5. ถั่วเปลือกแข็ง (Tree Nuts)
ก็จะมีทั้ง อัลมอนด์ (almond) ถั่วบราซิล (Brazil nut) ฮาเซลนัท (hazelnut) วอลนัท (walnut) มะม่วงหิมพานต์ (cashew nut) พีแคน (pecans) แมคคาดาเมีย (macadamia nut) เกาลัด (chestnut) พิสตาชิโอ (pistachio) ฯลฯ
สังเกตอาการแพ้ถั่วเปลือกแข็ง :
– มีอาการไอ หายใจหอบแน่นหน้าอก
– ปากบวม ตาบวม ลมพิษ อาเจียน
– ความดันต่ำ ช็อกและหมดสติ และอาจจะถึงขั้นเสียชีวิต
6. ปลา (Fish)
ปลาทะเลก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการแพ้อาหารขึ้น สำหรับเด็กๆ ที่อายุหลัง 6 เดือนขึ้นไป คุณแม่อาจเตรียมอาหารให้ลูกด้วยเมนูปลา ซึ่งก็ต้องศึกษาข้อมูลให้ดีว่าปลาทะเล หรือปลาน้ำจืดชนิดไหนที่สามารถให้ลูกทานได้โยไม่กระตุ้นให้เกิดการแพ้ โดยอาจจะลองผสมในข้าวทีละเล็กน้อย เมื่อป้อนลูกแล้วไม่มีอาการผิดปกติก็สามารถให้ทานต่อได้ แต่หากพบว่าลูกมีอาการผิดปกติต้องงดปลาชนิดนั้นทันที หรือหากครอบครัวมีประวัติทานปลาชนิดไหนแล้วแพ้ไม่ควรเสี่ยงนำมาทำอาหารให้ลูกทาน เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาค๊อด ฯลฯ
สังเกตอาการลูกแพ้ปลา :
- ปาก จมูก และตา ปากบวม หนังตาบวม
- มีอาการลมพิษพุพอง
- คลื่นไส้ อาเจียน
- อุจจาระร่วง
- แน่นหน้าอก หายใจติดขัด และหมดสติ
บทความแนะนำ คลิก>> แพ้อาหาร ภัยเงียบที่ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น
7. ถั่วเหลือง (Soy Bean)
ก็จัดอยู่ในกลุ่ม Top 8 อาหารเสี่ยงแพ้ จึงแนะนำว่าหากครอบครัวมีประวัติแพ้ถั่วเหลือง คุณแม่ควรหลีกเหลี่ยงการให้ลูก ทานถั่วเหลือง หรือในขณะตั้งครรภ์ไม่ควรทานในปริมาณมาก หรืออาจหลีกเลี่ยงไม่ทานจะดีที่สุดค่ะ
สังเกตอาการลูกแพ้ถั่วเหลือง :
- มีผื่นผิวหนัง อักเสบ ผื่นแดง บวม
- เด็กที่แพ้ถั่วเหลืองมักพบได้บ่อยกับการแพ้ถั่วลิสงควบคู่กันไปด้วย
8. สัตว์น้ำที่มีเปลือก และหอยชนิดต่างๆ
สัตว์น้ำที่ว่านี้ก็คืออาหารทะเลนั่นเองค่ะ ไม่ว่าจะเป็น หอยนางรม หอยแมลงภู่ ปลาหมึก กุ้ง ปู เป็นต้น
สังเกตอาการลูกแพ้อาหารทะเล :
- เกิดลมพิษ คัน มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง
- คัดจมูก หายใจเสียงดังวี้ดๆ หายใจติดขัด
- ใบหน้า ลำคอ ริมฝีปาก ลิ้น หู ฝ่ามือ นิ้วมือ มีอาการบวม
- ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน
- ความดันต่ำ อาจทำให้ช็อกจนหมดสติได้
อาหารกลุ่มเสี่ยง top 8 ถือเป็นอาหารที่ทำให้ ลูกแพ้อาหาร ได้มากที่สุด จึงแนะนำว่าควรมีการป้องกันความเสี่ยงแพ้อาหารให้ลูกกันตั้งแต่…
- ก่อนเริ่มตั้งครรภ์ นั่นคือการไปตรวจสุขภาพ เช็กประวัติการแพ้อาหารของครอบครัว
- หากมีการพบว่าน่าจะเสี่ยงต่อการแพ้อาหารชนิดใดให้เลี่ยงการไม่บริโภค หรือทานได้แต่น้อยที่สุดในขณะตั้งครรภ์
- ช่วงให้นมลูกควรหลีกเลี่ยงอาหารกลุ่ม top 8
- ช่วงวัยเริ่มอาหารเสริมลูกควรหลีกเลี่ยงอาหารกลุ่ม top 8
หากทำได้เช่นนี้ก็จะช่วยลดอัตราเสี่ยง ลูกแพ้อาหาร ไปได้มากค่ะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก
แพ้อาหาร ผ่านไมโครเวฟ แพ้กลิ่นหรือควันอาหาร
7 เมนูอาหารและขนม สำหรับเด็กแพ้อาหาร
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
1รองศาสตราจารย์ วิมล ศรีศุข ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. การแพ้อาหารในเด็ก
Merry Bites
www.ifrpd-foodallergy.com
นมแม่แฮปปี้