ชวนแม่ท้อง! ตรวจวัดการขาดสารอาหาร
วิธีการตรวจวัดภาวะขาดสารอาหารในแม่ท้องมีหลายวิธี ได้แก่
- ดูรูปร่างภายนอกทั่วไป
- ดูการกระจายของไขมันทั่วร่างกาย
- ให้แม่ท้องจดรายการอาหารแต่ละวันมาให้ดูว่ารับประทานอะไรบ้าง
- เจาะเลือดและตรวจปัสสาวะเพื่อหาระดับของวิตามินเกลือแร่ และโปรตีนในร่างกาย
- วัดความหนาของไขมันใต้ผิวหนังที่ต้นแขน
- วัดน้ำหนักของแม่ท้องเปรียบเทียบกับน้ําหนักมาตรฐานของแม่ไทย
แต่วิธีที่ง่ายสะดวกและเป็นที่นิยมใช้มากที่สุดคือการหาค่าดัชนีมวลกายเพื่อดูน้ำหนักตัวควรขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ดังนี้
น้ำหนักตัวแม่ท้องควรขึ้นเท่าไร?
ดัชนีมวลกาย(BMI) = น้ำหนักคุณแม่ (กก.) หาร/ ความสูง (เมตร2)
ยกตัวอย่างการคำนวณ สมมุติว่าคุณแม่หนัก 50 กก. และสูง 165 ซม.
ก่อนอื่นต้องแปลงส่วนสูงเป็นเมตรก่อนค่ะ
โดย 165 ซม. เท่ากับ 1.65 เมตร
ก็นำค่ามาเทียบในสูตรข้างต้นได้เลย
= 50 / (1.65 x 1.65)
= 50 / 2.72
= 18.38
ค่า BMI ของคุณแม่ก็จะเท่ากับ 18.38 นั่นเองค่ะ
เมื่อคุณแม่คำนวณแล้ว มาดูกันค่ะว่าน้ำหนักตัวคุณแม่ก่อนตั้งครรภ์เป็นอย่างไร และคุณแม่ควรจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเท่าไรตลอดการตั้งครรภ์ ?
- ค่า BMI น้อยกว่า 18.5 > คุณแม่มีน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์น้อยกว่าปกติ
ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 12.5 – 18 กก. เฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.51 กิโลกรัม
- ค่า BMI 5 – 22.9 >คุณแม่มีน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์ปกติหรือสมส่วน
ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 11.5 – 16 กก. เฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.42 กิโลกรัม
- ค่า BMI 23 – 29.9 >คุณแม่มีน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์เกินมาตรฐาน
ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 7 – 11.5 กก. เฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.28 กิโลกรัม
- ค่า BMI 30 >คุณแม่มีภาวะอ้วน
ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 5 – 9 กก. เฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.22 กิโลกรัม
เท่านี้คุณแม่ก็จะไม่ขาดสารอาหารแถมยังมีน้ำหนักตัวขึ้นได้ตามมาตรฐาน สุขภาพทั้งของคุณแม่และลูกน้อยก็จะแข็งแรงดี ส่งผลต่อพัฒนาการที่ดีของลูกน้อยในอนาคตอีกด้วยค่ะ
อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ
สารอาหารเพื่อสุขภาพแม่ท้อง ดีต่อทารกและคุณแม่ตลอดการตั้งครรภ์
อาหาร+อารมณ์แม่ท้อง พัฒนาสมองลูกน้อยช่วงไตรมาสแรก
ดื่มนมสำหรับแม่ท้องทำให้ลูกแพ้นมวัวจริงหรือ?
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่