√ ประโยชน์ของการ “อ่านฉลากโภชนาการ”
เพราะ วิธีอ่านฉลากโภชนาการ ที่ถูกต้อง จะช่วยให้ทราบถึงชนิดและปริมาณสารอาหารที่จะได้รับจากการบริโภคอาหารนั้น ๆ ทำให้เลือกบริโภคอาหารได้ตรงตามภาวะโภชนาการของแต่ละบุคคล และสามารถนำมาเปรียบเทียบ เพื่อเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารยี่ห้อที่ให้ประโยชน์มากที่สุด
แต่อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจความเข้าใจของผู้บริโภคต่อฉลากโภชนาการโดยนิตยสารฉลาดซื้อ พบว่า ผู้บริโภคร้อยละ 67.5 ไม่เคยอ่านฉลากโภชนาการ และในจำนวนผู้อ่านฉลากโภชนาการ พบว่า ร้อยละ 32.5 อ่านฉลากโภชนาการไม่รู้เรื่อง ผู้บริโภคส่วนใหญ่เห็นว่าฉลากโภชนาการยากเกินไป และทำให้ผู้บริโภคสับสน
ฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ (Guidline Daily Amounts : GDA)
หรือ ฉลากหวานมันเค็ม เป็นการแสดงปริมาณสารอาหารที่สำคัญ แบบสรุป ได้แก่ พลังงาน(กิโลแคลอรี) น้ำตาล(กรัม) ไขมัน(กรัม) และโซเดียม(มิลลิกรัม) ต่อหนึ่งหน่วยบรรจุภัณฑ์ (ถุง ซอง กล่อง) โดยจะแสดงฉลากด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ โดยมีการบังคับการแสดงฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ ในกลุ่มอาหาร 5 กลุ่ม คือ กลุ่มอาหารขนมขบเคี้ยว กลุ่มช็อกโกแลต กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมอบ กลุ่มอาหารกึ่งสำเร็จรูป และกลุ่มอาหารมื้อหลักแช่เย็นแช่แข็ง
ขอบคุณภาพจาก : www.lovefitt.com
ทั้งนี้นี่คือวิธีอ่านฉลากโภชนาการ โดยการเช็กก่อนซื้อง่ายๆ แบบใช้ทางลัด เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพของลูกน้อย โดยคุณแม่สามารถเปรียบเทียบ คุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์ได้ทันทีจากตัวเลขด้านหน้า และยังนำไปปรับใช้ในการบริโภคอาหารให้สมดุล ดังนี้
- เช็คที่ 1 เช็คว่าปริมาณพลังงานต่อ 1 หน่วยบริโภคเท่าไหร่ = หากต้องควบคุมน้ำหนักให้ลูก ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณพลังงานน้อย
- เช็คที่ 2 เช็คปริมาณไขมันและไขมันอิ่มตัวมีเท่าไหร่ = หากกังวลเรื่องน้ำตาลของลูก หรือเป็นโรคเบาหวานควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณน้ำตาลน้อย ซึ่งในหนึ่งวันลูกควรได้รับไขมันอิ่มตัวไม่เกิน 20 กรัมต่อวัน เพราะไขมันอิ่มตัวเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้คอเรสตอรอลในร่างกายสูงขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ
- เช็คที่ 3 เช็คว่ามีปริมาณน้ำตาลเท่าไหร่ = หากกังวลเรื่องไขมันของลูก หรือกลัวลูกมีภาวะไขมันในเลือดสูง อ้วน ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณไขมันน้อย ซึ่งแต่ละวันลูกควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 24 กรัม หรือประมาณ 6 ช้อนชา น้ำตาลที่ได้รับเกินกว่าที่ต้องการ จะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมทำให้เป็นโรคอ้วน และส่งผลให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา
- เช็คที่ 4 เช็คปริมาณเกลือ(โซเดียม)เท่าไหร่ ในหนึ่งวัน = หากกังวลเรื่องโซเดียม หรือการมีภาวะความดันโลหิตสูงของลูกน้อย ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณโซเดียมน้อย ซึ่งลูกควรได้รับโซเดียมไม่เกิน 2,300 มิลลิกรัม การได้เกินจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคไตและความดันโลหิตสูง
ผลเสียหากคุณแม่ไม่ใส่ใจใน วิธีอ่านฉลากโภชนาการ
การที่คุณแม่ละเลยการอ่านฉลากโภชนาการจะทำให้เราอาจได้รับพลังงานและสารอาหารเกินความจำเป็น อาจจะทำให้ทานมากเกินไป และเมื่อลูกรับประทานอาหารมากเกินความต้องการของร่างกายเป็นประจำแล้ว จะทำให้น้ำหนักของลูกน้อยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นั้นหมายถึง เป็นการเพิ่มโอกาสการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) ซึ่งได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจ โรคอ้วน โรคข้อต่ออักเสบ ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ และโรคมะเร็งบางชนิด เป็นต้น
อย่างไรก็ตามหากหากคุณแม่รู้ วิธีอ่านฉลากโภชนาการ ที่ถูกต้อง ก็จะช่วยให้ทราบรายละเอียดของผลิตภัณฑ์อาหารนั้น ๆ ทำให้สามารถเปรียบเทียบคุณภาพกับราคาซึ่งช่วยให้ประหยัดเงิน สามารถเก็บรักษา/บริโภค ผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งยังสามารถหลีกเลี่ยงสารบางชนิดที่อาจทำให้ลูกน้อยเกิดการแพ้หรือเกิดปัญหาในการบริโภค และให้คุณแม่ได้เลือกผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณสมบัติให้ตรงตามความต้องการได้ นอกจากนั้นในกรณีที่เกิดปัญหาหรือข้อบกพร่องจากตัวผลิตภัณฑ์ ก็สามารถร้องเรียนให้มีการดำเนินการต่อผู้ผลิต/ผู้แทนจำหน่ายได้ตาม ชื่อและที่อยู่ ที่ปรากฏในฉลากด้วย
อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!
- คัมภีร์ ตารางอาหารตามวัย สำหรับลูกน้อยในวัยขวบปีแรก
- เตือนแม่! ทานอาหารรสจัด โซเดียมสูง ระวัง ไตเสื่อม
- หลักการเลือกซื้ออาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกน้อย!
ขอบคุณข้อมูลจาก : เดลินิวส์ ออนไลน์ วันศุกร์ที่ 31 พ.ค. 56 โดย “PrincessFangy” twitter.com/PrincessFangy