เด็กๆ ควรบริโภค “ขนม” ที่มีคุณค่าในปริมาณมากน้อยขนาดไหน?
ขนมที่มีคุณค่าก็ให้พลังงานที่ดี เด็กๆจึงควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ ควรเป็นของว่าง เสริมระหว่างมื้อ 1-2 ครั้งต่อวัน จากอาหารหลัก 3 มื้อ ช่วงสาย และช่วงบ่าย โดยถ้าเป็นผลไม้ ประมาณ 1ส่วนเสริฟ : กล้วยน้ำว้า 1 ผลหรือ ส้ม 1 ผลหรือ มะละกอ 5-6 ชิ้นคำ , ขนมไทยๆ : ขนมกล้วย ขนมฟักทอง 1-2 ชิ้น หรือ ข้าวต้มมัด 1 กลีบ
√ คำแนะนำในการเลือกซื้อขนมที่มีประโยชน์
ปัจจุบันสื่อโฆษณาต่างๆ ด้านขนมเด็ก กำลังโหมกระหน่ำและมุ่งเป้าสู่เด็กทุกวัย เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ ครอบครัว ผู้ปกครอง จึงควรให้ความสนใจ พินิจพิเคราะห์ ในการเลือกขนม หรือให้คำแนะนำในการเลือกขนมกับบุตรหลาน หลักที่ควรคำนึง คือ 3 ป. ปลอดภัย , ประโยชน์ ,ประหยัด
- ปลอดภัย กินแล้วไม่มีโทษต่อร่างกาย ดูลักษณะทั่วไป สะอาด ไม่มีสีฉูดฉาด บรรจุในภาชนะ หรือบรรจุภัณฑ์ที่มิดชิด การดู ฉลากอาหาร เลขทะเบียน อย. วันผลิต วันหมดอายุ และส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ และพลังงานที่ได้รับอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ มีสารปนเปื้อน จะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ เช่นเชื้อจุลินทรีย์ จะทำให้เกิดอาเจียน ท้องเสีย โลหะหนัก ผลต่อระบบประสาท ไต
- ประโยชน์ เด็กมักรับประทานขนม เพราะความอยาก อร่อย ควรสอนให้เด็กได้รู้จักเปรียบเทียบคุณค่าของขนมที่รับประทาน เช่นขนมไทย ผลไม้ ซึ่งน่าจะมีประโยชน์มากกว่าในด้านการให้วิตามิน เกลือแร่และใยอาหาร ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต และท้องไม่ผูก เมื่อเทียบกับขนมกรุบกรอบ ซึ่งจะได้รับพิษภัยจากเกลือ ผงชูรส และฟันผุ
- ประหยัด สอนให้เด็กรู้จักคิดก่อนซื้อ ว่าสิ่งที่ได้นั้นคุ้มค่ากับเงินที่จะจ่ายหรือไม่ เปรียบเทียบราคาในผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกัน
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ทั้งนี้ นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสุขอนามัยเด็ก หนึ่งในอนุกรรมาธิการสำนักงานแผนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน วุฒิสภา กล่าวเตือนว่า ขนมถุงทั่วไปถือเป็นอาหารขยะไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ยิ่งขนมที่ผลิตไม่ได้มาตรฐานก็ยิ่งมีอันตรายเพิ่มไปอีก เพราะไม่มีใครรู้ว่าส่วนผสมข้างในมีสารเคมีอะไร เมื่อกินเข้าไปแล้วมีสารตกค้างในร่างกายมากน้อยแค่ไหน ปัญหาขณะนี้ คือ เด็กอ่านฉลากไม่รู้เรื่อง พ่อแม่ชาวบ้านไม่สนใจ ไม่รู้ว่ามีสารพิษอะไรในขนมที่ลูกซื้อกิน ในบางประเทศจะมีกฎหมายพิเศษควบคุมการผลิตขนมที่เด็กชอบกิน เช่น ไม่ให้ใส่สีหรือวัตถุเจือปนบางชนิด แต่เมืองไทยทำอย่างนั้นไม่ได้ เพราะผู้ผลิตอ้างว่าขนมที่ทำนั้นให้ผู้ใหญ่หรือคนทั่วไปกินด้วย ไม่ได้มีเป้าหมายผลิตให้เด็กกินโดยเฉพาะ
จึงอยากจะฝากถึงคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง ก่อนที่จะซื้ออาหารหรือขนมให้เด็กๆ ควรใส่ใจเรื่องคุณค่าทางอาหารมากกว่า อีกทั้งขอให้สังเกตฉลากวันหมดอายุด้วย และไม่ควรซื้อขนมที่มีสีสันฉูดฉาดให้เด็กรับประทาน รวมถึงขนมที่ไม่มีภาษาไทยกำกับ ซึ่งอาจเป็นขนมที่ไม่ได้มาตรฐานและอาจทำให้เด็กได้รับอันตรายได้
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- 7 เมนูอาหารและขนม สำหรับเด็กแพ้อาหาร
- กติกาการให้ลูกกินขนมและน้ำอัดลม และทางสายกลางในการเลี้ยงลูก
- 7 อันดับ อาหารทำลายสุขภาพ ลูกน้อย
ขอบคุณข้อมูลจาก : oknation.nationtv.tv/blog , www.dekthaidoodee.com