การส่งเสริมภาวะโภชนาการสำหรับเด็ก
การเพิ่มขนาดของร่างกายเป็นสิ่งบอกการเจริญเติบโต ร่างกายของอวัยวะต่างๆ และเนื้อเยื่อมีการเพิ่มจำนวนหรือขนาดของเซลล์ซึ่งการเจริญเติบโตขึ้นกับอิทธิพลของพันธุกรรม พฤติกรรมสิ่งแวดล้อมฮอร์โมนและองค์ประกอบด้านโภชนาการ ดังนั้นจึงต้องมีการส่งเสริมภาวะโภชนาการของเด็กในทุกด้านซึ่งต้องอาศัยความรู้ของบุคลากรทางด้านความต้องการภาวะโภชนาการของเด็กแต่ละวัย สภาพความสามารถของร่างกายที่จะรับสารอาหารในรูปแบบต่างๆ เช่น พลังงาน โปรตีนหรือวิตามินเพื่อที่จะนำสิ่งเหล่านี้ไปปรับใช้ให้ร่างกายเกิดความสมดุลอย่างสูงสุด สิ่งบอกการเจริญเติบโต คือ การเพิ่มขนาด หรือจำนวน/ของอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกายซึ่งขึ้นกับ พฤติกรรม สิ่งแวดล้อม ฮอร์โมนและองค์ประกอบด้านโภชนาการ
การสร้างนิสัยการรับประทานอาหารที่ดีแก่เด็กก่อนวัยเรียน
เด็กมีการเจริญเติบโตของร่างกาย และมีการเล่นออกกำลังกาย ทำให้สูญเสียพลังงานไป จึงต้องจัดอาหารให้เพียงพอ และให้เพิ่มเมื่อเด็กต้องการ ไม่ควรบังคับหรือฝืนใจเด็ก ควรหาวิธีปรุงอาหารตามที่เด็กชอบ การสร้างนิสัยการรับประทานอาหารที่ดีแก่เด็กมีแนวทางดังนี้
- ควรฝึกให้เด็กในวัยนี้ได้รับประทานอาหารหลักวันละ 3 มื้อ ให้มีอาหารว่างระหว่างมื้อเช้า และบ่าย จะเป็นนมสดหรือนมถั่วเหลือง วันละ 2-3 แก้ว
- เด็กในวัยนี้ ต้องการอาหารเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ แต่ควรเพิ่มปริมาณสารอาหารให้มากกว่าเดิม เพราะมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว จำเป็นที่ต้องให้อาหารโปรตีนเพิ่มมากขึ้น จึงต้องปรุงอาหารด้วยเนื้อสัตว์ต่างๆบ้าง เพราะเด็กสามารถเคี้ยวได้แล้ว
- ควรหัดให้เด็กได้รับประทานอาหารทุกชนิด ผักและ ผลไม้สดควรมีทุกวัน โดยให้เด็กหัดรับประทานเล่นๆ เช่น แตงกวา มะละกอสุก ส้ม ฯลฯ เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารครบถ้วนเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย การตักอาหารให้เด็กควรตักทีละน้อย และเพิ่มให้อีกเมื่อต้องการ
- การให้เด็กลองรับประทานอาหารใหม่ ควรให้ครั้งละน้อยๆ ปรุงรส มีสีสันตามความชอบของเด็ก ค่อยๆ ปรับปรุงให้เหมาะสมตามความต้องการของเด็ก ไม่ควรให้รางวัลจูงใจให้เด็กรับประทานอาหารเป็นการสร้างนิสัยที่ไม่ถูกต้อง
- ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กต้องปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร เพราะเด็กชอบเลียนแบบผู้ใหญ่ ไม่ควรปรุงอาหารรสจัดสำหรับเด็ก ควรเป็นอาหารย่อยง่ายสะดวกต่อการรับประทานของเด็ก
- ควรหาวิธีการ หรือ เทคนิคในการจูงใจ ให้เด็กรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ โดยไม่ต้องบังคับให้เด็กรับประทาน โดยการปรุงแต่ง รูป รส ของอาหารให้น่ารับประทาน เช่น เด็กไม่กินผัก ควรจะนำมาชุบแป้งทอดกรอบ แล้วจัดให้ดูน่ากิน
- จัดอาหารให้น่ารับประทาน เพื่อกระตุ้นให้เกิดความสนใจในการรับประทานอาหารที่มีสีสันสวยงามชิ้นที่พอดีคำ แม้แต่เด็ก การจัดอาหารย่อมต้องสวยงามเพื่อให้มองแล้วอิ่มใจแบบผู้ใหญ่ และจัดเป็นคำๆไม่ใหญ่เกินไป เด็กจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการรับประทานอาหาร
- ลักษณะและรสชาติของอาหารต้องอร่อยแต่ไม่ควรเค็มจัดหรือหวานจัดเกินไป บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดีมีผลต่อการรับประทานอาหาร เช่น รับประทานพร้อมผู้ใหญ่ในบรรยากาศที่สนุก ไม่เคร่งเครียด สถานที่ไม่อับจนเกินไป แต่ไม่ควรเดินป้อนเพราะจะทำให้เด็กขาดระเบียบและไม่รู้จักเวลาในการดำเนินชีวิตต่อไป ผู้ใหญ่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการรักษามารยาทในโต๊ะอาหาร
- เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการเตรียมโต๊ะอาหาร เช่น การจัดโต๊ะ ช้อนส้อม และให้เด็กมีส่วนร่วมในการปรุงอาหารได้บ้าง เช่น ขนมปังทาแยม ให้เด็กเป็นคนทาแยม ทอดไข่อาจให้เด็กช่วยตอกไข่ใส่จาน หรือการหั่นผัก เตรียมผัด ผู้ใหญ่ควรพิจารณาดูความสามารถให้เหมาะกับอายุของเด็กด้วย
:: สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในการให้อาหารเด็กในวัยเรียน ::
- ไม่ควรเลี้ยงดูให้ลูกเกิดพฤติกรรมชอบกินของหวาน
- ลดปริมาณและความถี่ในการรับประทานอาหารแป้งและน้ำตาล
- หลีกเลี่ยงอาหารแป้งและน้ำตาลที่ใช้เวลาอยู่ในปากนานหรือติดฟันหลังหลังรับประทาน เช่น ลูกอม
- จำกัดการรับประทานอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลให้อยู่ในมื้ออาหาร
- เลือกรับประทานอาหารว่างที่ดีมีประโยชน์และไม่ทำลายฟัน เช่น ผลไม้ชนิดต่าง ๆ ที่ส่วนของน้ำตาลน้อย อาทิ ฝรั่ง มะละกอ
- หลีกเลี่ยงการกินจุบกินจิบ, ดื่มน้ำอัดลม
⇒ Must read : 14 อาหารห้าม! ทำลายสมองลูก
และที่สำคัญอย่าหัดให้ลูกมีนิสัยจู้จี้ในการกิน หรือกินจุบจิบ โดยเฉพาะอาหารที่ไม่มี ประโยชน์ หรืออาจเป็นโทษต่อร่างกาย เช่น อาหารที่ใส่สีจัด น้ำอัดลม น้ำหวาน ลูกอม ควรงดกิน อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ และหมักดอง
อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!
- 7 เทคนิคพาลูกโต “ไดเอ็ต” อย่างถูกต้อง
- ใส่ใจกับโภชนาการของลูกวัยอนุบาล
- เคล็ดไม่ลับสำหรับคุณแม่อาหารเช้าให้สุขภาพดีในเด็กวัยเรียน
- 7 อันดับ อาหารทำลายสุขภาพ ลูกน้อย
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://164.115.41.60/excellencecenter/?p=166