โปรแกรม วิเคราะห์ เกณฑ์ น้ำหนัก ส่วนสูง เช็กด่วนอย่าให้ลูกตกเกณฑ์ - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids
โปรแกรม วิเคราะห์ เกณฑ์ น้ำหนัก ส่วนสูง

โปรแกรม วิเคราะห์ เกณฑ์ น้ำหนัก ส่วนสูง เช็กด่วนอย่าให้ลูกตกเกณฑ์

Alternative Textaccount_circle
event
โปรแกรม วิเคราะห์ เกณฑ์ น้ำหนัก ส่วนสูง
โปรแกรม วิเคราะห์ เกณฑ์ น้ำหนัก ส่วนสูง

วิธีดูแล และสร้างนิสัยการรับประทานอาหารให้ถูกต้องตามโภชนาการ

มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต

หมายถึง การส่งเสริมโภชนาการ (อาหารหญิงตั้งครรภ์ อาหารหญิงให้นมบุตร นมแม่ และอาหารเด็กอายุ 6 เดือน – 5 ปี รวมทั้งการเสริมสารอาหารที่สำคัญในรูปของยา ได้แก่ ธาตุเหล็ก ไอโอดีน และกรดโฟลิกสำหรับหญิงตั้งครรภ์และหญิง หลังคลอดที่ให้ นมแม่ 6 เดือน ยาน้ำเสริมธาตุเหล็กสำหรับเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี) ร่วมกับการบูรณาการงานสุขภาพอื่น ๆ เช่น สุขภาพช่องปาก กิจกรรมทางกาย การนอน สุขาภิบาลอาหาร และน้ำ

อาหาร กับการเจริญเติบโต

การเลือกกินอาหารที่เหมาะสม มีความสำคัญ ต่อเจริญเติบโต และยังช่วยให้เด็ก ๆ มีสุขภาพดีและไม่อ้วน ลักษณะอาหารที่ควรให้เด็ก ๆ ได้รับประทาน คือ

  1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ คือ ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์และนม ไขมัน ผักและผลไม้ อย่างสมดุล
  2. ดื่มนมวันละ 2-3 แก้วเพื่อให้ได้แคลเซียมเพียงพอ
  3. ควรรับประทานอาหารประเภทผักและผลไม้เป็นประจำเพื่อให้ได้ใยอาหาร
  4. รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงเป็นประจำเช่น ตับ เนื้อสัตว์ ไข่แดง ผักใบเขียว
  5. ไม่ควรกินอาหารรสหวานจัดและอาหารประเภทน้ำตาลมาก
  6. หลีกเลี่ยงอาหารที่มันมากเกินไป
  7. หลีกเลี่ยงน้ำอัดลมและของขบเคี้ยวเช่น ขนมหวาน ขนมกรุบกรอบ
การออกกำลังกาย กับการเจริญเติบโต
การออกกำลังกาย กับการเจริญเติบโต

การออกกำลังกาย กับการเจริญเติบโต

การออกกำลังกายที่จะช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตของร่างกาย ที่สำคัญ ควรเป็นกิจกรรมที่มีแรงกระแทกจากการกระโดด ซึ่งเป็นเหมือนการกระตุ้นข้อต่อกระดูกให้มีการยืดตัวขึ้น เพิ่มความยาวของกระดูกสันหลัง และเวลาเดียวกันยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น และเสริมสร้างกล้ามเนื้อหน้าท้องได้อีกด้วย โดยการออกกาลังกายที่พอเหมาะประมาณ 45 – 60 นาที/วัน

ตัวอย่างของการออกกำลังกายที่ช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโต ได้แก่

  1. การวิ่ง แต่หากวิ่งมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการปวดบวม หรือหกล้มได้ในเด็กเล็ก ดังนั้นอาจเลือกเป็นวิ่งบนพื้นดิน หรือสนามหญ้า เป็นต้น
  2. การกระโดด ยืนตรงแยกขาออกเล็กน้อย จากนั้นกระโดดด้วยเท้าเพียงข้างเดียวให้สุด ทำซ้ำแบบเดียวกันประมาณ 10 ครั้ง สลับทั้งสองข้าง
  3. การขี่จักรยาน เป็นกิจกรรมที่ทำให้เท้าของเรายืดเหยียดตลอดระยะเวลาที่ปั่นจักรยาน
  4. การว่ายน้ำ โดยว่ายท่าผีเสื้อเป็นเวลา 20 นาที เป็นท่าที่เหมาะสมที่สุด เพราะร่างกายได้ออกกำลังช่วงหลัง ไหล่ และช่วงแขนอย่างเต็มที่ แต่ถ้าไม่สะดวกท่าอื่นๆ ก็สามารถช่วยได้เช่นเดียวกัน
  5. กระโดดเชือก โดยเป็นการกระโดดทั้งตัว ซึ่งจะทำให้ช่วงขา และช่วงหลังได้ยืดเหยียดไปพร้อมๆ กัน โหนบาร์ เป็นการยืดกล้ามเนื้อหลังอย่างเต็มที่ ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ และแขนได้เป็นอย่างดี
  6. การเตะขา เพียงแค่ยืนแยกขาออกแล้วเตะขาข้างหนึ่งไปด้านหน้า ทำแบบนี้อย่างน้อยข้างละ 20 ครั้ง ก็ช่วยยืดกระดูกช่วงหน้าแข้งได้เช่นเดียวกัน
  7. การใช้แทรมโพลีน (Trampoline) เป็นการออกกำลังกาย โดยอาศัยเทคนิคการกระตุ้นในแนวดิ่ง ซึ่งจากการอ้างอิงขององค์การนาซ่า (NASA) ระบุว่าเป็นการออกกำลังกายที่ดีที่สุด เพราะถือเป็นการออกกำลังกายของเซลล์ในทุกส่วนของร่างกาย เพียงแค่วันละ 20 นาที ซึ่งการออกกำลังกายจากการกระโดดบนแทรมโพลีนจะช่วยยืดกล้ามเนื้อที่เหมาะสมสำหรับการเพิ่มความสูง (Proper Stretching and Exercising Techniques) เพราะจะทำให้กระดูกหนา และแข็งแรงขึ้นจากการกระตุ้นการหลั่งสาร Growth Hormone ทำให้ความหนาที่เพิ่มขึ้นของกระดูกขาจะช่วยเพิ่มความสูงได้อย่างน้อย 2.5 เซนติเมตร ซึ่งถ้าหากออกกำลังกายอย่างถูกต้อง และเหมาะสมก็จะช่วยเพิ่มความสูงได้มากถึง 5 เซนติเมตร
หมั่นพาลูกไปตรวจสุขภาพตามกำหนด
หมั่นพาลูกไปตรวจสุขภาพตามกำหนด

การนอนหลับ กับการเจริญเติบโต

การนอน มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการเจริญเติบโตของเด็ก พบว่าฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone) จะหลั่งมากในเวลากลางคืน หลังจากที่หลับไปแล้ว 1-2 ชั่วโมง ถ้านอนหลับไม่เพียงพอก็จะส่งผลให้การหลั่งของฮอร์โมนการเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางด้านความสูง  ในวัยรุ่นไม่ควรน้อยกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน เนื่องจากฮอร์โมนการเจริญเติบโตจะหลั่งได้ดีช่วงนอนหลับสนิท และควรเข้านอนแต่หัวค่ำ ไม่ควรเกิน 22.00 น

หาก คุณพ่อคุณแม่ท่านใด ลองตรวจสอบน้ำหนัก และความสูงของลูกแล้วพบว่าลูกตกเกณฑ์ หรือเริ่มมีปัญหา ท่านไม่ควรหลงเชื่อ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ขายอยู่ตามท้องตลาดต่าง ๆ เพราะเราไม่สามารถตรวจสอบที่มาที่ไป และความน่าเชื่อถือได้ แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษากับกุมารแพทย์ประจำของลูก หรือ พบกุมารแพทย์ต่อมไร้ท่อ เพื่อหาทางแก้ไขได้ตรงจุดต่อไป

ข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.samitivejhospitals.com/https://hellokhunmor.com/https://www.vejthani.com

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

โปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการ เช็กน้ำหนักส่วนสูง ความสมส่วนของลูก

แนะนำ ของเล่น เพื่อลูก ทั้งสนุกฝึกสมองเสริมการเรียนรู้

เมนูเห็ดออรินจิ เห็ดสุขภาพ ลดเสี่ยงโรคหัวใจ หลอดเลือด

10 อันดับ ยูทูปเบอร์ สำหรับเด็กที่ดูแล้วได้ประโยชน์

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up