อาหารที่ทำให้พ่อแม่และลูกกระดูกเปราะบางได้
อย่างไรก็ดีกระดูกเป็นอวัยวะที่มีการสร้างและทำลายตลอดเวลาในมวลกระดูก คือ มีการสลายกระดูกในรูปแคลเซียมออกมาสู่เลือด ขณะเดียวกันก็มีการสร้างกระดูกใหม่ โดยใช้แคลเซียมจากอาหารที่รับประทานเข้าไปปะปนอยู่ในเลือดมาสร้าง ทำให้ได้มวลกระดูกใหม่เกิดขึ้น
ส่วนมวลกระดูกเก่า (แคลเซียม) จะถูกขับถ่ายออกมาทางปัสสาวะวันละ 200 มิลลิกรัม และทางอุจจาระวันละ 800-900 มิลลิกรัม รวมแล้วร่างกายจะเสียแคลเซียมวันละ 800-1000 มิลลิกรัม โดยที่คุณพ่อคุรแม่จะต้องคอยจัดหาแคลเซียมเข้ามาเติมทางอาหารของลูกน้อยให้อยู่ในภาวะสมดุล
มิฉะนั้นร่างกายจะดึงแคลเซียมจากกระดูกมาตลอดเวลา เป็นผลให้กระดูกถูกสลายเพิ่มมากกว่าการสร้างกระดูก ท้ายสุดมวลกระดูกจะบางลงซึ่งมวลกระดูกนั้น ประกอบด้วย เกลือแร่ ที่มีมากที่สุดคือ ธาตุแคลเซียม ถ้าแคลเซียมน้อยลงจะมีผลให้กระดูกอ่อนแอและเกิดหักง่ายหรือพิการได้
การทำให้กระดูกแข็งแรงนั้น แนะนำให้ควรเริ่มตั้งแต่ก่อนวัยเจริญพันธุ์ ในวัยช่วง 18-20 ปี โดยธรรมชาติร่างกายจะพยายามเก็บเนื้อกระดูกให้มากที่สุด หากรู้จักวิธีเพิ่มมวลกระดูกได้ในวัยนี้ จะเป็นผู้ที่มีมวลกระดูกมาก และเป็นการป้องกันกระดูกพรุนในวัยสูงอายุได้อย่างดี แต่หากพ้นวัยนี้แล้ว โอกาสเพิ่มมวลกระดูกเพื่อการสะสมจะไม่มี แต่ต้องรักษามวลกระดูกที่มีอยู่ไม่ให้ลดไปจากเดิม ซึ่งปล่อยให้แคลเซียมหลุดไปจากกระดูก ก็จะทำให้กระดูกบางลงและหักง่ายในที่สุด
สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือเรื่องอาหาร ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ส่งเสริมให้เกิดภาวะกระดูกโปร่งบาง ได้แก่
– เนื้อวัว
– อาหารเค็มจัด
– สุรา กาแฟ
– การรับประทานยาบางชนิดเป็นเวลานานๆ เช่น ยากล่อมประสาท ยาที่มีสารสเตียรอยด์ ยาสารกัมมันตภาพรังสี ยารักษาโรคธัยรอยด์ ยาลดกรดที่มีอลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบ เป็นต้น
แม้ว่าการบริโภคผงชูรสจะไม่ได้เจาะจงว่า ทารกที่เกิดมาจะมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกเปราะ หรือโรคกระดูกผิดรูปแต่กำเนิด ตัวคุณแม่ท้องเองหากหลีกเลี่ยงได้ก็ไม่ควรบริโภคผงชูรสมากเกินไป เพื่อป้องกันปัญหาด้านสุขภาพที่สามารถเกิดขึ้นได้กับตัวคุณแม่เองและทารกในครรภ์
อ่านต่อ “บทความน่าสนใจ “คลิก!
- อาหาร ขยะ ภัยร้ายทำลายสมองลูกไอคิวต่ำ !!
- 14 อาหารห้าม! ทำลายสมองลูก
- 10 ยาอันตรายต่อลูก! ไม่ช่วยรักษาแถมยังทำร้ายลูกน้อย
ขอบคุณบทความจาก รศ.นพ. กีรติ เจริญชลวานิช ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล