เมื่อคุณแม่ให้กำเนิดลูกน้อย อาหารอย่างแรกที่ลูกน้อยจะได้รับประทานคือนมแม่ และเมื่อถึงวัย 6 เดือนขึ้นไปลูกน้อยก็สามารถรับประทานอาหารเสริมได้แล้ว คุณแม่หลายคนอาจเป็นกังวลว่าลูกน้อยจะได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ แม่น้องเล็กจึงมีวิธีสังเกตสัญญาณเตือน เมื่อลูกน้อย ขาดสารอาหาร มาฝากค่ะ
วิธีสังเกตเมื่อลูกน้อย ขาดสารอาหาร
บริทตานี โคห์น นักโภชนาการจากสถาบันด้านสุขภาพในนิวยอร์ก แนะนำให้คุณพ่อ คุณแม่ลองสังเกตตัวเอง และลูกน้อยว่าพบสัญญาณร้ายที่แสดงว่าร่างกายกำลังเริ่มขาดสารอาหารหรือไม่ โดยมีดังนี้
1.กล้ามเนื้อเกร็ง เป็นตะคริวบ่อยๆ รู้สึกกระวนกระวาย สับสน แสดงว่าระดับแมกนีเซียมในร่างกายไม่สมดุล ควรรับประทานเต้าหู้ รำข้าว ตับ ธัญพืช ถั่วเปลือกแข็ง หอย ผักใบเขียว และข้าวซ้อมมือเป็นประจำ
2.รู้สึกแขนขาชา อ่อนเพลีย เครียด และเบื่ออาหาร แสดงว่าลูกน้อยกำลังขาดวิตามินบี โดยเฉพาะบี 1 บี 6 โฟเลต และบี 12 ควรรับประทานข้าวซ้อมมือ นม ไข่ ถั่ว ปลา และเนื้อสัตว์
3.กระหายน้ำเย็นๆ ซีด เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หัวใจเต้นถี่ หรือติดเชื้อง่าย แสดงว่าร่างกายกำลังขาดธาตุเหล็ก ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างฮีโมโกบิน เป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างเอนไซม์ และภูมิคุ้มกันในเซลล์ ลูกน้อยจึงควรได้รับประทานอาหาร เช่น ตับ ม้าม เนื้อสัตว์ ไข่แดง ถั่ว และผักใบเขียว
4.เล็บมือ เล็บเท้าเปราะ หักง่าย แสดงว่าขาดธาตุเหล็ก ต้องรับประทานเนื้อสัตว์ หรือถั่วต่างๆ เพิ่มขึ้น
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่