สาเหตุของอาการกระดูกเปราะหรือกระดูกผิดรูป
โรคกระดูกผิดรูปแต่กำเนิด เป็นความผิดปกติที่มีกระดูกเปราะและหักได้ง่าย มีความหลากหลายในการแสดงออกของโรคมาก บางชนิดรุนแรงจนทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ บางชนิดทำให้กระดูกผิดรูป มีความพิการเกิดขึ้น บางชนิดจะแสดงอาการเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ โรคนี้เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรม เช่น พบมีการกลายพันธุ์ของยีนที่สร้างสารคอลลาเจน ชนิดที่ 1 หรือโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างกระดูกและกระดูกอ่อนเป็นต้น ไม่ได้เกิดจากการรับประทานแคลเซียมน้อย หรือรับประทานผงชูรสที่มากเกินไป หรือได้รับสารอาหารชนิดต่างๆ ที่ไม่เพียงพอ โรคนี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมภายในครอบครัวได้ หรืออาจเกิดขึ้นใหม่เป็นคนแรกในครอบครัวก็ได้
ลักษณะที่จำเพาะคือมีกระดูกแขน ขา ผิดรูปตั้งแต่กำเนิด มีกระดูกหักตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ กระดูกเปราะ เมื่อมีการกล้ามเนื้อหดรัดตัวอาจทำให้กระดูกหักเองได้ง่าย เด็กตัวเตี้ย อาจพบกระดูกซี่โครงหัก กะโหลกศีรษะนุ่ม หูหนวก ข้อหลวม กระดูกสันหลังโค้งงอได้
ซึ่งโรคนี้จะเป็นตลอดชีวิต ยังไม่มีการรักษาที่หายขาด แต่การรักษามุ่งเน้นป้องกันกระดูกหัก เพิ่มการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย คอยรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ให้ออกกำลังกาย ทำกายภาพบำบัด อาจใช้ยาเพื่อเพิ่มมวลกระดูก และติดตามการรักษาต่อไป
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ควรรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วน ฝากครรภ์ตามนัด โดยทั่วไปจะมีการตรวจคัดกรองทารกในครรภ์ ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อค้นหาความผิดปกติต่างๆในช่วงอายุครรภ์ 18-20 สัปดาห์
สำหรับโรคกระดูกผิดรูปบางชนิดจะแสดงความผิดปกติช้า จึงจำเป็นต้องตรวจคัดกรองซ้ำอีกครั้งหนึ่งช่วงอายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์ ในรายที่น่าสงสัยอาจส่งตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่อไป
อ่านต่อ >> “อาหารที่ทำให้กระดูกเปราะบางได้” คลิกหน้า 3
อ่านต่อ “บทความน่าสนใจ “คลิก!
- สภากาชาดไทยโพสต์เตือน! ไม่อยากให้ลูกพิการตั้งแต่ในครรภ์..แม่ท้องอย่าขาดโฟลิก
- พัฒนาการ แขน ขา ลูกน้อยในครรภ์
- รู้จัก โรคกระดูกอ่อน ในเด็กพร้อมสาเหตุและวิธีป้องกัน
ขอบคุณข้อมูลข่าวและภาพจาก ชัยพัฒน์ แกล้วทนงค์ รายงาน / ถ่ายภาพ http://news.mthai.com/hot-news/general-news/461641.html
ขอบคุณข้อมูลจาก : นายแพทย์ เมธาพันธ์ กิจพรธีรานันท์ สูตินรีแพทย์
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่