูว่าน้ำหนักได้ตามน้ำหนักลูกตุ้มหรือสิ่งของนั้นหรือไม่ จุดประสงค์ของการชั่งน้ำหนัก ต้องการบันทึกน้ำหนักตัวของเด็กที่แท้จริง ดังนั้น จึงควรให้เด็กใส่เสื้อผ้าน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และไม่ให้เด็กถือสิ่งของอื่นใด โดยมีข้อแนะนำในการชั่งน้ำหนักเด็ก ดังนี้

  1. ควรชั่งน้ำหนักเด็กก่อนรับประทานอาหาร
  2. ควรถอดเสื้อผ้าที่หนาๆ ออกให้เหลือเท่าที่จำเป็น รวมทั้งรองเท้า ถุงเท้า ของเล่น
  3. ควรใช้เครื่องชั่งเดิมทุกครั้งในการติดตามการเจริญเติบโต
  4. ถ้าเป็นเครื่องชั่งแบบยืน เวลาอ่านน้ำหนักผู้ที่ทำการชั่งน้ำหนักจะต้องอยู่ในตำแหน่งตรงกันข้ามกับเด็ก ไม่ควรอยู่ด้านข้าง เพราะจะทำให้อ่านผิดพลาดได้ อ่านค่าให้ละเอียดถึง 0.1 กิโลกรัม เช่น 9.3 กิโลกรัม

การวัดส่วนสูง

วัตถุประสงค์ของการวัดส่วนสูงก็เช่นเดียวกันกับการชั่งน้ำหนัก เพื่อต้องการทราบส่วนสูงที่แท้จริงของเด็ก ดังนั้นในการวัดส่วนสูง จึงต้องมีการจัดการเพื่อให้ได้ส่วนสูงที่แท้จริงดังนี้

⇒ เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี การวัดเด็กให้อยู่ในท่านอนเรียกว่า วัดความยาว ซึ่งควรมีผู้วัด 2 คน โดยคนหนึ่งดูแลด้านศีรษะและลำตัวให้ตรง ส่วนอีกคนหนี่งดูแลเข่าให้เหยียดตรง และเคลื่อนไม้ฉากเข้าหาฝ่าเท้าอย่างรวดเร็ว วิธีการมีดังนี้

  1. ถอดหมวก รองเท้าออก
  2. นอนในท่าขาและเข่าเหยียดตรง ส่วนศีรษะชิดกับไม้วัดที่ตั้งฉากอยู่กับที่
  3. เลื่อนไม้วัดส่วนที่ใกล้เท้าให้มาชิดกับปลายเท้าและส้นเท้าที่ตั้งฉากกับพื้น
  4. อ่านค่าให้ละเอียดถึง 0.1 เซนติเมตร

⇒ เด็กอายุมากกว่า 2 ปี การวัดเด็กให้อยู่ในท่ายืน เรียกว่า วัดความสูงหรือส่วนสูงมีวิธีการดังนี้

  1. ถอดรองเท้า ยืนบนพื้นราบ เท้าชิด
  2. ยืดตัวขึ้นไปข้างบนให้เต็มที่ไม่งอเข่า
  3. ส้นเท้า หลัง ก้น ไหล่ ศีรษะสัมผัสกับไม้วัด
  4. ตามองตรงไปข้างหน้า
  5. ผู้วัดประคองหน้าให้ตรง ไม่ให้แหงนหน้าขึ้น หรือก้มหน้าลง
  6. เลื่อนไม้ที่ใช้วัดให้สัมผัสกับศีรษะพอดี
  7. อ่านค่าส่วนสูงให้ละเอียดถึง0.1เซนติเมตร

>> เมื่อทำการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเรียบร้อยแล้ว ก็นำข้อมูลมาใส่ลงในโปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการ
โปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการ

 คลิกที่นี่ >> เพื่อเข้าเว็บ “คำนวณภาวะโภชนาการของลูกน้อย”

♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦

อ่านต่อ >> การส่งเสริมภาวะโภชนาการสำหรับลูกน้อยให้อยู่ในเกณฑ์ดี” คลิกหน้า 3

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : http://thaigrowth.hyperhub.net/info1.php

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up