ออกกำลังกายสมอง

ออกกำลังกายสมอง เพิ่มความเก่งให้ลูกน้อย

Alternative Textaccount_circle
event
ออกกำลังกายสมอง
ออกกำลังกายสมอง

ออกกำลังกายสมอง ช่วยเพิ่มความเก่งให้ลูกฉลาดคิดและเรียนรู้ได้นะคะ สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่อยากให้ลูกๆ เป็นเด็กที่ ฉลาด และเรียนรู้เก่ง สิ่งสำคัญจะต้องเริ่มกระตุ้นส่งเสริมให้กันตั้งแต่ที่ลูกยังเล็กๆ ค่ะ  ฉะนั้นไปดูกันว่าเราจะสามารถเพิ่ม ความเก่งให้ลูกด้วยการออกกำลังกายสมองได้อย่างไรกันบ้าง?

 

ออกกำลังกายสมอง เพิ่มความเก่งให้ลูก!!

การกระตุ้นสมองลูกให้ทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพมีอยู่หลายวิธีค่ะ ซึ่งการ ออกกำลังกายสมอง ก็เป็นหนึ่งในวิธีที่ดีมากๆ ต่อ สมองของเด็ก และวิธีต่อไปนี้คือการออกกำลังกายให้สมองของลูกน้อยได้ทำงานอย่างเต็มศักยภาพ ไปดูกันว่ามีอะไรบ้าง

วิธีกระตุ้นสมองต่อไปนี้ถือเป็นการบริหารสมองให้กับลูกๆ ได้ดี ซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่ลูก 2-5 ขวบขึ้นไปค่ะ

1. ฝึกให้ลูกสังเกตสี

ไม่ต้องออกไปซื้ออุปกรณ์ให้เสียเงินในกระเป๋าแพงๆ ค่ะ เพราะแค่เปิดตู้เย็นหยิบเอาผัก ผลไม้ ซึ่งแน่นอนว่ามีทั้ง สีเขียว ขาว ส้ม แดง ม่วง เหลือง ฯลฯ คุณแม่แค่หยิบขึ้นมาแล้วถามลูกว่า “แอปเปิลมีสีเรียกว่าอะไร” , “แครอทสีอะไร” , “แตงโมมีเปลือก และเนื้อสีอะไร” เป็นต้น แล้วยังทำได้ทุกทีที่พาลูกไป เช่น นั่งรถออกไปข้างด้วยกัน คุณแม่สามารถชี้ชวนให้ลูกดูว่ารถที่วิ่งอยู่มีสีอะไรบ้าง ต้นไม้ ดอกไม้ที่อยู่ข้างมีสีอะไร เท่านี้ก็เป็นการช่วยกระตุ้นฝึกให้ลูกใช้ความคิด เรียนรู้ และจดจำรายละเอียดต่างๆ รอบตัวได้แล้วค่ะ

2. ฝึกให้ใช้มือซ้าย มือขวาสลับกัน

โดยมากแล้วเด็กๆ จะถนัดการใช้มือขวากันทุกคนอยู่แล้ว ทั้งใช้ตักข้าวเข้าปาก อาบน้ำ ล้างหน้าแปรงฟัน หรือหยิบจับอะไรก็จะใช้มือขวาเป็นหลัก ง่ายๆ ค่ะแค่ลองให้ลูกสลับมือที่ถนัดในการหยิบ จับสิ่งของ อาจเริ่มจากน้ำหนักเบาๆ ก่อน ใช้ทั้งมือซ้าย มือขวา วางสิ่งของสลับกัน สัปดาห์หนึ่งให้ทำสัก 1-2 ครั้ง ถือเป็นการกระตุ้นการทำงานของสมองให้ตื่นตัวรับกับคำสั่งใหม่ๆ ได้ดีมากค่ะ

3. ฝึกให้ลูกเล่นต่อจิกซอว์

ถือเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ลูกคิดและวางแผนได้ดีมากๆ ค่ะ เพราะถ้าเด็กๆ อยากจะต่อให้เป็นรูปร่าง หรือสัตว์อะไร ก็จะต้องดูว่าภาพชิ้นนี้ สีแบบนี้ รอยต่อแบบนี้ควรจะจับวางไว้ตรงไหนถึงจะเข้าได้แบบพอดี ถึงจะออกมาสำเร็จตามที่กำหนดเอาไว้

4. ฝึกให้วงกลมภาพที่เหมือนกัน

เชื่อว่าพ่อแม่ต้องเคยเล่นกิจกรรมนี้กันมาก่อนค่ะ ซึ่งสนุกมากๆ อุปกรณ์ง่ายมากค่ะ แค่หาตัวอย่างภาพจากอินเตอร์เน็ตแล้วปริ้นทร์ออกมา ให้ลูกใช้ดินสอสี หรือปากกาเมจิสีๆ ก็ได้ ให้เขาสังเกตความเหมือนกันระหว่างสองภาพ ว่ามีจุดไหน มุมไหน หรือรายละเอียดของภาพตรงส่วนไหนที่เหมือนกันบ้าง มีทั้งหมดกี่จุดแล้วก็ให้วงกลมลงไป เด็กๆ จะได้ใช้ความคิดกันแบบเต็มๆ เลยค่ะ

5. ฝึกให้อ่านหนังสือตั้งแต่เล็กๆ

การอ่านหนังสือเป็นรากฐานความรู้ เป็นคลังข้อมูลที่ดีสำหรับเด็กๆ เลยละค่ะ เริ่มต้นจากหนังสือภาพอย่างเดียว แล้วค่อยเปลี่ยนมาเป็นหนังสือภาพที่มีตัวหนังสือไม่กี่คำ จากนั้นเปลี่ยนมาเป็นหนังสือที่มีภาพน้อยลง แต่มีตัวหนังสือ มีเรื่องราวเพิ่มมากขึ้น ง่ายๆ คือให้เปลี่ยนไปตามช่วงวัยของลูกค่ะ การอ่านช่วยฝึกให้สมองจดจำข้อมูลใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา

6. ฝึกให้ออกกำลังกาย

การพาลูกไปเดินเล่น วิ่งช้าๆ หรือปั่นจักรยาน ฯลฯ จะช่วยทำให้เลือดสูบฉีดไปหล่อเลี้ยงร่างกายทุกส่วนได้ดี รวมถึงสมองที่ได้รับทั้งเลือด ทั้งออกซิเจนอย่างเต็มที่ ก็จะทำให้สมองแข็งแรงสามารถเรียนรู้ จดจำเก็บข้อมูลได้อย่างเต็มที่ ไม่มีตกหล่นค่ะ

7. ฝึกให้นับเลขถอยหลัง

เด็กมักจะถูกสอนให้ทำอะไรตามแบบแผน ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดีค่ะ แต่ถ้าลองปรับเปลี่ยนให้เป็นกิจกรรมสนุกๆ เพื่อพัฒนาสมอง การนับเลขแบบถอยหลังก็ดีค่ะ คุณแม่ลองให้ลูกนับเลข 1-10 ตามปกติสัก 1-2 รอบ จากนั้นลองเปลี่ยนให้ลูกนับจากเลข 10 ไปเลข 1  จะกระตุ้นให้สมองจดจำได้ดีมากๆ ค่ะ

8. ฝึกให้ลูกได้รับโภชนาการที่เป็นประโยชน์ต่อสมอง

โภชนาการสารอาหารที่มีประโยชน์สมารถช่วยเติมเต็มให้สมองทำงานได้อย่างเต็มที่ค่ะ โดยเฉพาะการเริ่มต้นด้วยนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด เพราะในนมแม่มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และสมองลูกอย่างครบถ้วนและก็หลากหลายด้วย  หรือหากเมื่อถึงเวลาที่ต้องหานมเสริมให้ลูก แนะนำว่าควรเป็นนมที่เต็มไปด้วยคุณค่าสารอาหารจากธรรมชาติ อย่าง “นมแพะ” ก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดีมากค่ะ เพราะในนมแพะอุดมด้วย…

  • โปรตีน CPP (Casein phosphopeptides) ซึ่งเป็นโปรตีนนุ่ม ย่อยง่าย ทำให้ร่างกายดูดซึมนำไปใช้งานได้เต็มที่ และช่วยในการดูดซึมแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ช่วยให้เด็กๆ เติบโตแข็งแรง มีพัฒนาการที่สมวัย ทั้งพัฒนาการด้านร่างกาย พัฒนาการการเรียนรู้ของสมอง ฯลฯ
  • พรีไบโอติก ชนิด Oligosaccharide เช่น Inulin และ Oligofructose ซึ่งเป็นใยอาหารที่ไม่ถูกย่อยในกระเพาะอาหาร เพราะทนต่อน้ำย่อย กรด ด่าง ในกระเพาะและลำไส้ ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์สุขภาพ เช่น แลคโตบาซิลัส และบิฟิโดแบคทีเรีย จึงช่วยปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหาร ลดการอักเสบบริเวณลำไส้ ทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้อย่างเป็นปกติ ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง

นอกจากนี้ในนมแพะยังมีคุณค่าสารอาหารอีกหลากหลายชนิด ที่ต้องบอกว่าครบถ้วนเติมเต็มให้ลูกได้อย่างเต็มที่ นั่นคือ

ดีเอชเอ+เออาร์เอ (DHA + ARA) : สารอาหารสองตัวนี้เป็นกรดไขมันที่มีส่วนสำคัญช่วยในการพัฒนาสมองและการมองเห็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โอเมก้า 3 6 9 (OMEGA 3 6 9) : กรดไขมันจำเป็นไลโนเลนิก(โอเมก้า 3) กรดไลโนเลอิก(โอเมก้า 6) กรดโอเลอิก(โอเมก้า 9) ซึ่งโอเมก้า 3 6 เป็นสารตั้งต้นของ DHA และ ARA และโอเมก้า 9 จะช่วยในการทำงานของสมอง

วิตามินบี 12 (VITAMIN B 12) : มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาท

แคลเซียม (CALCIUM) : มีส่วนช่วยในกระบวนการสร้างกระดูดและฟันที่แข็งแรง

ทั้งหมดนี้คือวิธีที่จะช่วยให้สมองของเด็กๆ ทำงานกันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และก็เติบโตขึ้นไปเป็นคนที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีพัฒนาการทุกด้านที่สมวัยด้วยค่ะ

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up