หย่านมแม่ เทคนิคช่วยลูกหย่านม : หย่านมแม่ เมื่อไหร่? ยังไงดี?
หย่านมแม่

หย่านมแม่ เมื่อไหร่? ยังไงดี?

Alternative Textaccount_circle
event
หย่านมแม่
หย่านมแม่
วิธีให้ลูกหย่าเต้า
หย่านมแม่ ให้ลูกเลิกเต้า

รูปแบบของการหย่านม

1.การหย่านมที่มีการวางแผน

โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ เริ่มจากลดจำนวนมื้อของการให้นมแม่ลงวันละ 1 มื้อ และเว้นระยะห่างระหว่างมื้อให้นานขึ้น โดยมีช่วงเวลาห่างกัน 1-3 วัน จะทำให้น้ำนมของคุณแม่ลดลงอย่างช้าๆ เต้านมจะไม่คัดตึง หรือปวด ช่วยให้คุณแม่แน่ใจว่าหย่านมจริงๆ ลูกน้อยจะค่อยๆ ปรับตัวจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น การหย่านมควรเริ่มจากมื้อกลางวันก่อน และในเวลากลางคืนควรทำทีหลังสุด

2.การหย่านมเพียงบางส่วน

ถ้าคุณแม่รู้สึกว่าต้องใช้เวลาทั้งหมด ไปกับการให้นมลูกน้อย และรู้สึกไม่มีความสุขกับการให้นมลูก หรือลูกอายุเกิน 1 ขวบขึ้นไป และไม่ต้องการให้ดูดนมแม่อีกต่อไป อาจใช้วิธีหย่านมเพียงบางส่วน เพื่อให้สามารถตัดสินใจได้ว่าจะหย่านมลูกอย่างสมบูรณ์ หรือกลับมาให้นมลูกใหม่ได้อีกครั้ง ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ ถ้ามีการหย่านมบางส่วน อาจทำให้มีปัญหาน้ำหนักลดได้

banner300x250

3.การหย่านมทันทีทันใด

การหย่านมทันทีทันใดอาจเกิดขึ้นได้ ถ้าคุณแม่ต้องแยกจากลูกน้อย เช่น เจ็บป่วยเฉียบพลัน เดินทางไกลกะทันหัน ซึ่งทำให้เกิดปัญหา และความยากลำบากที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ และลูกน้อย ดังนี้

  • ร่างกายของคุณแม่ยังคงสร้างน้ำนมอยู่ อาจทำให้เกิดปัญหาเต้านมคัด และนำไปสู่การเกิดเต้านมอักเสบ หรือเป็นฝีได้ วิธีป้องกันคือ เมื่อเต้านมเริ่มตึง ให้คุณแม่บีบน้ำนมออกบางส่วน เพื่อบรรเทาอาการคัด ถ้าคุณแม่ต้องการเก็บนมเอาไว้ให้ลูกน้อย ควรบีบน้ำนมออกทุก 3 ชั่วโมง หรือเมื่อเต้านมคัดตึง เพื่อให้ร่างกายสร้างน้ำนมลดลงอย่างช้าๆ อาบน้ำอุ่นช่วยให้ผ่อนคลาย
  • มีแนวโน้มที่อาจจะทำให้คุณแม่เกิดปัญหาซึมเศร้าได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโปรแลคติน ซึ่งช่วยให้คุณแม่มีความรู้สึกเป็นปกติสุขที่ลดลงอย่างรวดเร็ว หลังจากเกิดการหย่านมทันทีทันใด การบีบ หรือปั๊มน้ำนมบางส่วนออก จะช่วยลดปริมาณการผลิตน้ำนมอย่างช้าๆ และทำให้ฮอร์โมนชนิดนี้ค่อยๆ ลดลง
  • การหย่านมทันทีทันใด อาจทำให้ลูกน้อยรู้สึกขาดความรักจากเต้านมแม่ ทำให้รู้สึกสะเทือนใจ สูญเสียความรัก ความอบอุ่น คุณแม่จึงควรค่อยๆ หย่านม และทดแทนความรู้สึกที่สูญเสียไป ด้วยการให้ความสนใจ การกอด การโอบอุ้มลูกน้อยด้วยความรัก การดูแลอย่างใกล้ชิด เด็กที่ถูกหย่านมทันทีทันใด มักจะไม่ยอมกินนมผสมได้เท่ากับที่ดูดนมแม่
วิธีเลิกเต้า
หย่านมแม่ ให้ลูกเลิกเต้า

อ่านต่อ “เทคนิคช่วยคุณแม่ในการหย่านม” คลิกหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up