ฮอร์โมนแห่งการเสียสละของแม่

ฮอร์โมนแห่งการเสียสละของแม่ พิสูจน์แล้วจากการวิจัย

Alternative Textaccount_circle
event
ฮอร์โมนแห่งการเสียสละของแม่
ฮอร์โมนแห่งการเสียสละของแม่

ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการรักษาสมดุลแคลเซียมของร่างกาย ร่างกายของแม่มีการเตรียมพร้อม และทำหน้าที่เพื่อให้ลูกเจริญเติบโตตั้งแต่อยู่ในครรภ์ไปจนถึงหลังคลอด ทำให้บ่งบอกได้ว่า ฮอร์โมนแห่งการเสียสละของแม่ ยิ่งใหญ่เสมอ โดยเฉพาะช่วงก่อนคลอด

ช่วง 3 เดือนก่อนคลอด คุณแม่จะสูญเสียแคลเซียมผ่านทางรกให้กับลูกในครรภ์ถึงวันละ 200-300 มิลลิกรัม ยิ่งเป็นเวลาหลังคลอด คุณแม่ยิ่งสูญเสียแคลเซียมในปริมาณสูงเพิ่มขึ้น อาจถึงวันละ 1,000 มิลลิกรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณ และความถี่ของการให้นม แล้วคุณแม่เอาแคลเซียมมาจากไหน? และร่างกายของแม่รู้ได้อย่างไร? ว่าเมื่อไหร่ต้องส่งแคลเซียมให้กับลูก และในปริมาณเท่าใด

banner300x250

ก่อนอื่นร่างกายของคนเราได้รับแคลเซียมมาจากอาหาร หรือเครื่องดื่ม เช่น นม ผลิตภัณฑ์จากนม เนื้อสัตว์ หรือผักบางชนิด โดยการดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นด้วยวิตามินดี แคลเซียมถูกดูดซึมไปใช้ในเซลล์ต่างๆ ใช้ในการซ่อมแซม และสร้างกระดูก

ฮอร์โมนแห่งการเสียสละของแม่

แคลเซียมที่มากเกินพอดี จะถูกขับทิ้งทางปัสสาวะ หรือเก็บสะสมไว้ในกระดูก ฮอร์โมนที่หลั่งมาจากต่อมใต้สมอง ชื่อว่า โพรแลคติน เป็นฮอร์โมนสำคัญที่มีอิทธิพลต่อสมดุลแคลเซียม ไม่ใช่ฮอร์โมนจากวิตามินดี คนทั่วไปมีฮอร์โมนโพรแลคตินต่ำมาก แต่ระดับฮอร์โมนนี้จะสูงขึ้น 20 เท่า เมื่อผู้หญิงตั้งครรภ์ หรือให้นมลูกน้อย และจะสูงขึ้นเป็นเท่าตัวในขณะที่กำลังให้นมลูก ถ้ามีระดับฮอร์โมนโพรแลคตินสูกมากขนาดนี้ถือว่าเป็นภาวะผิดปกติ มักพบว่าเกิดจากมีเนื้องอกในต่อมใต้สมอง

อ่านต่อ “ฮอร์โมนแห่งการเสียสละของแม่ พิสูจน์แล้วจากการวิจัย” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up