คุณพ่อคุณแม่รีบมา เช็คเงินสงเคราะห์บุตร และเงินอุดหนุนบุตร ปี 2565 มีหลักเกณฑ์การได้สิทธิ หลักฐานการยื่นขอรับประโยชน์ และขั้นตอนอย่างไรบ้าง
เช็คเงินสงเคราะห์บุตร และเงินอุดหนุนบุตร 2565 คลิ๊กเลย!
โครงการเงินสงเคราะห์บุตร โดยสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้รับเงิน 800 บาทต่อเดือน ส่วนอีกโครงการ คือโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด หรือเงินอุดหนุนบุตร โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้รับเงิน 600 บาทต่อเดือน คุณพ่อคุณแม่ต้องทำอย่างไรบ้าง เพื่อให้ได้รับเงินมาช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูลูก ทีมกองบรรณาธิการ ABK ได้รวบรวบข้อมูลต่างๆมาให้แล้ว ไปดูกันเลยค่ะ
เงินสงเคราะห์บุตร
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ
- ต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39
- จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน สิทธิที่ท่านจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 800 บาทต่อบุตรหนึ่งคน
- ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น
- อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน เว้นแต่ผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย ในขณะที่บุตรมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์
การหมดสิทธิรับเงิน
- เมื่อบุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
- บุตรเสียชีวิต
- ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
- ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)
- กรณีผู้ประกันตนเคยยื่นใช้สิทธิแล้ว และประสงค์จะใช้สิทธิสำหรับบุตรคนเดิม ให้ใช้หนังสือขอใช้สิทธิบุตรคนเดิมกรณีกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน จำนวน 1 ฉบับ
- กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิ
-
- สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝด ให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย) จำนวน 1 ชุด
- กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ
-
- สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่า พร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตนหรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาล ให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 1 ชุด
- สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วยจำนวน 1 ชุด)
- กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล ให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย จำนวน 1 ชุด
- กรณีผู้ประกันตนต่างชาติขอรับประโยชน์ทดแทน ให้ใช้สำเนาบัตรประกันสังคม และสำเนาหนังสือเดือนทาง (passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ จำนวน 1ชุด
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ จำนวน 1 ฉบับ ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน ดังนี้
-
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
- เอกสารประกอบการยื่นคำขอฯ ที่เป็นสำเนาให้รับรองความถูกต้องของสำเนาทุกฉบับ และแสดงเอกสารที่เป็นต้นฉบับ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ กรณีเอกสารหลักฐานสำคัญต่อการพิจารณาเป็นภาษาต่างประเทศ ให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทย และรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน
ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน
- ผู้ประกันตนต้องกรอกแบบ สปส.2-01 พร้อมลงลายมือชื่อ และนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน (กรณีผู้ประกันตนยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตร 3 คน ในคราวเดียวกัน สามารถใช้แบบคำขอฯ ชุดเดียวกันได้)
- เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐาน และพิจารณาอนุมัติ
- สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา
- พิจารณาสั่งจ่าย จ่ายเป็นรายเดือน โดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ ของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน
สถานที่ยื่นเรื่อง
ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)
โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด หรือเงินอุดหนุนบุตร
คุณสมบัติ
เด็กแรกเกิดที่มีสิทธิ
- มีสัญชาติไทย (พ่อแม่มีสัญชาติไทย หรือพ่อ หรือแม่ มีสัญชาติไทย)
- เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี
- อาศัยอยู่กับผู้ปกครองที่อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย
- ไม่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชน
ผู้ปกครองที่มีสิทธิลงทะเบียน
- มีสัญชาติไทย
- เป็นบุคคลที่รับเด็กแรกเกิดไว้ในความอุปการะ
- เด็กแรกเกิดต้องอาศัยรวมอยู่ด้วย
- อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย คือ สมาชิกครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาท ต่อคน ต่อปี
* หมายเหตุ มารดาที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ ยังไม่ต้องมายื่นคําร้องขอลงทะเบียนขอรับสิทธิเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
สถานที่รับลงทะเบียน
สามารถลงทะเบียนได้ในพื้นที่ที่เด็กแรกเกิด และผู้ปกครองอาศัยอยู่จริง ดังนี้
- กรุงเทพมหานคร : ลงทะเบียนที่สํานักงานเขต
- เมืองพัทยา : ลงทะเบียนที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา
- ส่วนภูมิภาค : ลงทะเบียนที่องค์การบริหารส่วนตําบล หรือเทศบาล
เอกสารประกอบการลงทะเบียน ประกอบด้วย
- แบบคําร้องขอลงทะเบียน (ดร.01)
- แบบรับรองสถานะของครัวเรือน (ดร.02)
- บัตรประจําตัวประชาชนของผู้ปกครอง
- สูติบัตรเด็กแรกเกิด
- สมุดบัญชีเงินฝากของผู้ปกครอง (บัญชีออมทรัพย์ธนาคารกรุงไทย บัญชีเงินฝากเผื่อเรียกธนาคารออมสิน หรือบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น)
- สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก เฉพาะหน้าที่ 1 ที่มีชื่อของหญิงตั้งครรภ์ (ในกรณีที่สมุดสูญหาย ให้ใช้เฉพาะสำเนาหน้าที่ 1 พร้อมให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขบันทึกข้อมูล และรับรองสำเนา)
- กรณีที่ผู้ยื่นคําร้องขอลงทะเบียน และสมาชิกในครัวเรือนของผู้ยื่นคําร้องขอลงทะเบียน เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานบริษัท ต้องมีเอกสาร ใบรับรองเงินเดือน หรือหนังสือรับรองรายได้ของทุกคนที่มีรายได้ประจํา (สลิปเงินเดือน หรือเอกสารหลักฐานที่นายจ้างลงนาม)
- สําเนาเอกสาร หรือบัตรข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ บัตรแสดงสถานะ หรือตําแหน่ง หรือเอกสารอื่นใด ที่แสดงตนของผู้รับรองคนที่ 1 และผู้รับรองคนที่ 2
คุณพ่อคุณแม่รีบ เช็คเงินสงเคราะห์บุตร และดำเนินการให้แล้วเสร็จ หลังจากนั้นก็ยื่นเรื่อง เงินอุดหนุนบุตร กันต่อ หรือจะยื่นขอรับประโยชน์ทั้ง 2 โครงการพร้อม ๆ กันก็ได้นะคะ ตามที่ ทีมกองบรรณาธิการ ABK ได้นำรายละเอียดมาฝากเลยค่ะ
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
รวมลิงก์ ลงทะเบียนคนท้องรับของฟรี พิเศษสำหรับคนท้องและแม่ลูกเล็ก
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.sso.go.th, https://csg.dcy.go.th
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่