อาหารที่คนท้องไม่ควรรับประทาน

5 อาหารที่คนท้องไม่ควรรับประทาน (เลี่ยง ลด เลิก)

Alternative Textaccount_circle
event
อาหารที่คนท้องไม่ควรรับประทาน
อาหารที่คนท้องไม่ควรรับประทาน

อาหารที่คนท้องไม่ควรรับประทาน มีอะไรบ้าง คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ถามกันมาบ่อยมากค่ะ เนื่องจากมีความไม่แน่ใจว่าอาหารบางอย่าง บางประเภทจะรับประทาน ได้เหมือนตอนก่อนยังไม่ท้องหรือเปล่า ทำให้เกิดความกังวลใจกันมากอยู่พอสมควร ฉะนั้นเราจะไปสำรวจพร้อมกันว่ามีอาหารอะไรบ้างที่ไม่แนะนำให้แม่รับประทาน ระหว่างที่กำลังอุ้มท้องอยู่กันค่ะ

 

อาหารที่คนท้องไม่ควรรับประทาน

ขึ้นชื่อว่าอาหารก็ต้องรับประทานได้หมดทุกอย่างซิ แต่ไม่ใช่กับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ค่ะ อาหารที่คนท้องไม่ควรรับประทาน มีข้อควรระวังอยู่พอสมควร เนื่องจากอาหารที่รับประทานเข้าไปนั้นหากไม่ระวังก็จะส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์ได้  อาหารที่ดีกับคนท้องคืออาหารที่มีประโยชน์ ครบถ้วนด้วยสารอาหารทั้ง 5 หมู่ นั่นคือ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน เกลือแร่หรือแร่ธาตุ วิตามิน ไขมัน ซึ่งจะต้องทานให้สมดุลกัน คือไม่กินอาหารหมู่ใดหมู่หนึ่งมากหรือน้อยเกินไปค่ะ

ส่วนอาหารที่คนท้องไม่ควรรับประทาน หรือควรหลีกเลี่ยงในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์นั้น ก็เช่นอาหารจำพวก…

1. อาหารไม่สุก หรืออาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ

หากก่อนหน้าที่ยังไม่ได้ตั้งครรภ์ คุณแม่ชอบรับประทานอาหารประเภทไม่สุก อย่าง ข้าวปั้นหน้าปลา ซูซิแซลมอน ซูซิทูน่า หรือรับประทานผักดิบอย่างถั่วงอก ถั่วฟักยาว ผักกะหล่ำปลี ฯลฯ ส่วนอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ อย่างไข่ดาวไม่สุก สเต็กหมู เนื้อย่างหรือทอดแบบไม่สุกทั้งหมด ส้มตำใส่ปลาร้า ปูเค็ม ปูม้า หอยดอง เป็นต้น แนะนำว่าถ้าท้องแล้วควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานใหม่ค่ะ อาหารอะไรที่ดิบ ไม่สุกขอให้ปรุงให้สุกก่อนรับประทาน ส่วนอาหารประเภทถนอมอาหารไว้อย่าง ปูดอง ปูเค็ม ปลาร้า หอยดอง ช่วงนี้ขอให้งดไปก่อนค่ะ เพราะหากซื้อมาทานจะแหล่งผลิตที่ไม่สะอาดอาจได้รับเชื้อโรค แบคทีเรียที่มาพร้อมอาหาร เมื่อทานเข้าสู่ร่างกาย อาจทำให้แม่ท้องมีอาการท้องเสีย ท้องร่วง อาหารเป็นพิษขึ้นมาได้ค่ะ

2. อาหาร ขนม เครื่องดื่ม ผลไม้หวานๆ

แม่ท้องส่วนใหญ่มักมีอาการอยากของหวาน โดยเฉพาะช่วงอายุครรภ์ 5-6 เดือนขึ้นไป เพราะเป็นช่วงที่ทารกในครรภ์มีพัฒนาการการเติบโตมากขึ้น ทำให้ดูดเอาสารอาหารจากร่างกายคุณแม่ที่รับประทานเข้าไปใช้ในการสร้างร่างกาย สมอง อวัยวะต่างๆ เมื่ออาหารที่แม่รับประทานเข้าไป ส่วนหนึ่งต้องแบ่งไปให้ทารกในครรภ์ด้วย จึงทำให้แม่ท้องรู้สึกหิวบ่อย และจะมีอาการอ่อนเพลียมากขึ้นด้วย จึงทำให้ร่างกายต้องการอาหารที่มาช่วยสร้างความสดชื่นนั่นก็คือรสชาติหวานที่ได้จากอาหารคาว หวานต่างๆ ผลไม้ รวมถึงเครื่องดื่มด้วย  ดังนั้นจึงแนะนำว่าเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานแทรกซ้อนขึ้นมาขณะตั้งครรภ์ ขอให้แม่ท้องงด เครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม ขนมที่หวานมากๆ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ช็อกโกแลต ขนมเค้ก คัพเค้ก ฯลฯ (หากจะรับประทานคำสองคำเป็นบางครั้งก็พอได้ แต่ไม่แนะนำให้รับประทานทุกวัน) ผลไม้ที่มีน้ำตาลมากๆ เช่น ขนุน ทุเรียน เงาะ ลำไย มะม่วงสุก ฯลฯ ถ้างดได้ขอให้งดไปก่อนค่ะ แล้วเปลี่ยนมารับประทานเป็นผลไม้ที่ให้ความหวานไม่มากแทน เช่น แอปเปิ้ล ฝรั่ง แคนตาลูป ส้ม แตงโม สับปะรด เป็นต้น

3. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

จัดเป็นอาหารประเภทเครื่องดื่มมึนเมาที่ไม่แนะนำให้คนท้องดื่มเด็ดขาด เพราะผลกระทบต่อทารกในครรภ์นั้นร้ายมาก ทั้งทำให้ตัวแม่ท้องเสี่ยงต่อการแท้ง หรือหากไม่แท้งเมื่อลูกคลอดออกมาก็มีความเสี่ยงที่ส่งผลต่อสมองของลูก คือทั้งสมาธิสั้น ไอคิวต่ำ การเรียนรู้ จดจำจะมีพัฒนาการที่ล้าช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน จึงแนะนำว่าทั้งก่อน ระหว่าง และหลังคลอดลูกแล้ว แม่ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์อย่างเด็ดขาดค่ะ

4. อาหารหมักดอง

คือตัวการสำคัญที่ทำให้สุขภาพแม่ท้องแย่ลงได้ค่ะ เพราะในอาหารประเภทหมักดองจะมีส่วนผสมของเกลืออยู่สูงมาก หากระหว่างตั้งครรภ์ทานอาหารหมักดองมากๆ อาจเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง หรือมีอาการบวมน้ำ รวมถึงในระยะยามยังเสี่ยงต่อโรคไตด้วยค่ะ

5. อาหารที่มีผงชูรส

อาหารที่ปรุงรสด้วยผงชูรสจะทำให้รสชาติอาหารอร่อยกลมกล่อมมากขึ้น แต่ถ้าจะพูดถึงประโยชน์ในด้านสารอาหารนั้นไม่มีเลยค่ะ การรับประทานอาหารที่มีผงชูรสมากๆ จะทำให้ลิ้นชา และกระหายน้ำมากกว่าปกติ แม่ท้องที่ชอบทานอาหารที่ใส่ผงชูรสเป็นประจำอาจเกิดการสะสมในร่างกายทำให้เกิดเจ็บป่วยด้วยโรคไต โรคความดันโลหิตสูงได้ ส่วน*ทารกในครรภ์อาจมีความเสี่ยงหลังคลอดคือ ทำให้เกิดการคลั่งในสมอง ซึ่งเมื่อเด็กโตขึ้นจะเป็นปัญญาอ่อน1
*อันตรายจากผงชูรส.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

 

ส่วนคุณแม่ท้องที่อยากได้แคลเซียมเสริมให้กับร่างกาย และส่งให้ลูกน้อยในครรภ์สำหรับการสร้างกระดูกและฟัน แนะนำให้รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม ที่ได้จากเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ รวมถึงในนม เช่น นมแพะ นมถั่วเหลือง นมวัว เป็นต้น อย่างในนมแพะ ซึ่งนอกจากจะมีแคลเซียมสูงแล้ว ในนมพะยังเป็นแหล่งของโปรตีนคุณภาพ ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต โดยเฉพาะในระหว่างการตั้งครรภ์ที่คุณแม่ต้องการโปรตีนมากกว่าปกติ คือประมาณ 75-100 กรัมต่อวัน โปรตีนในนมแพะเป็นโปรตีนที่ย่อยและดูดซึมได้ง่าย และที่สำคัญในนมแพะยังมี โปรตีน CPP (Casein Phosphopeptides) ที่ช่วยดูดซึมแร่ธาตุต่างๆ โดยเฉพาะแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อคุณแม่ได้รับสารอาหารจากโปรตีนที่ดี ย่อมส่งผลให้ลูกน้อยในครรภ์เติบโตแข็งแรง

เห็นแบบนี้แล้วคุณแม่ท้องควรใส่ใจในเรื่องอาหารการกินให้มากขึ้น อาหารที่ไม่มีประโยชน์ หรือมีโทษต่อสุขภาพของทารกน้อยในครรภ์ควรต้องเลี่ยง ลด เลิกทานกันตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีทั้งแม่และลูกค่ะ

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up